EMO3

อุตสาหกรรมไทยอยู่ตรงไหนในยุค 4.0 จาก TGI ถึง EMO Hannover 2019

นายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) ขึ้นกล่าวในงานแถลงข่าวการจัดงาน EMO Hannover 2019 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2562 ที่โรงแรมอีสตินแกรนด์สาทรโดยมีหอการค้าไทย-เยอรมัน (หรือ GTCC) เป็นเจ้าภาพ ถึงสถานะและความพร้อมของอุตสาหกรรมในประเทศไทยกับการรับมือยุคอุตสาหกรรม 4.0 ผ่านงาน EMO และภาระกิจของ TGI ในภาพรวมว่า

ตอนนี้รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมของเราไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 เริ่มต้นด้วยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จากไทยแลนด์ 4.0 ถึงจะเป็นอุตสาหกรรม 4.0 เราบอกได้ไหมว่า ตอนนี้อุตสาหกรรมของเราอยู่ระดับไหน? จากการสำรวจที่สภาอุตสาหกรรมฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติพบว่าอยู่ที่ประมาณ 2.3 – 2.5 โดยเฉลี่ย มีในบางอุตสาหกรรมก็อาจจะถึง 3

จากระดับ 2 กว่า ๆ เราตั้งเป้าจะไปที่ 4.0 แต่จะไป 4.0 ได้อย่างไร? ยกตัวอย่างจากเยอรมนี ข้อดีของเยอรมนีก็คือ ก่อนที่จะลงมือทำอะไรก็จะมี Guide Line มาก่อนเสมอ คือการทำให้ทุกคน (ในประเทศ) เข้าใจตรงกันก่อน ว่าคำว่า 4.0 คืออะไร เป็นกระบวนการที่สร้างมาอย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร โดยเฉพาะ SME และการซัพพอร์ต (ของรัฐบาล) ก็จะมี Guide Line หรือมีมาตรฐานทุกอย่าง ในขณะที่เราประกาศว่า 4.0 แต่คำถามคือ 4.0 ของทุกคนเหมือนกันไหม เพราะว่าเราไม่เคยทำอะไรที่เป็นมาตรฐาน หรือมี Guide Line อย่างชัดเจน เราต้องมาดูกันเองว่าคำว่า 4.0 ของเราหมายถึงอะไร 1 กับ 2 น่าจะรู้แล้ว 3.0 ตอนนี้ก็คือในส่วนของ Automation เรารู้ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไปที่ 3.0 แล้ว Automation เป็น 3.0 แล้วก่อนเป็น 4.0 จะเป็นอะไร

German

ก่อนเข้าสู่ Smart Manufacturing

หากดูกันจุดเดียวเฉพาะ products ต่าง ๆ ก็ต้องเป็น Smart ทั้งหมด smart phone, smart factory ไปจนถึง smart city จาก 4.0 ก็จะไปถึง 4.5 เมื่อ product เป็น smart กระบวนการ หรือ process ต่าง ๆ ก็ต้องเป็น smart โรงงานก็ต้องเป็น smart factory ในส่วนของ TGI ซึ่งเป็นสถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ตอนที่เยอรมันให้ความร่วมมือ เริ่มจากการให้ความร่วมมือที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือประมาณ 50 กว่าปีมาแล้ว จากนั้นก็มาช่วยเหลือในส่วนนี้โดยมีเงื่อนไขว่า หนึ่งไม่เป็นราชการ สองไม่อยู่ในภาคการศึกษา คือสถาบันไทย-เยอรมัน เพราะฉะนั้นเราไม่ใช่ราชการ ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ เป็นเอกชน เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไร เป็นเครื่องไม้เครื่องมือของรัฐในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรม ดังนั้นเมื่อทุกอย่างเป็น Smart แล้วเราไม่มี Guide Line ก็ต้องมาตีความกันเองว่า 4.0 ของสถาบันไทย-เยอรมันที่จะช่วยเหลืออุตสาหกรรมคืออะไร

