ตลอดระยะเวลากว่าหกสิบปีโรลส์-รอยซ์ได้เพิ่มบทบาทมากขึ้นในประเทศไทยครอบคลุมไปถึงธุรกิจสนับสนุนด้านการป้องกันประเทศ โดยทีมงานของโรลส์-รอยซ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยยังเดินหน้านำเสนอนวัตกรรมโซลูชั่น และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนภารกิจและกิจการของกองทัพไทย
อนาคตของโรลส์-รอยซ์ในประเทศไทยจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าต่าง ๆ ตั้งแต่กองทัพไทย ภาคอุตสาหกรรมในประเทศ ไปจนถึงธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนและชุมชนท้องถิ่น เพื่อดึงดูดทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญที่เราต้องการมาร่วมสร้างเสริมพลังในการปกป้องประเทศ ด้วยการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยประกอบกับการบริการที่ครอบคลุมตลอดอายุการใช้งานของกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของเรา ทำให้โรลส์-รอยซ์ส่งมอบโซลูชั่นที่ปลอดภัย และนำหน้าที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่สำคัญของโลก
ความเป็นมาของโรลส์-รอยซ์ในประเทศไทยสามารถย้อนเวลากลับไปได้ถึงทศวรรษ 1970 ซึ่งเป็นปีที่สั่งซื้อเรือฟรีเกตมาประจำการโดยได้ชื่อว่า “เรือหลวงมกุฎราชกุมาร” และโรลส์-รอยซ์ได้ก่อตั้งสำนักงานขึ้นที่กรุงเทพฯ นับจากนั้นและยังคงพัฒนาความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าธุรกิจและกองทัพในประเทศ เช่นกองทัพอากาศ กองทัพบก และกองทัพเรือไทย โดยทำงานควบคู่ไปกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อเฟ้นหาโอกาสต่าง ๆ ในอนาคต และขยายฐานการผลิตในประเทศไทย
ในปัจจุบันมีเครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์กว่า 60 เครื่องที่ใช้อยู่ในกองทัพไทย ทำหน้าที่เป็นขุมพลังให้กับอากาศยานทั้งประเภทปีกตรึง (fixed wing) และปีกหมุน (rotary wing) ที่เป็นอากาศยานขนส่ง และอากาศยานฝึกบิน ซึ่งรวมถึงเครื่องบินลำเลียง C-130, เครื่องบินเจ็ท Embraer Legacy, เฮลิคอปเตอร์ Bell 206 และเฮลิคอปเตอร์ฝึกบินขั้นสูง EN480 นอกจากนี้ โรลส์-รอยซ์ยังให้บริการบำรุงรักษาเครื่องยนต์แก่กองทัพไทยผ่านศูนย์ผู้เชี่ยวชาญของเราที่ตั้งอยู่ทั่วโลก โรลส์-รอยซ์เดินหน้าคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ผ่านการอัพเกรดเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การปรับปรุงเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ T56 เป็นซีรีส์ 3.5 เพื่อใช้กับเครื่องบินลำเลียง C-130 เพื่อช่วยการลดอุณหภูมิของเครื่องยนต์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ต้นทุนการบำรุงรักษาลดลง และประหยัดเชื้อเพลิงได้มากขึ้น
เครื่องยนต์ Trent500 ของโรลส์-รอยซ์ ถือเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ใช้กับเครื่องบินแอร์บัส A340 ของกองทัพอากาศไทย ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นเครื่องบินพระที่นั่งเพื่อเสด็จพระราชดำเนินในพระราชกรณียกิจต่าง ๆ เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ เครื่องยนต์ของบริษัท โรลส์ รอยส์ ได้รับใช้กองทัพบกและกองทัพเรือใช้ในการขนส่งของหน่วยงาน
