Hydrogen can play a key role

Hydrogen can play a key role in combating climate change. (Source: Jong Marshes (Unsplash))

อนาคตของพลังงานจากไฮโดรเจน | “The World is Ready for Hydrogen”

ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากสมาคมฟรอนโฮเฟอร์ (Fraunhofer Society) องค์กรวิจัยของประเทศเยอรมนีได้ทำการสรุปสถานะปัจจุบันและการพัฒนาในอนาคตเกี่ยวกับการใช้งานพลังงานระบบ ‘ไฮโดรเจน’ ของภาคต่างๆ ในการพูดคุยของผู้เชี่ยวชาญในช่วง Hannover Messe Digital Days

The future and hydrogen

ไฮโดรเจนถูกยกย่องว่าจะเป็นหนทางสู่ (การสร้าง) ความสมดุลของสภาพภูมิอากาศให้กับโลกของเราในอนาคตอันใกล้ ในขณะที่ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศของโลกเรากำลังอยู่ในขั้นวิกฤติ แต่ว่าเราจะสามารถนำไฮโดรเจนมาใช้ได้อย่างประสบผลในอนาคตอันใกล้นี้หรือไม่? สถานะในปัจจุบันคืออะไร และจะนำไปใช้งานได้ที่ไหน? ผู้เชี่ยวชาญสองคนจากสมาคม Fraunhofer ได้มาให้ภาพรวมของสถานะของไฮโดรเจนในปัจจุบันไว้ดังต่อไปนี้

Christoph Hebling (Fraunhofer ISE) ได้สรุปผลการคำนวณที่เกิดจากการเปรียบเทียบ 2 แนวทางของการบูรณาการระบบไฮโดรเจนใช้งานในภาคต่างๆ  โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ Fraunhofer ได้ร่างภาพจำลองของ 2 สถานการณ์คือ ด้านหนึ่งพึ่งพาไฮโดรเจนเพียงเล็กน้อย ส่วนอีกด้านหนึ่งใช้งานระบบไฮโดรเจนเป็นหลัก ผลก็คือ ปริมาณไฮโดรเจนที่จำเป็นต้องใช้สำหรับสถานการณ์แรกจะอยู่ที่ประมาณ 800 TWh (terawatt-hour) ส่วนในสถานการณ์ที่สองอาจต้องใช้มากถึง 2250 TWh ภายในปี 2030 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า Hebling ประมาณการว่า สามารถนำไฮโดรเจนมาใช้เป็นพลังงานหลักได้ในฐานะเชื้อเพลิงสังเคราะห์ อย่างไรก็ตามก็ยังมีความท้าทายอยู่บ้าง เช่น ในเรื่องของการกักเก็บพลังงาน

การกักเก็บพลังงานจะเป็นปัจจัยหลักหากมีการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในสเกลใหญ่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็นในพื้นที่นี้ ตัวอย่างเช่น หากภาคการขนส่งต้องพึ่งพาเทคโนโลยีนี้ในอนาคต สถานีไฮโดรเจนจะต้องมีอยู่ทั่วประเทศเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับการใช้งานว่า แหล่งซัพพลายพลังงานที่มีความคงที่แน่นอน

Hydrogen can play a key role
Hydrogen can play a key role in combating climate change. (Source: Jong Marshes (Unsplash))

Government must pave way for hydrogen | สิ่งที่รัฐบาลต้องทำ – ปูทาง

เพื่อให้มั่นใจว่า จะบรรลุเป้าหมายในการสร้างแหล่งพลังงานที่มีความเป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาศ (climate-neutral energy source) ดังนั้น ‘มาตรฐานสากล’ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น สิ่งแรกที่จำเป็นก็คือ รัฐบาลจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อทำให้เกิด safe investment ในระบบที่ใช้ไฮโดรเจนเป็นหลัก เพราะการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (economic interests) เป็นเรื่องยากที่จะลงรอยกันได้ในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง แต่พื่อส่งเสริม ‘อนาคตที่ยั่งยืน’ รัฐบาลจำเป็นต้องสร้างกรอบการทำงานที่ชัดเจนและเกิดประโยชน์เพื่อทำให้เกิดการใช้ไฮโดรเจนในระดับ large scale

Mario Ragwitz (Fraunhofer IEG) มุ่งไปที่การพัฒนาในเยอรมนีในฐานะ ตัวอย่างสำคัญของประเทศที่นำไฮโดรเจนมาใช้ผ่านแผนงานอย่างเป็นขั้นตอน แน่นอนว่าความท้าทายก็คือ การลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลลงแบบ step-by-step โดยเป้าหมายของเยอรมนีก็คือ การเป็นประเทศตัวอย่างในการใช้พลังงานจากไฮโดรเจน ซึ่งควรเริ่มจากบรรดาศูนย์การวิจัยต่างๆ (ที่มีอยู่แล้ว) ที่อุทิศตนให้กับการพัฒนาเทคโลโลยีนี้ รวมไปถึงกำลังจะสร้างขึ้นใหม่ในอีกไม่นานพื่อรองรับเทคโนโลยีนี้ ด้วยเหตุผลสำคัญก็คือ ไฮโดรเจนสามารถแปรเปลี่ยน (transformed) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ผ่านกระบวนการเร่งปฏิกิริยา (catalyst processes) ศักยภาพในการนำไปใช้งานจึงมีมากมาย ซึ่งรวมไปถึงในอุตสาหกรรมโลหะ เคมี และแม้แต่ภาคการขนส่ง แต่ในระดับสากลนั้นเล่า Ragwitz มาถึงข้อสรุปว่า “โลกพร้อมแล้วสำหรับไฮโดรเจน”

“The World is Ready for Hydrogen”

The EU and hydrogen | ตัวอย่างจากสภาพยุโรป

ในอนาคตอันใกล้นี้ ไฮโดรเจนจะเป็นปัจจัยสำคัญในเกือบทุกภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่ยังมีการถกเถียงกันมากมายเกี่ยวกับวิธีการในแง่ของ mobility) หรือ ความคล่องตัวที่จะทำให้ไฮโดรเจนเป็นพระเอกสู่ พลังงานสีเขียว หรือ Green Hydrogen ในอนาคตอันใกล้ ด้วยการทำให้ไฮโดรเจนสามารถให้ผลประโยชน์ระยะยาว

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กลยุทธ์ในการใช้พลังงานจากไฮโดรเจนของสหภาพยุโรป – EU’s hydrogen strategy คุณสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่เพจถาม-ตอบอย่างเป็นทางการที่ Questions and answers: A Hydrogen Strategy for a climate neutral Europe หรือคุณสามารถเข้าไปอ่านเอกสารอย่างเป็นทางการที่สรุปกลยุทธ์ดังกล่าวในรายละเอียดต่างๆ มากขึ้นได้ที่ A hydrogen strategy for a climate-neutral Europe.


อ้างอิง: https://www.etmm-online.com/the-future-and-hydrogen-a-948702/

บทความที่เกี่ยวข้อง: 

Tools Life: ฟินแลนด์สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างไร

อนาคตของพลังงาน – เทคโนโลยีการเก็บสะสมพลังงานและแบตเตอรี่ ไปถึงไหนกันแล้ว?

‘สตีเบล เอลทรอน’ มุ่งผลักดันการเติบโตควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม

About The Author