“Plastic has a design failure. It is designed to last forever, but often we use it once and then throw it away.”
ในการแสวงหาทางออกต่อความท้าทายในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ไม่น่าแปลกใจหากจะมีคำกล่าวหา ว่าภาคการผลิตมีส่วนในความรับผิดชอบไม่น้อย เวลานี้บริษัทมากมายล้วนมีโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และการพิมพ์ 3 มิติมักจะถูกจัดว่าเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นสำหรับการผลิต ในหลายๆ เหตุผล ด้วยวิธีการที่สร้างของเสียน้อยกว่ากระบวนการ (ผลิต) แบบดั้งเดิม และวัสดุบางอย่าง เช่น PLA ได้มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนซึ่งช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

จากหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ระดับพลาสติกในทะเลกำลังเพิ่มขึ้น สตูดิโอด้านการออกแบบและการวิจัย The New Raw ซึ่งมีฐานอยู่ที่ Rotterdam และ Zero Waste Lab ในเมือง Thessaloniki ประเทศกรีซ จึงได้ทำโครงการที่กำลังเปลี่ยนขยะในทะเลให้กลายเป็นภาชนะบนโต๊ะอาหาร ประติมากรรม และเฟอร์นิเจอร์ ทั้งหมดผลิตขึ้นด้วยการพิมพ์แบบ 3 มิติ กล่าวได้ว่านี่คือการสร้างความตระหนักถึงศักยภาพในกระบวนการแปลงสภาพของวัสดุของเสีย หรือไม่ใช้ประโยชน์อีกแล้วให้เป็นวัสดุใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่าเดิม (เรียกกันสั้นๆ ในคำว่า upcycling) ด้วยวิธีการผลิตแบบทางเลือกต่างๆ จึงได้มีการจัดทำโครงการที่เรียกว่า Second Nature ขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพยายามดังกล่าว
“พลาสติกมีส่วนสำคัญต่อมลพิษทางทะเล อย่างไรก็ตาม การอาศัยอยู่ในเขตเมือง เรามักจะลืมว่าเราต้องพึ่งพาทะเลมากเพียงใด ทะเลซึ่งมีความสำคัญในฐานะแหล่งซัพพลายด้านอาหารและออกซิเจนของเรา” Panos Sakkas และ Foteini Setaki ผู้ก่อตั้ง The New Raw กล่าว
“WITH SECOND NATURE, WE WANT TO GIVE PLASTIC A SECOND LIFE.”

Raising awareness with 3D printing
อวนประมงสังเคราะห์มักถูกทิ้งลงบนพื้นทะเลหลังจากถูกตัดหรือสูญหายไปโดยเรือประมง อวน ‘ผี’ เหล่านี้ถือเป็นซากขยะมหาสมุทรที่อันตรายที่สุดและเป็นภัยคุกคามตัวสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
โครงการ Second Nature ดำเนินการโดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ Aikaterini Laskaridis ผู้มีผลงานสำคัญเกี่ยวกับการวิจัยทางทะเล จุดมุ่งหมายของ The New Raw คือ “การสร้างภาพของระบบนิเศขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยมีพลาสติกจากทะเลเป็นวัตถุดิบสำหรับเศรษฐกิจใหม่ที่ใช้นวัตกรรมเชิงวัฒนธรรมบวกกับเทคโนโลยี นำไปสู่การเปลี่ยนค่านิยมในสังคม”
การนำความงามของสภาพแวดล้อมทางทะเลมามารวมกับธรรมชาติที่เป็นอันตรายของอวนผีและมลพิษพลาสติกอื่น ๆ ประการแรกทีมงานได้สร้างคอลเลกชันของวัตถุที่พิมพ์แบบ 3 มิติ รวมถึงชุดงานประติมากรรมรูปเปลือกหอยที่ทำจากตาข่ายพลาสติกรีไซเคิล
ในการสร้างเส้นใยสำหรับกระบวนการนี้ ทีมงานได้จำแนกอวนผีตามวัสดุต่าง ๆ เช่น ตาข่าย (อวน แห) เชือก ทุ่นและตัวถ่วงน้ำหนัก วัสดุที่แตกต่างกันเหล่านี้ถูกนำมาผ่านเครื่องบดและอัดเป็นเส้นใยที่มีสีสันและลักษณะของพื้นผิวที่ Zero Waste Lab
From fishing nets to seashells: จากอวนจับปลาสู่เปลือกหอย
การออกแบบที่เสร็จสมบูรณ์แล้วของเปลือกหอยเทียมเหล่านี้ แต่ละชิ้นได้รับแรงบันดาลใจจากเปลือกหอยในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อยู่ใน protected list เนื่องจากการทำประมงแบบบ้าระห่ำ“โดยธรรมชาติแล้วรูปทรงของเปลือกหอยเหมาะกับวิธีการพิมพ์แบบสามมิติอยู่แล้ว” Sakkas และ Setaki อธิบาย “แทนที่จะทำซ้ำรูปร่างตามธรรมชาติ การพิมพ์ 3 มิติแสดงให้เห็นถึงเนื้อแท้ที่ถูกนำมาแทนที่อย่างเป็นรูปเป็นร่าง สะท้อนให้เห็นความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน”
โครงการนี้ยังมีภาพยนตร์สั้น 10 นาทีที่สร้างขึ้นโดยผู้สร้างภาพยนตร์สารคดีที่ได้รับรางวัล Daphne Matziaraki ภาพยนตร์เรื่องนี้ส่งข้อความให้เห็นว่า พลาสติกทางทะเลสามารถกลายร่างเป็นวัตถุดิบสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบใหม่ หรือ circular economy ได้อย่างไร
ตอนนี้ The New Raw ได้เดินหน้าต่อไปสู่โครงการ Print Your City โครงการนี้ได้เปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นเฟอร์นิเจอร์บนถนน (ม้านั่งและกระถางต้นไม้) สำหรับใช้ในที่สาธารณะใน Rotterdam, Thessaloniki และล่าสุดคือ Rossana Orlandi gallery ใน Milan
Sakkas และ Setaki บอกว่า “พลาสติกมีความล้มเหลวในการออกแบบอยู่ประการหนึ่ง นั่นก็คือ มันถูกออกแบบให้คงอยู่ตลอดไป แต่บ่อยครั้งเราใช้มันเพียงแค่ครั้งเดียวแล้วก็โยนมันทิ้งไป”

ภาพและเรื่องอ้างอิงจาก: https://3dprintingindustry.com/news/the-new-raw-gives-the-oceans-plastic-a-second-life-through-3d-printing-154561/
You may also like
-
เครื่องพิมพ์คอมโพสิต 3 มิติ นวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด
-
‘วัสดุที่โปรแกรมได้’ เปลี่ยนคุณสมบัติได้ตามสภาวะที่กำหนด
-
หาความสัมพันธ์กระบวนการผลิตได้จาก ‘การจำลองการผลิตแบบเติมวัสดุ’
-
Quickparts เปิดตัวบริการงานด่วน ผลิตและส่งให้ภายในวันเดียว!
-
เครื่องพิมพ์ 3 มิติจะมาแทนที่ CNC แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์