ยุโรปจะสามารถแข่งขันในสนามแข่งขันระดับโลกสำหรับ Industry 4.0 ได้อย่างไร จากความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทอเมริกันและจากฟากเอเชียที่มีจีนเป็นยักษ์ใหญ่ ฝรั่งเศสจึงงัดกลยุทธ์ด้วยการแสวงหาความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันเพื่อสู้กับทุนมหาศาลอย่าง Alibaba
“การปฏิวัติอุตสาหกรรมหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ไม่เพียงแต่สภาพเศรษฐกิจแต่ยังหมายรวมถึงชีวิตโดยทั่วไปด้วย”
ศาสตราจารย์ Philippe Dessertine ประธานฝ่าย Business Management แห่งมหาวิทยาลัยปารีส I Panthéon Sorbonne กล่าวในการเสวนาที่งานนิทรรศการ Be 4.0 เมือง Mulhouse ประเทศฝรั่งเศส ดูเหมือนว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่นั้นจะลึกซึ้งยิ่งกว่าครั้งก่อนและยังอยู่ไกลเกินเอื้อม
Be 4.0: อยู่กันอย่าง 4.0 อยู่กันอย่างไร
“พวกเราอยู่บนบันไดขั้นที่สองของบันไดที่มี 10,000 ขั้น” สำหรับศาสตราจารย์ Philippe อุตสาหกรรม 4.0 คือ คำตอบที่ท้าทายสำหรับมนุษยชาติทั้งหมด เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ต่อสถานการณ์ในยุโรป ศาสตราจารย์ Philippe มองว่า ทวีปเก่าแก่นี้ ‘พลาดรถไฟ’ สองขบวนแรกของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ไปแล้ว คือ ขบวนที่เรียกว่า Digitisation (การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล) และ Artificial Intelligence (ปัญญาประดิษฐ์) “ยุโรปจะต้องเริ่มคิดได้แล้ว ว่าเรามาไกลแค่ไหน” เป็นที่รู้โดยทั่วกันว่า 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกล้วนมาจากเอเชีย หรือ สหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์ Philippe วิเคราะห์ว่า “สถานะปัจจุบันของยุโรปในโลกเป็นผลมาจากความสำเร็จในการบุกเบิกการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกและครั้งที่สอง” อย่างไรก็ตามในทางตรงกันข้าม ยุโรปได้รับประโยชน์จากความเป็นจริงที่ว่า Industry 4.0 projects กำลังถูก tackle ทุกแห่งหนในเอเชียและสหรัฐอเมริกา แน่นอนว่ามันเกิดขึ้นอย่างจำกัดเพียงไม่กี่ภูมิภาคเท่านั้น

แสวงหาแนวร่วมในการลงทุน
Jean Rottner ประธานส่วนภูมิภาคของ Grand Est region กล่าวว่า “เราต้องเสริมสร้างความร่วมมือข้ามพรมแดน”
“ขณะที่ฝรั่งเศสลงทุนไป 1 พันล้านยูโร บริษัทอย่าง Alibaba จ่ายไป 1.5 หมื่นล้าน”
Rottner ย้ำถึงความจำเป็นในการแสวงหาความร่วมมือในระดับภูมิภาค โดยมุ่งมั่นที่จะหาแนวร่วมด้วยการแลกเปลี่ยนกับรัฐบาเดน – เวือร์ทเทมแบร์ก (Baden-Württemberg) ของสหพันธรัฐเยอรมัน, ไรน์แลนด์ – พาลาทิเนต (Rhineland-Palatinate) และซาร์ลันด์ (Saarland) เช่นเดียวกับสวิตเซอร์แลนด์
international approach นี้สะท้อนให้เห็นในงานแสดงสินค้า Be 4.0 ที่จัดขึ้นเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมาที่เมืองมูลูสประเทศฝรั่งเศส Region Grand Est, Mulhouse Alsace Agglomération และ Parc Expo Mulhouse ผู้จัดงานระบุว่า มีผู้เข้าชมงานมากกว่า 3,500 คนมาร่วมในงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่สอง โดย 18% มาจากต่างประเทศ ผู้แสดงสินค้า 230 รายรวมถึง established companies เช่น Siemens, Schneider Electric, EDF, Engie และ Endress + Hauser รวมถึง start-ups อีก 50 ราย บนพื้นที่จัดแสดงรวม 10,000 ตารางเมตร มีหัวข้อการประชุมมากกว่า 50 หัวข้อ เช่น digitization of Industry: การแปลงเป็นดิจิทัลของอุตสาหกรรม และพวก new economic models: โมเดลเศรษฐกิจใหม่ๆ ไปจนถึงเรื่องที่อยู่ที่ยืนของมนุษย์ในอุตสาหกรรม (The place of Man in the Industry) บทบาทของ Cobots และ Robots, Big Data และ Cybersec
“ครั้งที่สองของนิทรรศการ Be 4.0 ได้มีการพัฒนารูปแบบพร้อมกับเพิ่มพื้นที่เป็นสองเท่า” Laurent Grain ผู้อำนวยการ Parc Expo Mulhouse ให้ความเห็น
สำหรับงานที่กำลังจะมาถึงในปีนี้ เขาได้ตั้งเป้าหมายให้งานแสดงสินค้าครั้งนี้นำไปสู่ Franco-German Industry 4.0 meeting โดย Grand Est ได้มองว่าตัวเองเป็นกลไกของการเปลี่ยนไปสู่ 4.0 หรือ 4.0 transformation ในปัจจุบัน ทั้งได้พัฒนาและดำเนินการตามกลยุทธ์ของตัวเองที่เรียกว่า SRDEII ซึ่งรวมถึงแผนระดับภูมิภาคสำหรับ“ Industrie du Futur” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนบริษัทต่างๆ ในการปรับไปสู่ความทันสมัยด้วยตนเอง
อ้างอิง:
https://www.etmm-online.com/paris-wants-to-tackle-industry-40-internationally-a-836068/
You may also like
-
Arburg เปิดตัว Allrounder 470 H ทางเลือกประหยัดพลังงานและลดการปล่อยคาร์บอน
-
‘บทสรุปความยั่งยืน’ คู่มือปฏิบัติสำหรับผู้ผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ โดย VDWF
-
การวิเคราะห์วงจรชีวิต พร้อมรับมือเข้าสู่กรีนดีล
-
Engel เปิดตัวโมเดล ‘การจ่ายต่อการใช้งาน’ เพิ่มความยืดหยุ่นในการผลิต ลดความเสี่ยงในการลงทุน
-
ผู้ผลิตแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและซัพพลายเชนอย่างไร?