Golden age for China

“China Market Insider” is a new series of articles originally published on MM Maschinenmarkt. (Source: ©vegefox.com - stock.adobe.com )

ยุคทองของ Machine Tool ในจีน?

“a golden decade for the digital production of machine tools” – Yang Dahan, Siemens manager

แม้จะมีกระแสเสียงเรื่องกิจการตกต่ำในยุคโควิด-19 แต่แนวโน้มระยะยาวสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่องจักรในจีนยังคงเป็นไปด้วยดี ยิ่งไปกว่านั้นการใช้งานหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ หรือ Cobots กำลังเติบโต ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า แล้ววิกฤตจากไวรัสโควิดส่งผลกระทบต่อตลาดหุ่นยนต์ในจีนอย่างไร ไปหาคำตอบกัน

แน่นอนว่าไวรัสโคโรนาได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม machine tool ของจีนอย่างหนักไม่ต่างจากชาติอุตสาหกรรมอื่น แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังส่งผลกระทบจริง ๆ ค่อนข้างน้อยต่อเทรนด์ที่สำคัญ รวมถึงการคาดการณ์อนาคตของอุตสาหกรรม ต่อไปนี้คือข้อสรุปจากข้อมูลและการวิเคราะห์ล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดที่มีต่อตลาดเครื่องมือเครื่องจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้

การเปิดเผยตัวเลขสำหรับไตรมาสแรกของปีนี้ยืนยันว่า ผู้ผลิต machine tool ในประเทศจีนซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการปิดโรงงานและมาตรการกักกันอื่น ๆ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้สังเกตการณ์ในอุตสาหกรรมยังคงคาดการณ์ถึง “ยุคทอง” ของอุตสาหกรรมจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุตสาหกรรมจะต้องเผชิญกับ digital transformation และการปรับปรุงคุณภาพสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และยิ่งต้องเป็นไปอย่างเร่งรัดมากขึ้นเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์ไวรัส

เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ Data ในไตรมาสแรกคือความเสียหายอย่างหนักของภาค ในขณะที่สายการประกอบในโรงงานรถยนต์นิ่งสนิท ตามมาด้วยการปิดตัวของในโรงงานอื่น ๆ ในประเทศจีนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของปีนี้ ผลคือผู้ผลิต machine tool ก็ไม่อาจเติบโตขึ้นเช่นกัน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติในกรุงปักกิ่งระบุว่า ผลประกอบการรวมของอุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่องจักรจีนลดลงถึง 20.8% ในช่วงสามเดือนแรกเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาก ส่วนกำไรสะสมลดลง 31.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน

โฆษกแห่ง China Machine Tool and Tool Builders Association เปิดเผยถึงการวิเคราะห์พบว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจคือเหตุผลสำคัญของปีนี้ก็จริง แต่ศักยภาพขั้นพื้นฐานของอุตสาหกรรมนั้นยังไม่เปลี่ยนแปลง “ด้วยจำนวนประชากร 1,400 ล้านคนของจีน ทำให้จีนมีข้อได้เปรียบจากการเป็นตลาดขนาดใหญ่ ระบบนิเวศการผลิตที่สมบูรณ์ และความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่ง”

กล่าวได้ว่า Corona เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในการจัดซื้อ โดยเฉพาะใน “ส่วนประกอบสำคัญระดับไฮเอนด์ที่ต้องนำเข้ามา เช่น ระบบ CNC, rational linear encoders, optical encoders, แบริ่งที่มีความแม่นยำและส่วนอื่น ๆ”

แต่จีนก็ยังคงครองตำแหน่งผู้นำระดับโลก ทั้งในการบริโภค การผลิตและการนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักร ส่วนการส่งออกอยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก และในส่วนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลกลางกรุงปักกิ่งก็มีเป้าหมายที่จะให้เงินอุดหนุนเพื่อเร่งให้เกิด digitization ในอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศภายใต้แผน “โครงสร้างพื้นฐานใหม่” (New Infrastructure)

