นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันวิศวกรรมระบบยานยนต์: Vehicle Systems Engineering ของ KIT ได้พัฒนาโปรแกรมที่รวมการจำลองกระบวนการ: process simulation เข้ากับการเรียนรู้ของเครื่องจักร: machine learning และ AI ทำให้อัลกอริทึมสามารถจดจำรูปแบบและประเมินความสามารถในการผลิตส่วนประกอบได้
*KIT ตัวย่อของ สถาบันเทคโนโลยีคาลส์รูเออ: Karlsruhe Institute of Technology หรือ KIT เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเมืองคาลส์รูเออ รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี เป็นสถาบันที่มีความโดดเด่นในด้านวิศวกรรมได้รับการขนานนามว่าเป็น 1 ในมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิศวกรรมทั้ง 9 แห่งของประเทศเยอรมนี (TU9)
สิ่งที่กำลังถูกพัฒนาใน Karlsruhe เรียกว่า “virtual AI process expert” เกิดจากการใช้ machine learning และ AI รวมกัน
“มันเหมือนกับการใส่ความรู้และปรีชาญาณของวิศวกรจำนวนมากไว้ในโปรแกรมเดียวจากนั้นก็ใช้งานด้วยการกดปุ่ม” Clemens Zimmerling จากสถาบันเทคโนโลยีระบบยานพาหนะของ KIT ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมอธิบาย ทั้งนี้ AI ผู้ชำนาญการกระบวนการเสมือนจริง หรือ virtual process นี้ถูกใช้ในการออกแบบโครงสร้างน้ำหนักเบาที่ทำจาก fiber composites ทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพส่วนประกอบและกระบวนการผลิตอย่างรวดเร็ว

( Source: Leichtbau BW )
Early Feedback on Manufacturability
โครงการวิจัยซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ การวิจัยและศิลปะกรรมแห่งบาเดน – เวือร์ทเทมแบร์ก ซึ่งให้ความสนใจต่อกระบวนการตีความอย่างเร่งรัดและความเข้าใจ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ถึงแม้ว่าการจำลองกระบวนการผลิต: simulations of the manufacturing process สามารถนำมาใช้ในการประเมินเสมือนจริง (virtual assessment) ของความสามารถในการผลิตส่วนประกอบ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังซับซ้อนและใช้เวลามาก
“ข้อเสนอแนะที่เราได้รับจากนักพัฒนาซอฟต์แวร์ก็คือ พวกเขาต้องการการประเมินที่ดีในระยะแรกไปจนถึงระดับที่แม่นยำมากในระยะต่อมา” Zimmerling กล่าว และนี่คือที่มาของ “virtual AI process expert”
“ถ้าคุณใช้มันในช่วงแรกของการออกแบบส่วนประกอบคุณจะได้รับผลตอบรับอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตและการประเมินวิธีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ด้วยวิธีการแบบ AI มีความเป็นไปได้ที่จะแยกตัวแปรกระบวนการที่ไม่เหมาะสมออกจากการคำนวณที่เหมาะสมและมุ่งเน้นไปที่ตัวแปรที่มีแนวโน้มเหมาะสมมากที่สุดสำหรับการจำลองที่ค่อนข้างซับซ้อนนี้” Zimmerling อธิบาย
Shorter Time-to-Market
“ความจริงก็คือ Digitalization คือแรงขับเคลื่อนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบที่มีน้ำหนักเบา เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องกระโดดเข้าไปในขบวนแห่ หรือ สมัยนิยมในเวลานี้และค้นพบความเป็นไปได้ของ AI หรือ Machine Learning ด้วยตัวเองแล้วใช้มันให้เกิดประโยชน์ เพราะไม่ว่าจะอย่างไรก็จะมีคนทำอยู่ดี” Wolfgang Seeliger กรรมการผู้จัดการ ของ Leichtbau BW กล่าว โดยเฉพาะเหตุผลสำคัญในเรื่องของ shorter time-to-market: การลดเวลาในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดเป็นแรงฉุดอันทรงพลังในการสร้างมูลค่าเพิ่ม
อ้างอิง:
You may also like
-
กว่าจะมาเป็นพลาสติกที่ใช้ในวิศวกรรมยานยนต์
-
Impossible Objects เปิดตัวเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่เคลมว่าเร็วที่สุดในโลก
-
Swiss Steel Group เข้าร่วมโครงการ Carbon Disclosure Project เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนตลอดทั้งซัพพลายเชน
-
เทคโนโลยี มุมมอง และแนวโน้มล่าสุดของตลาดการผลิตแบบเติมวัสดุในปี 2023
-
เตรียมพบกับผู้นำด้านการผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ได้ที่งาน Moulding Expo 2023 เร็ว ๆ นี้