ประโยชน์ของการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ หรือ AM – Additive Mnufacturing สำหรับการผลิตเครื่องมือมีอะไรบ้าง? สถาบันเทคโนโลยีการผลิต Fraunhofer (IPT) แห่งเยอรมนี ต้องการตอบคำถามนี้ให้คุณ
ในเดือนพฤษภาคม สถาบันเทคโนโลยีการผลิต Fraunhofer (IPT) แห่งเยอรมนี ร่วมกับ WBA Aachener Werkzeugbau Akademie จะเปิดตัวโครงการกลุ่มในหัวข้อ “การผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุในการผลิตเครื่องมือ” / “Additive Manufacturing in Toolmaking” ในระยะเวลา 7 เดือนของโครงการ บริษัทที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ หรือ AM ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของบรรดาผู้ผลิตเครื่องมือ นอกจากนี้ พันธมิตรโครงการยังได้ร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจรวมถึงรูปแบบธุรกิจที่เป็นไปได้ด้วย

ในระยะแรกของโครงการนี้ พันธมิตรโครงการจะพิจารณาคุณประโยชน์ของการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุสำหรับการผลิตเครื่องมือ โดยใช้การเปรียบเทียบด้วยตัวเลขในรายละเอียดสำคัญ ไม่เพียงแต่ตรวจสอบกระบวนการ เครื่องจักร และวัสดุที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแนวโน้มการใช้งานด้านต่างๆ ด้วย
การวิเคราะห์เทคโนโลยีเป็นเนื้อหาของระยะที่สองของโครงการ: ใน 3 เวิร์กช็อป มีการพัฒนาความเป็นไปได้ในการใช้งานได้จริงของการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุสำหรับบริษัทพันธมิตร ในการนี้จะวิเคราะห์โอกาสและความท้าทายของแอปพลิเคชัน AM และอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อผลประโยชน์ของแนวคิด AM ที่แตกต่างกัน ส่วนในขั้นตอนสุดท้ายของโครงการ พันธมิตรจะได้นำศักยภาพที่คิดวิเคราะห์ได้ไปสู่การปฏิบัติจริง เพื่อจุดประสงค์นี้ พวกเขาจึงได้พัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ซึ่ง AM สามารถตอบโจทย์ให้กับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือได้
ในภาคปฏิบัติของโครงการจะมีการเดินทางไปการเยี่ยมชมบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการรวม AM เข้ากับการผลิตอยู่ในวาระด้วย ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ว่า การบูรณาการที่ประสบความสำเร็จในห่วงโซ่กระบวนการที่มีอยู่ประสบผลสำเร็จได้อย่างไร ในขณะที่ยังคำนึงถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่เชื่อถือได้
โครงการกลุ่มนี้มีจุดมุ่งหมายที่ บริษัทผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ รวมถึงบริษัทที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการผลิตตามคำสั่งและการผลิตชุดเล็ก บริษัทที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้จนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2020
อ้างอิง: https://www.etmm-online.com/additive-manufacturing-in-toolmaking-a-911231/
About The Author
You may also like
-
การผลิตแบบเติมวัสดุสามารถลดการปล่อยคาร์บอนและประหยัดทรัพยากรได้
-
TOYOTA ลูกค้ารายแรกของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Stratasys F3300 เพื่อรองรับการผลิตได้เร็วขึ้น
-
Amaize ซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI รองรับอุตสาหกรรมพลังงาน การบินอวกาศ
-
‘Voxelfill’ การพิมพ์ส่วนประกอบ 3 มิติ ที่มีความแข็งแกร่ง สม่ำเสมอ และน้ำหนักเบา
-
Lehvoss และ Evonik ร่วมกันพัฒนาผงวัสดุสำหรับการพิมพ์ 3 มิติในงานอุตสาหกรรม