โดยพื้นฐานก็ต้องเริ่มจาก 3.0 ก่อน ตอนนี้เทคโนโลยีต่างๆ ในบ้านเรามัน 3 แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Robotics เราก็มีแล้ว 3D Printing  AM ที่เป็นโลหะก็มีแล้วที่สถาบันไทย-เยอรมัน และที่ ITC กล้วยน้ำไทก็มี หรือเทคโนโลยีการ Maintenance สถาบันฯ ก็ให้บริการแล้ว

เพราะฉะนั้นถ้าจะไปเป็น 4.0 จะเป็นได้อย่างไร ถ้าเป็น 4 อาจเรียกว่าเป็น CPS หรือ Cyber Physical System ที่ญี่ปุ่นเรียกว่า Connected Industry คือทุกอย่างเชื่อมกันหมด โดยมีเสาหลักสำคัญอยู่สองเสาก็คือ IoT หรือ Internet of Things ถ้าเป็นอุตสาหกรรมก็จะเป็น IIoT หรือ Industrial Internet of Things แล้วก็มี Big Data เป็นฐาน Big Data เชื่อมต่อด้วย IoT ก็คือการ Connect กัน ทำงานประสานกัน

ในส่วนของสถาบันไทย-เยอรมัน มุ่งที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไปสู่ Smart Manufacturing ซึ่งก็ต้องดูตั้งแต่ต้นทางหรือหน้าบ้าน พลังงานใช้อย่างไร ติดต่อกับลูกค้าอย่างไร ผลิตอย่างไรให้ smart โลจิสติกส์ที่เป็น Smart เป็นอย่างไร ในส่วนที่จะช่วยก็คือเรื่องของ Smart Factory โดยร่วมกับ partners สถาบันต่าง ๆ แม้แต่กับเอกชน

จาก 3.0 สู่ 9 เทคโนโลยี 4.0 ใน EMO

ในยุค 3.0 เรามีหุ่นยนต์ใช้แล้ว แต่ยังต้องกั้นคอกให้มันอยู่ในการทำงานเพราะว่ามันยังอันตราย แต่ถ้า 4.0 จริง ๆ ก็จะเป็นไปในลักษณะที่ทำงานร่วมกับคนได้ ตอนนี้หุ่นยนต์ยังใช้ในอุตสาหกรรมจริง ๆ ไม่ได้มากนักเพราะว่ายังทำงานได้ช้าอยู่ ต้องรอการพัฒนาอีกสักระยะจึงจะสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมได้จริง ๆ เมื่อถึงเวลานั้นก็จะเปลี่ยนจาก 3.0 เป็น 4.0

เทคโนโลยีหลัก ๆ 9 เทคโนโลยีที่จะตอบสนองยุค 4.0 ในวันนี้ทั้ง IIoT, AM, AR, Big Data, The Cloud, Simulation, Robot, Cyber security และ Horizontal and vertical system integration ทั้งหมดนี้เราสามารถไปดูได้ที่งาน EMO Hannover พูดอีกแบบก็คือ เราจะได้เห็นภาพของอุตสาหกรรม 4.0 ในความเป็นจริงจากงานนี้ทั้งหมด

ส่วนการจะไปที่ Smart Factory พูดกันมานาน แต่ไม่เคยเห็นว่า Smart Factory จริง ๆ เป็นอย่างไร TGI จึงได้ทำโมเดลขึ้น เปิดสอนเป็นหลักสูตรอบรม เพื่อศึกษาว่า Smart factory ที่แท้เป็นอย่างไร ทำงานอย่างไร

EMO
Mr.Marius Mehner, Deputy Executive Director, GTCC

ทรัพยากรมนุษย์แบบ Hard Skill และ Soft Skill

และเมื่อกล่าวถึง คน ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในระบบการผลิต เรียกว่า HR 4.0 หรือ Workforce 4.0 ต้องมีความ flexible คือเรียนมาก็ต้องเอาไปใช้ได้ การจะเอาไปใช้ได้ก็ต้องมีความสามารถทั้ง Hard Skill และ Soft Skill

