ปลดล็อคองค์ความรู้การผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ

ฐานข้อมูลของ Senvol (Senvol Database) นั้นได้ถูกเพิ่มเติมให้กับซอฟต์แวร์ E-Xstream โดยเป็นชุดข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งวัสดุและเครื่องจักรสำหรับการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ (AM) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายสำหรับทีมงาน

วิศวกร E-Xstream นั้นเป็นส่วนหนึ่งของหน่วย Manufacturing Intelligence ของ Hexagon ซึ่งได้เพิ่มฐานข้อมูล Senvol ที่เรียกได้ว่าครอบคลุมข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุและเครื่องจักรสำหรับการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุมากที่สุดในตลาด ด้วยโซลูชัน 10X Integrated Computational Materials Engineering (ICME) ทำให้นักอุตสาหกรรมกำหนดชุดรายชื่อที่ต้องการได้อย่างง่ายดายและสามารถประเมินได้ว่า ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ สำหรับเทคโนโลยีการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุจะสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ของพวกเขาได้อย่างไร

ด้วยการฝังฐานข้อมูล Senvol ไว้ภายใน MaterialCenter ซึ่งเป็นระบบจัดการข้อมูลวัตถุดิบสำหรับ E-Xstream ทำให้ทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถเข้าถึงขุมสมบัติทางความรู้ของการเติมเนื้อวัสดุอย่างโลหะ โพลีเมอร์ คอมโพสิท และวัสดุที่ล้ำสมัยต่าง ๆ ได้ทันที ทีมงานสามารถทบทวนคุณสมบัติที่แตกต่างสำหรับการเติมเนื้อวัสดุได้ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ กระบวนการ และเครื่องจักร ตลอดจนการเปรียบเทียบเข้ากับการออกแบบที่มีอยู่เดิมและทำการประมวลผลเพื่อยืนยันโอกาสสำหรับนวัตกรรม การลดต้นทุน หรือการคุ้มทุนที่ไวยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถจำกัดวงรายชื่อวัตถุดิบที่เป็นตัวเลือกและนำข้อมูลออกจาก MaterialCenter เพื่อใช้งานกับเครื่องมือ CAE เพื่อการค้นหาในการออกแบบเชิง Concept สำหรับงานออกแบบ งานวัสดุ และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสามารถทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านโลกเสมือนโดยการระบุโมเดลคุณสมบัติของวัตถุดิบอย่างละเอียดและทำการประมวลผลตามข้อจำกัดจากซัพพลายเออร์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดด้วยการใช้โซลูชัน 10X ICME

additive manufacturing knowledge
Team working with additive technology now have access to a vast library of data.(Source: Monjur Hasan (Unsplash))

องค์ความรู้ที่เข้าถึงได้

Philippe Hébert ผู้จัดการด้านการตลาดแห่ง E-Xstream ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ตั้งแต่เทคโนโลยีการผลิต 3 มิติเกิดขึ้นมานั้นมันยังคงขาดข้อมูลสำหรับพฤติกรรมของวัสดุและกระบวนการพิมพ์ ซึ่งกลายมาเป็นกำแพงให้ไม่สามารถใช้งานได้เป็นวงกว้างสำหรับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม”

“ส่วนผสมระหว่างฐานข้อมูล Senvol และ MaterialCenter นั้นได้ทำให้สิ่งที่เคยแยกจากกันหรือเป็นองค์ความรู้พิเศษสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ผมเชื่อว่าความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้นสำหรับศักยภาพที่เติบโตอย่างรวดเร็วของการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุจะนำมาซึ่งการที่ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถค้นหาความเป็นไปได้ทางการออกแบบใหม่ ๆ และมอบความกล้าให้กับการรวมมือที่แผ่ขยายกว้างออกไปเพื่อประยุกต์เทคนิคการผลิตแบบใหม่ให้เกิดขึ้นได้ในองค์กร”

Zach Simkin ประธานบริษัท Senvol เล่าเอาไว้ว่า “เรามีความยินดีอย่างมากที่จะประกาศการเป็นพันธมิตรกับวิศกรรมของ E-Xstream ซึ่ง MaterialCenter นั้นเป็นหนึ่งในผู้นำโซลูชันด้านซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารจัดการวัตถุดิบและมันสามารถจับคู่ได้กับฐานข้อมูล Senvol อย่างลงตัวผ่านแพลตฟอร์มของตัวเอง เหล่าผู้ใช้ MaterialCenter จะมีฐานข้อมูลสำหรับการเติมเนื้อวัสดุที่ครอบคลุมที่เครื่องจักรและวัตถุดิบเพียงแค่ใช้ปลายนิ้วเท่านั้น”

ฐานข้อมูล Senvol ทำให้ผู้ใช้งานสามารถยืนยันและเปรียบเทียบเครื่องจักรสำหรับการเติมเนื้อวัสดุที่มีพื้นฐานจากกระบวนการที่สามารถสนับสนุนได้ ผู้ผลิต ขนาดชิ้นส่วนที่ต้องการ ต้นทุน หรือวัสดุที่สามารถใช้ได้และคุณสมบัติที่เกี่ยวข้อง การใช้งาน MaterialCenter Web Interface ผู้ใช้งานสามารถติดตามข้อมูลได้อย่างละเอียดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ผงวัตถุดิบที่ใช้ เครื่องจักร การสร้าง ชิ้นส่วน การทดสอบ ขั้นตอนหลังการทดสอบ การออกแบบ กระทั่งโมเดล CAE) เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของวัตถุดิบผ่านกระบวนการขึ้นรูป ขั้นตอนภายหลังกระบวนการผลิต และการทดสอบวัตถุดิบ ข้อมูลทุกอย่างจะถูกบันทึกและเปิดเผยให้ผู้อื่นในองค์กรสามารถหลักเลี่ยงงานที่ไม่จำเป็นในขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์

เรียบเรียงโดย: ทศธิป สูนย์สาทร

บทความที่เกี่ยวข้อง:

Tech Focus | จับตานวัตกรรมพลิกโลก AM โลหะ 9 บริษัทสตาร์ทอัพ

Tech Focus | Micro Moulding การขึ้นรูปชิ้นงานขนาดเล็กแม่นยำได้ด้วย IoT

“Designing and making stuff quickly” | ออกแบบและผลิตอย่างรวดเร็วหลังโควิด

3D Printing Challenge | นักศึกษาอ็อกฟอร์ดคว้าทุนจาก Stratasys

About The Author