นักวิเคราะห์มากมายยังเล็งเห็นศักยภาพดีเยี่ยมในตลาดเครื่องมือเครื่องจักรของจีนในระยะยาว โดยเฉพาะในส่วนที่กล่าวได้ว่าคือ high-quality ของอุตสาหกรรม โดยระบุว่า ในอีกสิบปีข้างหน้าอาจเป็น “ทศวรรษทองของการผลิตดิจิทัลเครื่องมือเครื่องจักร” ตามคำกล่าวของ Yang Dahan ผู้จัดการของ Siemens ในจีน ซึ่งให้การสนับสนุนผู้ผลิตจีนในกระบวนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการผลิต หรือ Digitization

ในช่วงสองปีที่ผ่านมาตลาด machine tool ในประเทศจีนก็ไม่ต่างจากอุตสาหกรรมทั่วโลกที่กำลังอยู่ในช่วง downturn ผู้เชี่ยวชาญจากซีเมนส์กล่าว แต่ความต้องการที่ลดลงนั้นส่งผลกระทบต่อ “เครื่องจักรซีเอ็นซีธรรมดาๆ ราคาถูกซึ่งมีความแม่นยำต่ำ “ความต้องการเครื่องมือเครื่องจักรระดับสูง หรือ hign-end machine tools นั้นกลับเติบโตขึ้น สวนทางกับแนวโน้มทั่วโลกอย่างสิ้นเชิง” Yang Dahan ผู้จัดการของ Siemens กล่าว

ผู้จัดการของ Siemens ในจีนกล่าวว่า แนวโน้มดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่า การส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่องจักรของจีนกำลังเปลี่ยนไปมากขึ้นทุกขณะ จากที่เคยแต่ส่งออกไปยังประเทศที่ยากจนก็ขยับขยายออกไปสู่ตลาดในยุโรปมากขึ้น ก็เพราะว่า ผู้ผลิต machine tool จากจีนนั้นได้กลายเป็นหนึ่งในบรรดาซัพพลายเออร์ของผู้ผลิตชั้นนำในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมสำคัญอื่น ๆ ในยุโรปไปแล้ว

นักวิเคราะห์หลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า วิกฤตการณ์โคโรนาจะเพิ่มแรงกดดันเกี่ยวกับเทคโนโลยี digital transformation ให้กับผู้ผลิตเครื่องมือเครื่องจักรของจีนมากยิ่งขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย

Golden age for China
“China Market Insider” is a new series of articles originally published on MM Maschinenmarkt. (Source: ©vegefox.com – stock.adobe.com )

Cobots on the advance in China | โคบอทคืออรุณรุ่งในจีน

การคาดการณ์ถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมได้กลายเป็นเรื่องยากเย็นเข้าไปทุกขณะในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่สำหรับบรรดาผู้ผลิตหุ่นยนต์ (robot) – หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ (cobot) ช่วงเวลานี้กลับกลายเป็นช่วงขาขึ้นที่กำลังเริ่มต้นส่อเค้าลางดีในประเทศจีน ภายในปี 2023 จีนจะเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดหุ่นยนต์โลกที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมหนึ่งในสามเป็นถึงประมาณ 50% วารสารทางการค้า “Robotics Business Review” ได้คาดการณ์ถึงเรื่องนี้ไว้ในบทวิเคราะห์ที่ตีพิมพ์ไปเมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคม

ผลจากการคาดการณ์ทำนายไว้ว่า ตลาดโลกสำหรับ Cobot จะเติบโตจากประมาณ 567 ล้านดอลลาร์ในปี 2018 ไปเป็นถึง 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2027 หรือ เพิ่มขึ้นถึงสิบเท่าภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งทศวรรษ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์นั้นที่มีความต้องการใน social machines มากขึ้น ส่วนในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก็ได้ค้นพบคุณประโยชน์จากการใช้งาน Cobot มากขึ้นเช่นกัน

ในขณะที่โซลูชันระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (complete automation solutions) ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล แต่การเลือกใช้งาน Cobots กลับมีต้นทุนถูกกว่ามาก เพราะการควบคุมบางส่วนยังใช้แรงงานมนุษย์ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยดีกรีระดับวิศวกรแต่อย่างใด เพียงแค่ใช้แรงงานมีทักษะที่ถูกฝึกฝนมาให้ใช้งาน Cobot ได้อย่างง่ายดายและเป็นไปอย่างรวดเร็วเท่านั้นเอง

