อุตสาหกรรมการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์เป็น Supporting Industry ที่สนับสนุนและอยู่เบื้องหลังอุตสาหกรรมทุกแขนง มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทั้งจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก
มูลค่าอุตสาหกรรมการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ไทยในปี 2561 มีมูลค่าร่วม 3 แสนล้านบาท โดยคิดเป็นมูลค่าอุตฯ การพิมพ์ราว 40% หรือ 1.2 แสนล้านบาท และมูลค่าอุตฯ การบรรจุภัณฑ์ราว 60% หรือ 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งได้รับอานิสงค์การขยายตัวของดีมานต์การบริโภคในประเทศและการส่งออก โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
สมาคมการพิมพ์ไทยและสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย ร่วมกับเมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย เตรียมจัดงาน“แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019” งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียจัดขึ้นทุก 2 ปีในประเทศไทย ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 7 รวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงจากบริษัทชั้นนำกว่า 300 แห่งทั่วโลก มีกำหนดจัดขึ้นระหว่าง 18 – 21 กันยายน 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pack-print.de หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจ PackPrintInternational
นำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีครบวงจร ภายใต้ 3 โซนจัดแสดงหลัก ได้แก่
โซนพาวิเลี่ยนครบวงจร (One-Stop Pack & Print Pavilion) จัดแสดงผลงานและนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลจากทั่วโลก พร้อมบูธบริการให้คำปรึกษาและช่วยจับคู่ทางธุรกิจ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเปรียบเสมือนแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อนวัตกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผู้ผลิต ผู้บริโภค ซัพพลายเออร์วัสดุการผลิต และผู้ผลิตเครื่องจักรไว้ด้วยกัน เพื่อส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจสำหรับบริษัท ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
โซนเทคโนโลยีการพิมพ์ฉลาก (Labelling Zone) จัดแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์ฉลาก ที่ครอบคลุมตั้งแต่เทคโนโลยีใหม่สำหรับการพิมพ์ฉลาก แอปพลิเคชันฉลากบรรจุภัณฑ์ที่ล้ำสมัย การตกแต่งและการปรับแต่งฉลาก และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
โซนจัดแสดงต้นแบบ (Prototype & Design Showcase) ที่จัดแสดงผลงานการพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ และเทคโนโลยีต้นแบบ เพื่อการออกแบบ การแสดงผล และการผลิตสมัยใหม่ อาทิ ภาพพิมพ์ 3 มิติ และซอฟแวร์ที่เกี่ยวข้อง ต้นแบบงานบรรจุภัณฑ์จากฝีมือนักศึกษา Toyota Art Camp University และผลงานที่ชนะเลิศจากงานประกวด AsiaStar 2019
อีกหนึ่งจุดเด่นของงาน ได้แก่ บริการจับคู่การเจรจาธุรกิจ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งช่วยให้สามารถเชื่อมต่อกับผู้ผลิต ลูกค้า และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยพัฒนาโอกาสทางธุรกิจที่ดีขึ้นสำหรับผู้ประกอบการ ตลอดจนยกระดับความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ ภายในงาน ยังรวบรวมงานประชุมและสัมมนา จากผู้เชี่ยวชาญในวงการอุตสาหกรรม และผู้ผลิตนวัตกรรมชั้นนำ ซึ่งจะมาแลกเปลี่ยนมุมมอง และอัปเดตกระแสของตลาดที่เกี่ยวข้องกับงานพิมพ์และงานบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเหมาะกับทั้งผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักการตลาด รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ต้องการติดตามความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม จากสถิติผู้ลงลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้า พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 63% จากปี 2560 โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในภูมิภาค อาทิ พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย และคาดว่าจะมีผู้เข้าชมสูงถึง 17,000 คน ในปีนี้ และเชื่อว่า แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล จะช่วยสร้างข้อได้เปรียบให้กับผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรมไทยให้เท่าทันโลก สร้างผลลัพธ์การผลิตที่น่าดึงดูดและยั่งยืนในตลาดโลก รวมถึงพัฒนาศักยภาพให้สามารถแข่งขันในเวทีโลก มร.เกอร์นอท กล่าวสรุป
นายพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช นายกสมาคมการพิมพ์ไทย กล่าวว่า ตัวเลขมูลค่าอุตสาหกรรมการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ไทยในปี 2561 มีมูลค่าร่วม 3 แสนล้านบาท โดยคิดเป็นมูลค่าอุตสาหกรรมการพิมพ์ราว 40% หรือ 1.2 แสนล้านบาท โดยอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำสำหรับ 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ วัสดุการพิมพ์ทั่วไป และตลาดการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ ขณะที่ประเทศไทยยังสามารถดึงดูดความสนใจของนักลงทุนทั่วโลก ในฐานะศูนย์กลางการผลิตด้านการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากข้อได้เปรียบด้านทรัพยากรการผลิต การส่งเสริมโครงสร้างอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องจากทางภาครัฐ รวมถึงความพร้อมด้านแรงงาน ร่วมไปกับนโยบายสนับสนุนจากทางภาครัฐ อาทิ มาตรการจูงใจทางภาษีอากร และสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษีอากร สำหรับโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์การพัฒนาประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
นายมานิตย์ กมลสุวรรณ นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย กล่าวว่าอุตสาหกรรมการบรรจุภัณฑ์มีกำลังการผลิตในประเทศสูงถึง 5.83 ล้านตันในปีที่ผ่านมา และจะยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีราว 10 – 20% โดยคาดว่าตลาดตลาดการการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ทั่วโลก จะมีมูลค่าสูงถึง 8.87 ล้านล้านบาท ในปี 2563 ขณะที่ตลาดในภูมิภาคเอเชียเองมีจะมีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ขยายถึงราว 40% จากสัดส่วนทั่วโลก ในปี 2565 ซึ่งสะท้อนโอกาสก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมการบรรจุภัณฑ์ไทยที่ต้องเร่งพัฒนาศักยภาพการผลิต รองรับการเติบโตดังกล่าว โดยเฉพาะในกลุ่มการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากอานิสงค์ของดีมานต์การบริโภคในประเทศและการส่งออก ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ อย่างไรก็ดี นวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะเป็นข้อท้าทายหนึ่งที่สร้างการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมไทยในอนาคต ซึ่งผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมเองต้องปรับทิศทางธุรกิจให้เท่าทันสถานการณ์
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าอุตสาหกรรมการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ไทยในปี 2563 ยังคงมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยไปพร้อมกับจีดีพีประเทศ โดยได้รับอานิสงค์จากการบริโภคในประเทศ ด้านการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบกับจีดีพีไทย ขณะที่สงครามการค้าสหรัฐ – จีน จะยังคงดำเนินต่อเนื่อง แม้ว่าการส่งออกไทยไปยังจีนจะชะลอตัวลงราว 12% แต่ไทยกลับส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 10% นอกจากนี้ คาดว่าการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี และการเบิกจ่ายงบประมาณที่จะเกิดขึ้น จะช่วยกระตุ้นการลงทุน และผลักดันเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น
ประเทศไทยกำลังเดินหน้าอุตสาหกรรมตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อก้าวเป็นศูนย์กลางการผลิตและบ่มเพาะนวัตกรรมซึ่งตอบโจทย์ 10 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ ดังนั้นการประยุกต์นวัตกรรมและกระบวนการผลิตขั้นสูงจากต่างประเทศ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งทางภาครัฐกำลังเร่งสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการ เพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจในประเทศ ตลอดจนส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีศักยภาพ และระบบเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาขึ้น
ขณะที่ผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรมไทยเอง ต้องเร่งปรับตัวเข้าสู่ตลาดการแข่งขันใหม่ๆ ปรับปรุงรูปแบบธุรกิจ และมองหานวัตกรรมที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร ซอฟแวร์การจัดการ หรือแม้กระทั่งวัสดุการผลิตแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ค้ารายย่อย เอสเอ็มอี โอท็อป และเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กถึงกลาง ซึ่งน่าจะได้รับอานิสงค์จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี โดยงานแพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล จะช่วยเสริมช่องทางในการเข้าถึงนวัตกรรมที่สำคัญ เพื่อยกระดับอุตฯ การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ในอนาคต และพัฒนาฐานการผลิตของผู้ประกอบการไทย ให้รองรับโอกาสและปูทางไปสู่ตลาดการค้าใหม่ในอนาคตอันใกล้
About The Author
You may also like
-
NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
-
แถลงจัดงาน THECA 2024 ผลักดันประเทศไทยสู่ฐานผลิต PCB ระดับโลก
-
อินฟอร์มาฯ – ก.พลังงาน ร่วมภาคีเครือข่ายด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2024
-
อินเตอร์แมค – ซับคอนไทยแลนด์ 2024 เปิดแล้ว ใหญ่จริง จัดเต็ม เทคโนโลยี นวัตกรรม สัมมนาเปิดทางรอดอุตสาหกรรมไทย
-
สัมมนาสัญจร จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ”ขับเคลื่อนเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอัจฉริยะเพื่อความปลอดภัยของชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน“