อุตสาหกรรมเครื่องมือและแม่พิมพ์ในยุคของการเปลี่ยนแปลง – Transformation ไปสู่ระบบดิจิทัล กระบวนการสำคัญในอุตสาหกรรม 4.0 แล้วอะไรคือการเปลี่ยนแปลงที่บริษัทขนาดกลางต้องประสบพบเจอ อันเป็นผลมาจากการผันเปลี่ยนไปสู่ Industry 4.0 และ Digitalization
Fischer แบรนด์เครื่องมือชั้นนำจากเยอรมันกำลังผลักดันองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัลโดยการปรับปรุงพื้นที่ธุรกิจทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง แผนกการผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ที่ตั้งอยู่ใน Horb am Neckar ประเทศเยอรมนียังคงเดินหน้าไปด้วยดีในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัล
“กลยุทธ์อุตสาหกรรม 4.0 ของ Fischer Tool and Mold Making มีเป้าหมายคือ การเข้าถึงศักยภาพของเครือข่ายดิจิทัลแบบองค์รวม” Bernd Ströhlein หัวหน้าฝ่ายการผลิตเครื่องมืออธิบายถึงกลยุทธ์นี้
“ในแง่หนึ่งแผนนี้ช่วยให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการภายในและในทางกลับกันก็สร้างผลประโยชน์ให้กับลูกค้าได้มากขึ้นด้วย”
Determining the current state | กำหนดสถานะปัจจุบันขององค์กร
เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ ทีมงานในโครงการหนึ่งได้พัฒนากลยุทธ์ Industry 4.0 สำหรับการสร้างเครื่องมือและแม่พิมพ์ของเรา โดยร่วมมือกับที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรม WBA Aachener Werkzeugbau Akademie ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ร่วมกันกำหนดสถานะปัจจุบัน (ขององค์กร) และประเมินศักยภาพในการปรับปรุงในแต่ละด้านก่อน จากข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับ ทีมงานโครงการได้พัฒนาโรดแมปที่รวมแนวทางปฏิบัติและกำหนดการสำหรับการดำเนินการตามขั้นตอนแต่ละขั้น ในกระบวนการนี้ได้มีการกำหนดขีดความสามารถของพนักงานและค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่จำเป็นไว้ด้วย“
- ส่วนประกอบมาตรฐาน – STANDARDISATION รับประกันความสำเร็จอย่างยั่งยืน
- ติดตามอุตสาหกรรมแม่พิมพ์โลก
- ลีนกว่า-ไวกว่าสู่วิถี DIGITAL TRANSFORMATION
The launch has consequences | ความต่อเนื่องของการเริ่มต้น
ปรากฏว่าการทำให้กระบวนการขั้นต้นเป็นดิจิทัล มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการที่ตามมา ตัวอย่างเช่น หากการสอบถามถูกบันทึกด้วย IKOffice (ซอฟต์แวร์โดยเฉพาะสำหรับการสร้างเครื่องมือและแม่พิมพ์) ความพยายามในการคำนวณใหม่ในภายหลังจะลดลงและทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่การคำนวณอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ โดยทั่วไปงานที่มีข้อมูลสนับสนุน (data-supported work) และกระบวนการอัตโนมัติเป็นพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ในการสร้างเครื่องมือและแม่พิมพ์ที่ Fischer สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตได้โดยไม่ต้องใช้กระดาษและภาพวาดอีกต่อไป ความแม่นยำในการวางแผนจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการกำหนดกลยุทธ์การผลิตและกำหนดระยะเวลาเป้าหมาย และการเตรียมงานตามลักษณะความใกล้เคียงกันของรูปแบบงานทำให้มั่นใจได้ว่าการผลิตจะดำเนินไปอย่างราบรื่น
Reduced risk for errors | ลดความเสียงจากข้อผิดพลาด
