อนาคตของการค้าโลหะคือ Digital

อนาคตของการค้าโลหะคือ Digital (Part 2)

โอกาสสำหรับผู้ค้ารายใหม่ในการซื้อขายออนไลน์

ขณะที่ผู้ค้าเหล็กกล้ารายใหญ่ ๆ เช่น Klöckner หรือ ผู้ผลิตเหล็กกล้าเช่น Thyssenkrupp ต่างก็ดำเนินกิจการร้านค้าออนไลน์ของตัวเอง แต่ก็มักจะซับซ้อนเกินไปและมีราคาแพงเกินไปสำหรับผู้ค้ารายย่อย ส่วนลูกค้าก็รู้สึกว่าต้องใช้เวลามากเกินไปในการค้นหาร้านค้าต่างๆเพื่อเปรียบเทียบข้อเสนอ ผู้ค้ารายใหม่ในการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์จึงสร้างการติดต่อระหว่างผู้ค้ารายต่างๆให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมถึงกับผู้ค้ารายย่อยและลูกค้าด้วยเช่นกัน

“โดยทั่วไปแล้วผู้ประกอบการจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในธุรกิจการค้าเหล็กกำลังมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในการบุกเบิกกิจกรรมทางการค้า” Stefan Grethe กล่าว ก่อนที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่จะสร้างตลาดออนไลน์สำหรับเหล็กกล้าในปี 2014 พร้อมกับบริษัทก่อตั้งใหม่อย่าง Mapudo ในเมือง Düsseldorf เขาทำงานให้กับ Thyssenkrupp ผู้ค้าเหล็กรายใหญ่เยอรมนี “ในฐานะผู้จัดการโครงการ ผมได้วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าและพอร์ตการสั่งซื้อของบริษัทขายเหล็กเก้าแห่งในยุโรป สหรัฐอเมริกาและเอเชีย และพบว่าสถานการณ์ดังกล่าวเหมือนกันทั่วโลกและสามารถกล่าวได้ว่าศักยภาพใน digitisation มีความสำคัญในการค้าเหล็ก”

การตอบสนองต่อคำตอบของ Grethe จากอุตสาหกรรมเหล็กกล้าแตกต่างกันไป “หลายคนเห็นว่าวิธีการนี้ดีมาก ขณะที่บางคนคิดว่ามันเร็วเกินไป ไม่ก็ปฏิเสธแนวคิดนี้โดยสิ้นเชิง” แม้แต่ผู้มีบทบาทสำคัญรายใหญ่ในตลาดเช่น Vallourec ผู้ผลิตท่อเหล็กกล้าระดับโลก ก็เป็นหนึ่งในบรรดา partners ในตลาดออนไลน์สำหรับวัสดุในปัจจุบัน “ทางด้านซัพพลายเออร์มันชัดเจนมาก ว่าผู้ค้าเหล็กและผู้ค้าโลหะนอกกลุ่มเหล็กได้เปิดกว้างมากขึ้นสำหรับแนวคิดของการขายผ่านทางตลาดออนไลน์” Grethe กล่าวอย่างยินดีลูกค้ามาจากอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันมากมาย ตั้งแต่ ช่างเครื่องไปจนถึงผู้ผลิตโลหะและเหล็กกล้า และมีขนาดตั้งแต่อุตสาหกรรมขนาดกลางไปจนถึงกลุ่มการบำรุงรักษาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ “สิ่งที่พวกเขามีเหมือนกันก็คือ พวกเขาต้องการจัดซื้อจัดหาวัสดุอย่างรวดเร็วและง่ายดายเพื่อให้มีเวลามากขึ้นสำหรับกิจกรรมที่เพิ่มมูลค่า” ผู้ก่อตั้ง Mapudo กล่าว และชี้ให้เห็นว่าความคืบหน้าในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 มีแนวโน้มที่น่าพอใจ transaction volume ทั้งหมดสูงกว่าที่คาดไว้ ภาคการบริการเพิ่มเติมเช่นการ machining จะถูกเพิ่มเข้าไปในอนาคต สำหรับเขากฎเบื้องต้นก็คือ “ที่ใดก็ตามที่เราสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เราจะพัฒนาฟังก์ชันใหม่ ๆ ในการติดต่อประสานงานกับซัพพลายเออร์และผู้ซื้อ”

