Open Heritage

เมื่อ AM ชุบชีวิตโบราณวัตถุ

ตอกย้ำพลังแห่งสัจนิยมในรูปแบบการพิมพ์ 3 มิติ Stratasys (Nasdaq: SSYS) และ Google Arts and Culture กำลังชุบชีวิตสิ่งประดิษฐ์จากยุคโบราณและอนุสาวรีย์ในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกผ่านการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ (หรือ Additive Manufacturing-AM) โดยได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจากเครื่องพิมพ์ 3D Stratasys J750 ถึงเวลานี้นักประวัติศาสตร์สามารถสร้างสถาปัตยกรรมจากยุคโบราณขึ้นมาอีกครั้งได้อย่างเป็นรูปเป็นร่างในรูปแบบดิจิทัล

Google Arts and Culture

Google Arts and Culture ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของ Stratasys สำหรับ Open Heritage Project ออกแบบและสร้างชิ้นส่วนทางประวัติศาสตร์ด้วยต้นแบบที่พิมพ์แบบ 3D multi-material และ multi-color ด้วยเทคโนโลยีนี้โบราณวัตถุเหล่านี้จึงสามารถถูกเก็บรักษาและแบ่งปันได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยไฟล์ที่มีให้ดาวน์โหลดทั่วโลก ผลที่ได้คือการเข้าถึงที่ดียิ่งขึ้น ความเข้าใจในเชิงลึกและเพิ่มคุณค่าให้กับศิลปะวัฒนธรรมเก่าแก่ที่มีอายุยืนนานมาหลายศตวรรษ

จากสิ่งที่จะหาดูได้แต่ในพิพิธภัณฑ์หรือต้องเดินทางไปหา โครงการนี้ทำให้ผู้คนตื่นตาตื่นใจ “ด้วยคลื่นลูกใหม่ของการพิมพ์แบบสามมิติซึ่งมีอยู่ในเวลานี้ เราสามารถให้สีที่ดีกว่า  พื้นผิวคุณภาพสูง และคุณสมบัติเชิงกลที่ทำให้มีความแข็งแรงทนทานยิ่งขึ้น เข้าใกล้ต้นแบบตัวจริงมากที่สุด” Bryan Allen, Design Technologist ของ Google กล่าว

3D printed
3D printed model of the largest free-standing monument in the Americas. Created using 3D scans of plaster casts from the British Museum and 3D printed on the J750. ( Source: Stratasys )

เครื่องพิมพ์ Stratasys J750 3D นำเสนอขอบข่ายของสีที่กว้างที่สุดสำหรับการสร้างแบบจำลองที่มีความสมจริงสูง ด้วยเฉดสีมากกว่าครึ่งล้านสีและวัสดุหลากหลายแบบ ตั้งแต่ของแข็งไปจนถึงวัสดุแบบทึบแสง ยืดหยุ่นได้ไปจนถึงแบบโปร่งใส ด้วยทีมออกแบบที่สามารถปรับ output ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การออกแบบได้ดียิ่งขึ้น

Google Heritage
A 3D printed model of Ayutthaya temple in Thailand, produced using the Stratasys J750.(Source: Stratasys )

หนึ่งในความคิดริเริ่มที่สำคัญสำหรับ Google Arts and Culture คือการฟื้นคืนวัสดุหายากอย่าง ‘ปูนฉาบ’ ขึ้นมาอีกครั้ง ปูนฉาบชนิดนี้ถูกค้นพบครั้งแรกโดย A.P. Maudslay ในช่วงปลายยุค 1800 ในกัวเตมาลา เป็นเวลากว่า 100 ปีแล้วที่มรดกตกทดเหล่านี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่บริติชมิวเซียม แต่ด้วยการใช้เลเซอร์สแกนเนอร์ 3 มิติเพื่อประกอบชิ้นส่วนแต่ละชิ้นขึ้นมาอีกครั้ง นักออกแบบจึงสามารถสร้างวัตถุเหล่านี้ขึ้นใหม่ให้เป็นรูปเป็นร่างได้ด้วยการพิมพ์สามมิติของ Stratasys 3D (สามารถหาดูได้ทางออนไลน์)

ผลงานสำคัญของโครงการมรดกทางวัฒนธรรมของ Google หรือ Google Arts and Culture Open Heritage Project เปิดให้บริการผ่านระบบออนไลน์ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจ backstory และ 3D printed representation ของสถานที่ทางประวัติศาสตร์แต่ละแห่ง โดยผู้เข้าชมสามารถเข้าถึงแบบจำลองได้ที่ Google Arts and Culture (ผ่านกูเกิลได้เลย)

“เมื่อเราพูดคุยกับนักอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม นักประวัติศาสตร์และภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ พวกเขาประหลาดใจอย่างยิ่งกับความสามารถในการประดิษฐ์สิ่งเหล่านี้ด้วยความเที่ยงตรงสูงผ่านเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ” Allen สรุป

 

About The Author