“Hard Skill เราทำได้ในด้านเทคนิก ในเทคโนโลยีหลักๆ ใน 9 เทคโนโลยีที่ว่ามา แต่ในส่วนของ Soft Skill ของเรายังขาดอยู่มาก การสื่อสาร หรือ communication ก็ยังขาด เรื่องของ combination หรือการทำงานเป็นทีมก็ขาด คนไทยทำงานเดี่ยวๆ เก่ง แต่พอทำงานเป็นทีมไม่ดีนัก เยอรมันและญี่ปุ่นต่างก็ยอมรับว่า ช่างไทยเก่ง แต่ว่า Productivity จากช่างไทยยังน้อยเพราะว่าขาด Soft Skill เยอรมันเมื่อมีแผนแล้วก็จะเดินไปตามแผน พอมีปัญหาหยุด ก็จะถอยกลับมา แล้วค่อยเดินต่อ แต่ไทยไม่ใช่ พอเดินไปเจอปัญหาก็จะเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาไปเลย นั่นก็คือลักษณะ Creativity อาจจะดีแต่ว่าความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหามีน้อย เพราะฉะนั้นเราต้องใส่ soft skill เยอะๆ เพราะสิ่งที่โรงงานต้องการ หากถามคำถามง่ายๆ คนดีกับคนเก่งเราเลือกใครก่อน”

แน่นอนว่า เราเลือกคนดีก่อนเพราะว่าคนเก่งสอนได้ คนดีก็สอนได้แต่ว่าจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนขึ้นอยู่กับเขา บ้านเราที่ยังขาดมากๆ ก็คือเรื่องวินัยวินัย ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต้องมีความอดทนก่อน ต่อมาคือเรื่องของ mindset ก็สำคัญ และเรื่องที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องของการใฝ่รู้ต่าง ๆ เพราะว่าในการปฏิวัติอุตสาหกรรม 1-2 ใช้เวลาถึง 100 กว่าปี 3 ไป 4 เหลือ 50 ปี เมื่อบอกว่า 5G กำลังจะมา เพราะฉะนั้นถ้า 5G สมบูรณ์แล้ว จาก 4.0 ไป 5.0 ใน 20-30 ปีก็เปลี่ยนแล้ว

การเรียนรู้ใหม่ๆ นั้นสำคัญ

มาดูกันว่ารัฐบาลสนับสนุนอะไรบ้าง กระทรวงอุตสาหกรรมมีมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้ขึ้นไปที่ 3.0 ก่อน โดยมี 3 มาตรการประกาศตั้งแต่ปีที่แล้ว 1. กระตุ้นให้มีการใช้ Automation ใช้หุ่นยนต์กันเยอะๆ ใครที่เอาระบบ Automation หรือว่าหุ่นยนต์มาใช้เพื่อเพิ่ม productivity สามารถขอสิทธิประโยชน์จาก BOI ได้  2. หลังจากกระตุ้นผู้ใช้แล้ว Automation กับหุ่นยนต์ จำเป็นที่จะต้องมี System Integrator หรือ SI ตรงนี้ก็จะช่วยพัฒนาให้มี SI เพิ่มขึ้น เราประเมินแล้วว่าตอนนี้มี SI อยู่ประมาณ 200 ราย ใน 5 ปีถ้ามาตรการที่ 1 ประสบผลสำเร็จ คือมีแนวโน้มว่าจะต้องเปลี่ยนเทคโนโลยีก็จะต้องเพิ่มเป็น 1000 ราย การมี SI ต้องซื้อพวกอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถผลิตเองได้มาประดิษฐ์ ทางกรมศุลฯ ก็จะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นศูนย์ ก็ช่วยทั้งทางด้านอุปสงค์และอุปทานโดยมีตัวขับเคลื่อนที่เราเรียกว่า Center of Robotics Excellence หรือ CoRE