ทางเลือกใหม่ของรูปแบบการสั่งซื้อกำลังจะเกิดขึ้น

Jürgen Wixler ผู้อำนวยการ “Alloys2b” ในมิวนิคได้จำลองรูปแบบการดำเนินงานของเขาในแบบที่สื่อสังคมออนไลน์ใช้ “Alloys2b” โฟกัสไปที่โรงงานเหล็กและโรงหล่อที่ต้องใช้อัลลอยด์เป็นหลัก รวมทั้งวัสดุที่เป็นอัลลอยส์และไม่ใช่อัลลอยส์ “เราเริ่มต้นด้วยตลาดและพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วไปสู่ Software-as-a-Service (SaaS) โซลูชัน” Wixler อธิบาย “Alloys2b” ดำเนินการโดยอิงตามหลักของ private tendering platform:

ผู้ซื้อรวบรวม supplier pool ของตนเองร่วมกับผู้ค้า จากนั้นคำเชิญให้เข้าร่วมประมูลราคาจะถูกส่งไปที่ซัพพลายเออร์เหล่านี้เท่านั้น อาจมีการติดต่อเปรียบเทียบข้อมูลกันผ่านการเป็นเพื่อนบน Facebook ลูกค้าสามารถเชิญชวนซัพพลายเออร์รายใหม่ ๆ ผ่านทางอีเมลและมีการตรวจสอบกันขั้นแรกก่อนการร่วมมือกันในอนาคต ก่อนที่จะลงลึกสู่ตรวจสอบที่มีราคาในด้านอื่นๆ  ในบริบทนี้ระบบจะทำหน้าที่เป็นช่องทางการสื่อสารแบบดิจิตอลที่รวดเร็วระหว่างผู้เข้าร่วมการซื้อขาย “คุณสมบัติพิเศษของ ‘Alloys2b’ คือการใช้งานที่เรียบง่ายและความสามารถในการปรับแต่งผลิตภัณฑ์ – an in-house development ” Wixler ระบุ “สิ่งนี้จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานถูกค้นพบ และหากจำเป็น ก็สามารถปรับให้เหมาะกับความต้องการของแต่ละบุคคลได้ หรือไม่ก็สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนขึ้นได้ใหม่โดยไม่จำเป็นต้องมีการสร้างความคุ้นเคยหรือการประชุมเชิงปฏิบัติการก่อนหน้านี้ ”

Wixler ได้พัฒนาระบบดังกล่าวให้เป็นแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์สำหรับลูกค้าธุรกิจ แพลตฟอร์มแบบขยายนี้มีอยู่ทั่วไปในระบบการซื้อขายสินค้าทางการเกษตร “ในขณะนี้เรากำลังมองหาคู่ค้าเพื่อแนะนำระบบการค้าแบบใหม่ในอุตสาหกรรมโลหะ” Wixler เชื่อมั่นว่า “เราเชื่อว่าอนาคตของการซื้อขายโลหะจะอยู่ในแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างไม่ใช่ในโซลูชันที่แยกเฉพาะ”

ย้อนกลับไปที่คำถามเบื้องต้น: อนาคตของการค้าเหล็กจะเป็นอย่างไร? ทุกคนต่างยอมรับว่า: “รูปแบบการค้าแบบดิจิทัลคืออนาคตของการค้าเหล็กกล้า” นอกจากนี้ยังเป็นที่ยอมรับเพิ่มเติมว่า The winners คือผู้ค้าที่รวดเร็วและมีจุดมุ่งหมายในการปรับเปลี่ยนกระบวนการสู่ Digitisation

อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้เช่นกันว่า ผู้ค้าเหล็กกล้าจำนวนมากจะไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไปในอนาคต ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 การพัฒนาจะนำไปสู่การ digitisation ของอุปทานและ added value chain ทั้งหมด ใน smart factories มูลภัณฑ์ (stocks) และ machine เชื่อมต่อกันโดยตรงผ่าน Internet of Things (IoT) หากระบบแจ้งว่า เหล็กที่มีอยู่ในเครื่องจักรการผลิตหมดแล้วก็จะทำการสั่งซื้อกับผู้ค้าเหล็กหรือติดต่อโดยตรงกับโรงถลุงเหล็กทันที

สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องของอนาคตอาจกลายเป็นความจริงในเร็วๆ นี้

About The Author