จากความเป็นเมืองสู่ Waste มากมายมหาศาลที่ต้องจัดการแบบยั่งยืน
Urbanization ความเป็นเมือง หรือ การขยายตัวของสังคมเมือง เป็นหนึ่งใน “เมกะเทรนด์” สำคัญของโลก เกิดจากการรวมตัวของผู้คนจำนวนมากจนกลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ อาจเกิดจากการกระจายความเจริญของเมือง จากเมืองศูนย์กลางออกไปยังเมืองอื่นๆ ซึ่งได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ตลอดจนรูปแบบและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างสิ้นเชิง
ความเป็นเมืองรอบโลก: ทวีปอเมริกาเหนือเป็นภูมิภาคที่มีความเป็นเมืองสูงที่สุดในโลก ตามมาด้วยอเมริกาใต้ ยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย และแอฟริกา
กรุงเทพฯ ผลิตขยะ Solid Waste 10,700 ตันต่อวัน! ใช้รถเก็บขยะ 2,140 คันต่อวัน
ประเทศตัวการใหญ่ 10 อันดับของขยะพลาสติกในมหาสมุทร อันดับหนึ่ง จีน อันดับสอง อินโดนีเซีย สาม ฟิลิปินส์ สี่ เวียดนาม ห้า ศรีลังกา และหก ประเทศไทย
การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) องค์การสหประชาชาติ/ วาระการพัฒนาภายหลังปี พ.ศ. 2558 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ
เศรษฐกิจแบบเดิมเป็นไปแบบเส้นตรง หรือ Linear Economy: ขุดทรัพยากร>ผลิต>กระจายสินค้า>บริโภค>ทิ้ง = ไม่รู้ชะตากรรม
เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy: ผลิต>กระจายสินค้า>บริโภค>ทิ้ง>กลับคืนเป็นทรัพยากร>รีไซเคิล>ผลิต>กระจาย>บริโภค>คืนกลับเป็นทรัพยากร>รีไซเคิล>ผลิต>กระจาย หมุนวนไปแบบนี้ ความเป็นไปได้คือแทบไม่มี Waste เลย ขยะจากการผลิตและบริโภค พลาสติก กระดาษ แก้ว ไม้ ฯลฯ ทุกอย่างจะถูกหมุนวนกลับมาสู่การผลิตใหม่
หลักการน่าสนใจ แต่จะทำได้ไหมนั่นคือคำถาม? ทั้ง 3R 4R โดยเฉพาะ Reduces Material Use ในภาคการผลิต
แต่ตัวการใหญ่จากการผลิตและบริโภคก็คือขยะ!รู้ไหมว่า ในหนึ่งวันเราหนึ่งคนสร้างขยะอย่างน้อย 1.13 กิโลกรัม
ประเทศไทยเริ่มโครงการ “Thailand without waste” อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2016
มีข้อสรุปว่า รากของปัญหาที่สำคัญส่วนหนึ่งก็คือ Behavior and Culture of popular consumer society: พฤติกรรมและวัฒนธรรมของสังคมบริโภคนิยม ทิ้งไม่คิด ไม่คัดแยก ไม่ใช้ซ้ำ
และ Lack of legal support measures: ขาดมาตรการสนับสนุนด้านกฎหมาย
แต่ก็ยังมีขยะชนิดพิเศษที่จัดการได้ยากอยู่เช่น ขยะที่่เป็นอันตราย ขยะติดเชื้อ ขยะจากการก่อสร้าง และ ขยะชิ้นใหญ่ยักษ์ โดยเฉพาะขยะจากการก่อสร้าง Construction Waste plant มีปริมาณถึง 500 ตันต่อวัน
ระบบบริหารจัดการ Waste ของ กรุงเทพฯ ข้อสำคัญคือ โปรโมทการคัดแยกขยะ
โครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นทุกระดับ ทุกชุมชน ทุกหมู่บ้าน
การแยกขยะตามแหล่งที่มาในปี 2018 ขยะทั่วไปยังมีปริมาณสูงถึง 85.21% 10,700 ตันต่อวัน คิดเป็น 3.90 ล้านตัวต่อปี และยังมีการฝังกลบขยะถึง 80% เผาเพียง 5% และกลายเป็นปุ๋ยเพียง 15%
ความท้าทายของ Waste Management คือต้นทุน!
แผนการของกรุงเทพฯ สำหรับการกำจัดขยะในอนาคต
บทความที่เกี่ยวข้อง:
The Last Straw: พลาสติกฟอรัม 2019 กับแนวโน้มเศรษฐกิจหมุนเวียน
You may also like
-
Impossible Objects เปิดตัวเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่เคลมว่าเร็วที่สุดในโลก
-
Swiss Steel Group เข้าร่วมโครงการ Carbon Disclosure Project เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนตลอดทั้งซัพพลายเชน
-
เทคโนโลยี มุมมอง และแนวโน้มล่าสุดของตลาดการผลิตแบบเติมวัสดุในปี 2023
-
เตรียมพบกับผู้นำด้านการผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ได้ที่งาน Moulding Expo 2023 เร็ว ๆ นี้
-
Hot Runner พิมพ์ 3 มิติ รองรับปริมาณผลิตที่สูงขึ้นด้วยการฉีดขึ้นรูปขนาดเล็กแม่นยำสูง