Automation Expo

‘Automation Expo 2019’ ร่วมกับสถาบันไทย-เยอรมันและMitsubishi Electric Factory Automation (Thailand) แถลงพันธกิจมุ่งสู่แกน 4.0

การแถลงข่าวการจัดงาน AUTOMATION EXPO 2019 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2561 โดยบริษัทกรีนเวิร์ล พับลิเคชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดงาน ได้มีการพูดคุยกันในหัวข้อต่างๆ ร่วมกับผู้สนับสนุนและร่วมจัดงานดังกล่าว ซึ่งจะมีขึ้นที่ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินงนุช พัทยา จ.ชลบุรีระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2562

Automation

คุณธีระ กิตติธีรพรชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรีนเวิลด์ พับลิเคชั่น จำกัด ผู้จัดงาน AUTOMATION EXPO 2019 กล่าวกับสื่อมวลชนภายในงานถึงเป้าหมายสำคัญของการจัดงานครั้งนี้ว่า

เราอยากจะให้ผู้ร่วมชมงานได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยี Automation และ Digital Manufacturing อย่างแท้จริง เพราะเราเชื่อว่า ประสบการณ์การได้สัมผัสของจริงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการมีวิสัยทัศน์ว่าจะต้องเริ่มปรับตัวอย่างไร และจะได้กล้าเรียนรู้ที่จะลงทุนในเทคโนโลยีที่ทัดเทียมกับองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้น SME ที่เป็นเป้าหมายของเราในพื้นที่ EEC ต่อไปก็จะไม่ใช่วิสาหกิจขนาดกลางและขยาดย่อมแล้ว แต่ต้องเป็น Smart Management Enterprise

คุณเพิ่มศักดิ์ สุขศิริ ผู้จัดการแผนกเทคโนโลยีอัตโนมัติสถาบันไทยเยอรมัน หนึ่งในองค์กรที่ร่วมจัดงาน ได้กล่าวในหัวข้อ “ภาพรวมการพัฒนาด้านระบบอัตโนมัติของอุตสาหกรรมไทย” ถึงกิจกรรมปี 2562 ของสถาบันไทย-เยอรมันที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงอุตสาหกรรมและพันธกิจที่เข้าร่วมงาน Automation Expo 2019 ว่า หากจะเปรียบเทียบการพัฒนาของระบบอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติ เปรียบเทียบง่ายๆ เป็นเล็ก กลาง ใหญ่ ความแตกต่างในรายละเอียดก็คือ ความใหญ่ของอุตสาหกรรมที่ใช้ระบบอัตโนมัติเปรียบเทียบกับเมื่อ 20 ปีก่อน การมีอุตสาหกรรมยานยน์ในการประกอบรถยนต์ซึ่งมีบริษัทข้ามชาติต่างๆ เข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทย นับเป็นตัว driving สำคัญของระบบอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เมื่อ 20 ปีที่แล้ว นั่นหมายความว่าประเทศไทยเราไม่ได้เพิ่งตั้งไข่ในการทำระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ แต่ต้องยอมรับว่าเป็นองค์กรหรือว่าบริษัทข้ามชาติเข้ามาสร้างและถ่ายทอดเทคโนโลยีในประเทศไทยเรา

“หากแบ่งเป็นกลุ่มบริษัทในเวลานี้ที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติ กลุ่มที่หนึ่งคือ Big Name หรือบริษัทข้ามชาติต่าง ๆ  กลุ่มที่สองคือ Supply Chain กลุ่มนี้เรียกว่าเป็น Medium ได้เพราะว่าเป็นบริษัทที่ตามมากับบริษัทแม่ แรก ๆ อาจจะเป็นบริษัทของต่างชาติเกือบหมด เช่น ญี่ปุ่น และ ยุโรป แต่เนื่องจากว่าเป็นการทำ OEM ทำให้เราสามารถเรียนรู้และทำสิ่งที่เป็น Equipment Part เพื่อตอบสนองการทำระบบยานยนต์ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงๆ อย่างเช่น ปิโตรเคมี หรือ โรงกลั่นน้ำมัน ตรงนี้เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมกลาง ตัวสถานะเก็คือต้อง follow ตามบริษัทแม่ด้วยแรงกดดันที่ว่าต้องมีการพัฒนา คนที่ดำเนินการอยู่มีทั้งที่เป็นต่างชาติและที่เป็นคนไทยที่สามารถทำได้ โดยช่วงแรกอาจจะเป็นลูกจ้าง อาจจะเป็นช่างเทคนิก เป็น engineer ในโรงงาน แต่เมื่อเค้าพร้อมเค้าจะ out walk ออกมาเพื่อเป็นผู้ทำ system integrator ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพใหม่ กลุ่มบริษัทใหม่ กลุ่ม technical company ใหม่ที่กำลังเกิดและถูก drive จากนโยบายภาครัฐ

Automation

กลุ่มสุดท้ายคือ small ซึ่งความจริงขนาดของโรงงานอาจจะไม่ small แต่หมายถึง small ในเชิงของเทคโนโลยี คือกลุ่มของการทำเกษตรแปรรูป ซึ่งภาครัฐไม่ลืมว่านี่คือกลุ่มรากหญ้าของประเทศไทยที่ต้อง drive ในเชิงของพันธกิจของกระทรวงฯ คือ drive ในเรื่องของระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ บางท่านอาจจะเรียกว่าเป็น AR- Automation & Robotics ถึงแม้ว่าในกลุ่มนี้จะไม่ได้ใช้หุ่นยนต์ ไม่ได้ซื้อหุ่นยนต์มาตั้งในโรงสีข้าว ในโรงแป้งมัน แต่ในนั้นก็มีเครื่องจักร โรงสีข้าวในปัจจุบันมีเครื่องยิงสี ยิงเมล็ดข้าว คือ โรงสีข้าวที่อยากจะอัพเกรดตัวเองให้เป็น Premium Grade Products ก็จะมีเครื่องประเภทนี้ มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อจะยิงเอาเม็ดข้าวที่มีตำหนิออกไป อัพเกรด products ของตัวเองให้เป็น premium grade”

เพราะฉะนั้นเมื่อจัดเรียงลำดับของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์อย่างนี้ได้แล้ว ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องผลักดันและสนับสนุนให้ออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งก็คือโครงการต่าง ๆ ที่มีงบประมาณรองรับ แต่ยังขาดความคล่องเพราะความขลุกขลักในเรื่องของระบบ ดังนั้นจึงต้องมีองค์กรที่เหมือนเป็นเอกชนแต่เป็นบริษัทลูกของกระทรวงฯ ดำเนินงานตามที่กระทรวงมอบหมาย

ตัวอย่างกิจกรรมที่กระทรวงมอบหมายให้สถาบันไทย-เยอรมันดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวของกับงานที่ทางสถาบันฯ เข้าไปร่วมกับ Automation Expo ในปีนี้ เป็นกิจกรรมในการพัฒนาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ให้กับผู้ประกอบการทั้ง 3 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น โดยแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ

กิจกรรมที่หนึ่งคือ การสร้างเครื่องต้นแบบ คุณเพิ่มศักดิ์กล่าวว่า “เมื่อก่อนเราอาจจะเรียกว่าการทำ R&D แต่เพราะทางกระทรวงเองหรือราชการเองก็ต้องปรับตัวว่า หากมัวแต่ทำรีเสิร์ชขึ้นหิ้งแล้วเมื่อไหร่มันจะเกิดขึ้นจริง จึงปรับตัวเองว่าไม่ทำรีเสิร์ชแล้ว กิจกรรมสร้างเครื่องต้นแบบหมายความว่า ตกร่องปล่องชิ้นกับทั้งสองฝ่าย เมื่อกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมแล้วตามที่กล่าวมาข้างต้น โรงใหญ่โรงกลางเค้าพร้อมจะทำ AR แล้ว มีความตั้งใจจะลงทุนในการทำ AR มีความต้องการในการซื้อ Equipment ซึ่งก็จะเป็น Parties ของพวกเราในการทำ Automation Expo เพื่อให้เกิดความมั่นใจถึงความสำเร็จในการทำโมดิฟายเครื่องหรือระบบอัตโนมัตินั้นๆ ในโรงงาน ก็จะมีการร่วมกันนำผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในด้านต่างๆ ทั้งจากสถาบันไทย-เยอรมันและจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศมาร่วมกัน”

ทั้งนี้ โครงการต้นแบบจะเป็นการร่วมกันกับผู้ประกอบการที่มีความพร้อม ตั้งไว้แล้ว มีนโยบายชัดเจนแล้วที่จะลงทุนในการสร้างหรือผลิตระบบอัตโนมัติในโรงงานของตัวเอง เพราะสำหรับบริษัท Big Name และขนาดกลางได้ตัดสินใจแล้วว่าคุ้มค่า และเกิดความยั่งยืนคือ

ถึงแม้จะเป็นบริษัทข้ามชาติ แต่ 70-80 % ดำเนินการโดยคนไทย ซึ่งอาจ out off ไปสู่กิจกรรมที่สองซึ่งเป็นความคาดหวังของกระทรวงฯ ว่าจะสามารถสร้างอาชีพใหม่ที่เป็นกลุ่มอาชีพ System Integrator เป็น Small Company ทั้งที่จะทำให้กับบริษัทที่ตัวเองเคยอยู่ หรือ ทำให้กับกลุ่มประเทศในอาเซียน

คุณเพิ่มศักดิ์กล่าวว่า “การทำ System Integrator มันไม่ใช่แค่การทำระบบที่ดูดีอย่างเดียว ยังมีเรื่องของการ maintenance การ service remote maintenance ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในบริบทของ AR ทั้งหมด นั่นหมายความว่าบริษัทกลุ่มที่สองสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมที่สองของโครงการก็คือ กิจกรรม Start Up แต่เป็น Pure Start UP สำหรับการทำ System Integrator Company แน่นอนว่าจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่สาม คือการสร้างบุคคลากร การได้รับการสนับสนุนในเรื่องของการบ่มเพาะ การเป็นผู้ประกอบการเรื่องของเทคโนโลยีรายรอบ หรือ information รายรอบ ที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของ Engineering ส่วนกิจกรรมที่สามก็คือ กิจกรรมพัฒนาบุคลากร ซึ่งเมื่อก่อนอาจจะคิดถึงแต่การอบรม แต่เมื่อมีความเห็นว่า อบรมไปก็ไม่ได้อะไร ก็ต้องวางโปรเจ็ค หรือ ตั้งโปรเจ็ค คือมีการจัดสรรงบประมาณในการวางโปรเจ็ค ไม่เสร็จก็ไม่จบ ขึ้นอยู่กับความตั้งใจ และมีการตรวจสอบประเมินว่า Project on Table นั้นสำเร็จหรือไม่”

Automation Expo

ด้านคุณปฤณวัชร ปานสิงห์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบริษัท Mitsubishi Electric Factory Automation (Thailand) Co., Ltd. หนึ่งในผู้สนับสนุนการจัดงาน Automation Expo กล่าวในหัวข้อ “Connected Industry แนวทางความร่วมมือของธุรกิจญี่ปุ่นและไทย” ว่าการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ไวขึ้นทำให้บริษัทต้องเข้ามาสนับสนุนเองเพราะการใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูงในการถ่ายทอดเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการ หรือ การพัฒนาบุคคลากร ในฐานะผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี แนวคิดของผู้จัดงานสอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท ซึ่งเน้นที่การถ่ายทอดเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการจากส่วนกลางลงไปรอบนอกในเขตอุตสาหกรรมสำคัญอย่าง EEC เพื่อการเข้าถึงได้ง่าย โดยในงานนี้สิ่งที่บริษัทอยากโชว์และอยากจะเน้นจริงๆ ก็คือ core ของอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งก็คือ connectivity คือการเชื่อมต่อได้ทุกอย่างเพื่อจะดึงข้อมูลมาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริหารจัดการ

“เทคโนโลยีที่จะนำไปวางในปีนี้จึงอยากเน้นเลยว่าเป็น Platform ไม่ได้เป็น Products ถามว่ามี Robots มั้ย อย่างที่บอกว่า Robot เป็น device ตัวหนึ่ง มันจะต้อง connect ให้เห็น ว่าใน production ใน shop floor มันต้องมี device อะไรบ้าง สิ่งที่เราจะ provide ให้เห็นก็คือ device ทุกประเภท ทั้งที่เป็นมิตซูบิชิและที่ไม่ใช่มิตซูบิชิ

เราอยากให้ผู้ประกอบการเห็นมุมของคำว่า 4.0 จริงๆ ที่มัน connect ทุกอย่างจริง ๆ งานนี้จะพยายาม scope platform ของ 4.0 มาให้เรียนรู้ใกล้ที่สุด และจะเตรียมบุคลากรที่สามารถให้ไอเดียได้และสามารถให้ผู้ประกอบการติดตามต่อเนื่องได้ ไม่ว่าจะปรึกษาเราหรือทีมงานของเราหรือแม้กระทั่งพันธมิตรที่เรามี”

“เราพยายามจะเคลื่อนย้ายเทคโนโนโลยีหรือ concept ไปวางไว้ใกล้ที่สุด และจะมีข้อมูลมากกว่านั้น มากกว่า showcase ที่จะนำไปวางก็คือ งานอื่นๆ ที่ได้มีการสนับสนุนภายใต้โครงการไทยแลนด์ 4.0 และ EEC Project เนื่องจากเรา collaborate หลายส่วนงานในเรื่องของการ transform รวมทั้งในการพัฒนาบุคลากรด้วยจึงอยากเชิญชวนให้มาร่วมงานกันในครั้งนี้”

About The Author