จีนยังคงเป็น “workbench of the world” หรือ ม้านั่งทำงานของช่างในโลก และในเวลาเดียวกันก็ยังเป็นตลาดหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย ผู้ผลิตหลายรายเห็นว่า พวกเขาไม่สามารถแสดงศักยภาพในการแข่งขันได้หากปราศจากระบบอัตโนมัติ (Automation) และระบบดิจิทัล (Digitalisation) แต่ก็ยังละเลยหรือขาดการลงทุนที่จำเป็นในหลายๆ ส่วน เหตุผลส่วนหนึ่งเป็นเพราะจีนยังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ ในทางกลับกัน Cobots กลับมียอดขายที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในจีนมาหลายปีแล้ว ซึ่งนักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ว่า แนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไปในยุคโคโรนา

China Daily รานงานว่า ในช่วงปี 2014 ถึงปี 2018 อุตสาหกรรม Cobot ของจีนเติบโตขึ้น 65% ต่อปี โดยในปี 2018 มียอดขาย Cobot ถึง 6,320 ตัวในจีนด้วยมูลค่าตลาด 930 ล้านหยวน (ประมาณ 120 ล้านยูโร) และแม้ว่าการเติบโตในปีนี้อาจไม่เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ไวรัส (ว่าจะเติบโตเป็นสองเท่า) แต่ก็ยังกล่าวได้ว่าเป็นการเติบโตที่แข็งแกร่ง

รัฐบาลจีนให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมจำนวนมากเพื่อพยายามสร้างระบบอัตโนมัติ ส่งผลให้ผู้ผลิต Cobot ต่างได้รับประโยชน์จากมาตรการช่วยเหลือของรัฐ มีการจัดตั้ง“ สวนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์” หรือ “robot industrial parks” แล้วอย่างน้อย 65 แห่งทั่วประเทศ โดยในช่วงหลังวิกฤตการณ์โคโรนา รัฐบาลกรุงปักกิ่งได้ประกาศว่า หุ่นยนต์จะส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่จีนจะลงทุนอย่างจริงจังยิ่งกว่าการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ ครั้งใดๆ ที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้

Helmets are becoming mandatory, but there’s just not enough to buy

เมื่อหมวกกันน็อกไม่พอขาย !

เวลานี้มีแต่คนอยากเป็นผู้ผลิตหมวกกันน็อคจักรยานในประเทศจีน เพราะเพียงชั่วข้ามคืนรัฐบาลจีนได้สร้างความตื่นตะลึงให้กับนักปั่นสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าทั้งหลายด้วยกฎข้อบังคับเรื่องหมวกกันน็อค นั่นก็เพราะในประเทศจีนมีคนใช้สกูตเตอร์ไฟฟ้าถึง 300 ล้านคน สำคัญคือมีหมวกกันน็อกไม่พอขาย!

คำสั่งใหม่ของรัฐบาลกลางนี้ทำให้หลายคนเริ่มนึกถึงการบังคับสวมหน้ากากเมื่อช่วงต้นปีนี้จากวิกฤตการณ์ไวรัส ก็เพราะหน้ากากมีจำนวนไม่พอ ชาวจีนบางคนถึงกับนำใบกะหล่ำปลีที่เจาะรูตรงตากับจมูกมาผูกติดกับใบหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการถูก

South China Morning Post รายงานว่า จากกรณีหมวกกันน็อคนี้ ทำให้นักธุรกิจหัวใส เช่น ที่เซี่ยงไฮ้ก็มีคนเริ่มกว๊านซื้อหมวกกันน็อคหลายร้อยใบในราคา 30 หยวน (4.50 ยูโร) ต่อชิ้น แล้วนำไปขายในร้านค้าปลีกในราคา 85 หยวน (11 ยูโร) ต่อชิ้น!

ทั้งหมดที่ว่ามานี้ คงไม่ผิดนักหากจะบอกว่า แม้ในโควิดก็ยังมีโอกาสสำหรับตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอย่างจีน


อ้างอิง: https://www.etmm-online.com/golden-age-for-chinas-machine-tools-despite-corona-a-936072/

About The Author