“มาตรการสร้าง Center of Robotics Excellence (CoRE) สำหรับพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และการส่งเสริมการใช้งานด้านต่างๆ เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนและเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยบูรณาการความร่วมมือเป็นเครือข่ายระหว่างหน่วยงานชั้นนำของประเทศ 8 หน่วยงาน โดย TGI ทำหน้าที่บริหารจัดการ รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนชั้นนำในต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบอย่างน้อย 150 ผลิตภัณฑ์ ภายใน 5 ปี ทั้งนี้ การประสานกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เริ่มต้นจาก 8 มหาวิทยาลัย แต่ตอนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 15 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ”

ตอนนี้เราต้องสร้างการรับรู้และสร้างการตระหนักว่า 4.0 มันมาแน่ Automation Robot AI มันก็มาแน่ จะกลัวยังไงมันก็มา เพราะฉะนั้นเราจะปรับตัวยังไง ก็เป็นหน้าที่ของเราในการสร้างการรับรู้

EMO
Christoph Miller กรรมการผู้จัดงานแสดงสินค้า EMO Hannover (ซ้าย) และ Hartwig von SaB โฆษกสื่อมวลชน Deutsche Messe AG

EMO ตัวชี้วัดความเจริญของอุตสาหกรรม

“งาน EMO เป็นงานแสดงที่ใหญ่ที่สุดด้าน Machine Tools เทียบกับงาน Metalex ของเราเป็นฮอลล์ขนาดใหญ่ฮอลล์เดียวแต่ EMO มี 20 กว่าฮอลล์ถ้าไปเดินต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 วันถึงจะทั่วงาน ที่งานอื่นๆ อาจจะแจกของที่ระลึกต่าง ๆ แต่ที่ EMO ผมเคยไปเดินแจกสิ่งที่เรานึกไม่ถึงก็คือ ครีมนวดเท้า”

สิ่งที่เป็นตัวชี้วัดอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ งานใหญ่ๆ ของเขาต้องจองไปเพราะคนเยอะ งานใหญ่ ๆ หลายๆ งานของเยอรมนี ทั้งงานทางด้านพลาสติก งานคอนโทรลเฉพาะเครื่องมือวัดอย่างเดียว ทุกงานที่จะเข้าไปต้องเสียค่าตั๋ว นั่นคือตัวชี้วัดว่าอุตสาหกรรมเขาเจริญแค่ไหน คนต้องยอมเสียค่าตั๋ว ค่าจอดรถ แต่ว่าคนเต็มตลอด

 

 

หมายเหตุ:

ธีมของงาน EMO Hannover 2019 ประจำปีนี้ก็คือ “เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อขับเคลื่อนการผลิตแห่งอนาคต!” (Smart technologies driving tomorrow’s production) โดยมีไฮไลท์อยู่ที่เทคโนโลยีการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ หรือ Additive Manufacturing (AM) และอินเทอร์เน็ตออฟธิง หรือ IoT ในกระบวนการผลิตเป็นหัวข้อสำคัญ

EMO Hannover 2019 งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมโลหะชั้นนำของโลก จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 21กันยายน 2019 ที่เมืองฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี โดยมีสมาคมผู้ผลิตเครื่องมือกลแห่งเยอรมัน (German Machine Tool Builders’ Association – VDW) ร่วมกับบริษัท ดอยเช่ เมสเซ่ เอจี จากเมืองฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนีรับเป็นเจ้าภาพจัดงาน EMO Hannover ในนามของสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องมือกลแห่งยุโรป (European Association of the Machine Tool Industries – CECIMO)

ท่านสามารถสืบค้นข้อมูลอย่างละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.emo-hannover.de

 

Automation banner

About The Author