Digitisation ช่วยลดงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรแกรม CAM และในกรณีของงานตรวจสอบของพนักงาน ทั้งการจัดทำเอกสารแมนวลและเอกสารบันทึกข้อผิดพลาดที่ใช้เวลานานจะถูกแทนที่ด้วยการบันทึกข้อผิดพลาดแบบดิจิทัล เช่น การตรวจวัดด้วยกล้องในการผลิต ในฐานะเครื่องมือควบคุม นอกจากนี้ Industry 4.0 ยังอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการเขียนโปรแกรมของเซลล์การผลิต รวมถึงการจัดการงาน (job management) เพิ่มศักยภาพในการทุ่นแรง ลดกิจกรรมที่ต้องใช้แรงงานคน ตลอดจนการลดความเป็นไปได้ของข้อผิดพลาดและเวลาที่ต้องเสียไปในการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ซึ่งแนวโน้มนี้ที่มุ่งไปสู่เซลล์การผลิตแบบอัตโนมัติ
ในการจัดรูปแบบกระบวนการที่มีข้อมูลสนับสนุนจะช่วยให้มั่นใจได้ว่า คุณภาพของข้อมูล หรือ data ได้รับการปรับปรุงดีขึ้นและไม่คลุมเครือซึ่งจะช่วยการเกิดข้อผิดพลาดและเพิ่มความเร็วในกระบวนการวางรูปแบบ ทั้งนี้ เพราะการปรับรูปแบบตัวอย่างให้เหมาะสมจะเป็นเครื่องมือที่ดีในการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า
Knowing where the knowledge is | รู้ว่าสิ่งที่ควรรู้อยู่ที่ไหน
การปรับปรุงโครงสร้างใหม่ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ยังมีประโยชน์ต่อการจัดการองค์ความรู้ หรือข้อมูล (ผลิตภัณฑ์) ได้ดียิ่งขึ้นด้วย เนื่องจากความรู้หรือชุดข้อมูลที่มีอยู่จะได้รับการบันทึกอย่างเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการเสียเวลาในการค้นหาเพื่อเข้าถึงข้อมูลหรือความรู้ที่เป็นเอกสาร สุดท้ายการทำให้เป็นดิจิทัลยังช่วยให้เกิดความก้าวหน้าอย่างยิ่งในการจัดการเครื่องมือ รวมถึงวงจรชีวิตของเครื่องมือ การติดตามเครื่องมือแบบดิจิทัลผ่านรหัส QR ทำให้ความยุ่งยากในการค้นหาข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับเครื่องมือหมดไป นอกจากนี้การติดตามแบบอัตโนมัติยังสามารถส่งข้อความเตือนไปยังพนักงานให้ทราบสถานะความเคลื่อนไหวของเครื่องมือได้ด้วย
เครื่องมือแบบอนาล็อกที่มีอยู่ในกระบวนการผลิตก่อนหน้านี้และโซลูชันซอฟต์แวร์แต่ละตัวที่ไม่ได้เชื่อมต่อเป็นองค์รวมจะถูกแทนที่ด้วยกระบวนการจัดการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ด้วยการปรับให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ ซึ่งในปี 2020 ที่ผ่านมามาตรการส่วนใหญ่ก็ได้ถูกนำมาปรับใช้แล้ว
อ้างอิง: https://www.etmm-online.com/how-a-medium-sized-company-goes-digital-a-998408/
บทความที่เกี่ยวข้อง:
ประวัติศาสตร์ติด Tags: เทคโนโลยี RFID จากสมรภูมิรบสู่เส้นทางการค้า
NIKON NEXIV | เครื่องมือวัดด้วยระบบ CNC เคลื่อนที่ความเร็วสูง
About The Author
You may also like
-
DigiTech ASEAN Thailand & AI Connect 2024 พบกับโซลูชันเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์กว่า 350 แบรนด์
-
NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
-
SuperSource : VEGAPULS 6X เซนเซอร์วัดระดับแบบต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีเรดาห์แบบพรีเมียม
-
แถลงจัดงาน THECA 2024 ผลักดันประเทศไทยสู่ฐานผลิต PCB ระดับโลก
-
อินฟอร์มาฯ – ก.พลังงาน ร่วมภาคีเครือข่ายด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2024