สำหรับในส่วนของราชนาวีไทย เครื่องยนต์ก๊าซเทอร์ไบน์ของโรลส์-รอยซ์ TM3B เป็นขุมกำลังขับเคลื่อนเรือหลวงมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นเรือฟรีเกตอเนกประสงค์ เราอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับความไว้วางใจให้สนับสนุน
กองทัพเรือไทยด้วยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มการขับเคลื่อนทางทะเลและระบบสนับสนุนต่าง ๆ ในระดับแถวหน้าของเรา
นอกจากธุรกิจด้านการป้องกันประเทศแล้ว โรลส์-รอยซ์ยังมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับกลุ่มการบินพาณิชย์ และระบบพลังงาน โดยมีความสัมพันธ์กับสายการบินไทยมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ทศวรรษ 1960
โรลส์-รอยซ์เป็นผู้นำนวัตกรรมระดับแนวหน้ามานานหลายทศวรรษ และเรายังคงลงทุนในงานวิจัยขั้นสูง และเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา เราทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในการพัฒนาระบบพลังงานไฟฟ้าเชิงกลและไฮบริดที่ทันสมัยล่าสุด เรากำลังพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมของเราด้วยระบบดิจิทัล ด้วยแนวคิดและให้ความสำคัญกับดิจิทัลเป็นลำดับแรก (Digital First) ในทุกสิ่งที่เราทำ โดยใช้ข้อมูลเชิงลึก โซลูชั่น และโอกาสใหม่ ๆ ในการให้บริการลูกค้าของเราทั่วโลก
เกี่ยวกับโรลส์-รอยซ์
- โรลส์-รอยซ์เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีที่นำเสนอโซลูชั่นที่สะอาด ปลอดภัยและแข่งขันได้ เพื่อตอบสนองความต้องการในพลังงานที่สำคัญในโลก
- โรลส์-รอยซ์ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามากกว่า 150 ประเทศ ประกอบด้วยสายการบินมากกว่า 400 แห่งรวมลูกค้าประเภทเช่า กองทัพ 160 แห่ง กองทัพเรือ 70 แห่ง และลูกค้า ด้านพลังงานและนิวเคลียร์อีกมากกว่า 5,000 ราย
- ในปี 2562 รายได้พื้นฐานของโรลส์-รอยซ์อยู่ที่ 15 พันล้านปอนด์โดยรายได้ประมาณครึ่งหนึ่งมาจากการให้บริการหลังการขาย
- ในปี 2562 โรลส์-รอยซ์ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาไป 1.450 พันล้านปอนด์ นอกจากนี้เรายังให้การสนับสนุนเครือข่ายระดับโลกของศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีประจำมหาวิทยาลัย จำนวน 29 แห่ง ซึ่งส่งผลให้วิศวกรของโรลส์-รอยซ์ ก้าวขึ้นมาอยู่ในระดับแนวหน้าในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
- กลุ่มธุรกิจของโรลส์-รอยซ์มีความมุ่งมั่นในการฝึกงานและรับสมัครบัณฑิตใหม่ และพร้อมที่จะพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้กับพนักงานต่อไป
บทความโดย:
ลูอิส โดนาเฮย์ รองประธานอาวุโส เซาท์อีสเอเชียและอินเดีย
บทความที่เกี่ยวข้อง:
โรลส์-รอยซ์เตรียมเปิดตัวเครื่องบินพลังงานไฟฟ้า บินเร็วสุดลำแรกของโลก
About The Author
You may also like
-
NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
-
แถลงจัดงาน THECA 2024 ผลักดันประเทศไทยสู่ฐานผลิต PCB ระดับโลก
-
อินฟอร์มาฯ – ก.พลังงาน ร่วมภาคีเครือข่ายด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2024
-
อินเตอร์แมค – ซับคอนไทยแลนด์ 2024 เปิดแล้ว ใหญ่จริง จัดเต็ม เทคโนโลยี นวัตกรรม สัมมนาเปิดทางรอดอุตสาหกรรมไทย
-
อินฟอร์มาฯ สานต่อความร่วมมือ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จัดงาน “Electric Vehicle Asia 2024” ยกระดับการผลิตไทยสู่การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลก