งานแสดงเทคโนโลยีและโซลูชันระบบอัตโนมัติที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกครั้งที่ 2 ปีนี้พบกับสินค้าสำหรับระบบอัตโนมัติ (Automation) มากมาย อาทิ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม อุปกรณ์ออโตเมชัน ระบบการควบคุมการผลิต-แรงงาน ระบบคลังสินค้า บาร์โค้ด จากซัพพลายเออร์ชั้นนำกว่า 80 รายที่นำไปจัดแสดงเต็มพื้นที่กว่า 5,000 ตร.ม. การสัมมนาฟรี 45 หัวข้อจากวิทยากรชั้นนำของเมืองไทย และการสาธิตเชิงปฏิบัติการของระบบการผลิตแบบดิจิทัล เตรียมพร้อมยกระดับสู่ SMART FACTORY โดยงาน Automation Expo จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินงนุช พัทยา จ.ชลบุรี
คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสายงานส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรม กล่าวถึงระบบอัตโนมัติ (Automation) ซึ่งจะมีผลมากยิ่งขึ้นต่อภาคอุตสาหกรรมในอนาคตว่า “การเกิด Disruptive Technology ในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว เพิ่มประสิทธิภาพในภาคการผลิตและพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนำนวัตกรรมที่ทันสมัย เช่น ระบบอัติโนมัติ (Automation) เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต พร้อมให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) นำเทคโนโลยีด้านสารสนเทศมาช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ธุรกิจก้าวผ่านวิกฤตและเกิดความยั่งยืนได้”
ทั้งนี้ จากผลการสำรวจ CEO Survey จากนิด้าโพล” ร่วมกับ “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” (ส.อ.ท.) ล่าสุดระบุว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจอีอีซีจะเป็นตัวชูโรงดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ถึง 64.55% ฟันธงว่าปัจจัยที่ส่งผลดึงดูดการลงทุนทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจากนานาชาติเข้ามาในไทย คือ ความคืบหน้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐที่เข้าสู่ช่วงการก่อสร้างมากขึ้น ส่วนแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยในปี 2562 คือ นโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอภิมหาโปรเจกที่รัฐบาลตั้งใจจะใช้เป็นแรงดึงดูดเม็ดเงินลงทุนและเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ โดยขณะนี้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้อนุมัติแผนปฏิบัติการ 8 แผนงาน ประกอบด้วย แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ แผนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือสัตหีบ และบริหารโลจิสติกส์ต่อเนื่อง, แผนการพัฒนา 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย, แผนการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว, การพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจ และศูนย์กลางการเงิน, แผนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา วิจัย และเทคโนโลยี, แผนการพัฒนาเมืองใหม่ และชุมชน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังได้กำหนดโครงการจำเป็นและเร่งด่วนขึ้นมา (ต้องเร่งทำก่อน) เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เป็นเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 และโครงการรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ รวมถึงการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซีไอ และการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ อีอีซีดี ฯลฯ
อย่างไรก็ดี ยังมีการรับรู้ที่ไม่ถูกต้องนักเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติและอีอีซี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กหรือ SME นั่นคือ บางรายคิดว่านี่เป็นเฉพาะเรื่องของธุรกิจในอีอีซีที่จะได้รับผล บางรายคิดว่าการลงทุนหรือการปรับตัวเป็นเรื่องของ Large Enterprise การลงทุนคือต้องซื้อหุ่นยนต์ราคาหลายล้านโดยไม่รู้จะคืนทุนเมื่อใด หลายรายรอลอกสูตรสำเร็จจากคู่แข่ง หรือหนักหน่อยก็เพียงแต่เฝ้ารอว่าเมื่อไหร่เศรษฐกิจจะดีขึ้น จะมีออเดอร์ใหม่ ๆ เข้ามาจากต่างประเทศหรือโครงการขนาดใหญ่ ฯลฯ
SME ไทยวันนี้จะมัวแต่รอไม่ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในอีอีซีหรือไม่ จะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันระหว่างประเทศหรือยัง แนวคิด Industry 4.0 ของเยอรมนีหรือ Connected Industry ของญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป การปรับตัวไม่ใช่แค่เรื่องหุ่นยนต์และสามารถเริ่มได้เร็วกว่าที่คิด
สำหรับการปรับตัวของ SME ไทยที่เราอยากเห็นอาจเป็นได้ด้วยแรงผลักดันต่าง ๆ เช่น การตลาด เทคโนโลยี หรือประสิทธิภาพ
ด้านการตลาด คือให้เริ่มก้าวแรกของการหลุดจากวงจร OEM ให้เร็วที่สุด จะไปในทาง ODM หรือ OBM ก็ได้ ขอแค่เริ่มก้าวแรกเดี๋ยวหนทางจะเกิดแน่นอน ขอเพียงอดทนและให้เวลากับมัน การเดินทางนี้ต้องเสาอากาศกว้างไกล รู้จักทั้งคู่แข่ง คู่ค้า ลูกค้า และหน่วยงานวิจัยสนับสนุนต่าง ๆ ให้มาก ก็จะช่วยลดภาระหรือความเสี่ยงในการลงทุนด้านการพัฒนาสินค้าด้วยตัวเอง
ด้านเทคโนโลยี ปฏิเสธไม่ได้ว่าการผลิตในยุคใหม่นี้บางอย่างต้องลงทุนเทคโนโลยีจริง ๆ เช่น การผลิตสินค้าที่ precision สูงมาก ๆ จนเครื่องจักรเดิมไม่อาจรองรับหรือทำมาตรฐานได้ไม่สูงพอ ไปจนถึงระบบการผลิตที่เครื่องจักรเดิมทำไม่ได้เลย การเดินทางนี้อาจเสี่ยงหน่อยเพราะต้องอาศัยความเร็ว แต่ก็เป็น high-risk high-return เพราะมีโอกาสกำไรและสร้างความได้เปรียบแบบ first-comer advantage
ด้านประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่ควรตัดสินใจลงทุนได้ง่ายที่สุด ซึ่งที่จริงผู้ประกอบการไทยหลายรายทำมาตลอด โดยเฉพาะ OEM ที่ส่งงานลูกค้าต่างประเทศ เพราะต้องควบคุมต้นทุนให้แข่งขันได้ แต่เมื่อคุมไปได้แล้วครั้งหนึ่งก็ยังไม่พอยังโดนกดลงอีกทุกปี ๆ แต่สำหรับ SME แทบจะยังไม่มีการปรับใช้วิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดของเสียในการผลิตเลย ยังอาศัยมนุษย์ในงานที่มนุษย์เองก็มีขีดจำกัดหรือใช้นโยบายรัดเข็มขัดเพียงอย่างเดียว องค์ความรู้ที่เป็นโมเดลการจัดการด้านประสิทธิภาพนั้นมีมานานแล้วและมีอยู่มากมาย เช่นเรื่องเกี่ยวกับ Lean ซึ่ง SME ไทยต้องนำมาใช้อย่างเป็นระบบเสียที แม้เราจะเล็กแต่ต้องเป็นเล็กพริกขี้หนู SME จะไม่ได้หมายถึงแค่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่ต้องเป็น Smart Management Enterprise
ผู้ประกอบการต้องลองศึกษาและเลือกว่าประสิทธิภาพด้านใดที่จำเป็นต่อกิจการ เช่น เลือกว่าต้องการลดของเสียจากการผลิต ลดเวลาในคลังสินค้าหรือการลำเลียง ลดความเสี่ยงจากการ turnover ของคนงาน ลดพลังงาน หรือเลือกเพิ่มความสามารถในการ monitor การผลิตแบบ real time ฯลฯ แง่มุมเหล่านี้สามารถเริ่มได้ไม่ยาก ลงทุนไม่มาก อาจคืนทุนได้ในระยะกลางและคุ้มค่าในระยะยาว
ขอย้ำว่าผู้ประกอบการไทยต้องเริ่มเรียนรู้ ลงทุนเวลากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เมื่อเข้าใจแล้วต้องกล้าลงทุน อย่ารอให้ชัวร์ 100% เพราะคู่แข่งจะแซงไปหมด
สุดท้าย คุณเกรียงไกรได้กล่าวถึงงาน AUTOMATION EXPO ว่ามีกลยุทธ์ที่น่าสนใจ เลือก automation technology เป็น core ของการจัดงาน ซึ่งยังสามารถต่อยอดได้อีกหลายมิติ อีกทั้งเริ่มต้นด้วยการจับพื้นที่ใหม่ที่อยู่ในกระแส EEC ซึ่งแม้จะไม่ใช่ center เหมือนในกรุงเทพฯ แต่ด้วยเป้าหมายที่อยากพัฒนา SME ทั่วประเทศก็นับเป็นการเริ่มต้นที่น่าชื่นชม และหวังว่าจะขยายการจัดงานได้ทั้งขนาดและปริมาณในอนาคต เพื่อประเทศไทยเป็นศูนย์กลางระบบอัตโนมัติได้จริง ๆ ในวันหน้า วันนี้เริ่มจากเป็นผู้ใช้ที่เชี่ยวชาญกันก่อน
คุณธีระ กิตติธีรพรชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรีนเวิลด์ พับลิเคชั่น จำกัด ผู้จัดงาน AUTOMATION EXPO 2019 เผยถึงคอนเซปต์การจัดงานครั้งนี้ว่า บริษัทฯ ยังคงเห็นถึงโอกาสการเติบโตอีกมหาศาลของเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องหุ่นยนต์เท่านั้น แต่ลงลึกไปในเรื่องการปรับสายการผลิตให้ Lean มีประสิทธิภาพ มุ่งเผยแพร่องค์ความรู้เชิงประยุกต์ให้แก่ผู้ประกอบการและ System Integrators ที่จะหนุนประเทศไทยให้ต่อยอดจากการเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีสู่การพัฒนาเทคโนโลยี
“เราศึกษาเรื่อง Automation Fair ในประเทศที่พัฒนาแล้ว พบว่ามันเป็นเหมือนแหล่งรวม System Integrators ที่มาพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ มันไม่ใช่แค่เรื่องหุ่นยนต์หรือเป็นงานแสดงสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่เทคโนโลยีของชิ้นส่วนเครื่องมือหรือเครื่องจักรนั้นถูกนำเสนอในรูปแบบของ solutions ใหม่ ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสายการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ”
ผู้ประกอบการมองหา Contents ที่ใช่
งาน Automation Expo มีจุดเด่นแตกต่างจากงานแสดงสินค้าทั่วไป เราบริหารจัดการ Database Marketing เพื่อศึกษาความต้องการและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นรายคนรายบริษัท ทำให้เราจับคู่ความต้องการด้านสินค้าและหัวข้อความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เรายังนำเสนอระบบ interactive registration ที่ผู้ชมงานสามารถใช้เป็น electronic business card ได้สะดวกกว่าเคย นอกจากนี้ยังใช้ track การเช็คอินเข้าชมจุดต่าง ๆ ในงาน จึงสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ทั้งผู้ชมงานและผู้แสดงสินค้า แนวคิด Contents x Database Marketing ของกรีนเวิลด์ฯ จึงทำให้ผู้ร่วมงานอย่างมีความมุ่งหมายทีชัดเจนคาดหวังผลลัพธ์ได้
“การที่เราเริ่มต้นในพื้นที่เฉพาะ และจับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงทั้งผู้แสดงสินค้าและผู้ชมงาน แม้จะไม่มีปริมาณคนมากมาย แต่ทำให้เราโฟกัสการเข้าถึง insight ของแต่ละรายได้อย่างละเอียด ซึ่งแนวทางเหล่านี้เป็นผลมาจากการจัด Business Matching Event และการผลิตสื่ออุตสาหกรรมสิบกว่าปีที่ผ่านมา วงการ B2B อาจไม่หวือหวาเท่า B2C แต่ก็มีขนาดทางเศรษฐกิจที่ใหญ่มหาศาลมาก”
ยังปักหลัก EEC เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ Showcase ใหม่ ๆ
เรายังอยากนำเอาเทคโนโลยีไปนำเสนอให้ใกล้กับผู้ประกอบการหรือแหล่งอุตสาหกรรมในต่างจังหวัด จากข้อมูลที่ผ่านมาเราพบว่ากลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจอย่างยิ่งกับการจัดงานในพื้นที่ เพราะแม้วันนี้การเดินทางจะสะดวกขึ้นประกอบกับช่องทางการสื่อสารออนไลน์ก็เร็วขึ้น แต่การได้สัมผัสได้พูดคุยต่อหน้ายังมีความสำคัญต่อการสร้างแรงบันดาลใจและการตัดสินใจ ทั้งนี้ เรายังเป็นผู้นำสื่อออนไลน์ด้านอุตสาหกรรมที่มีการผลิต contents และรีวิวต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตมาโดยตลอดจึงสามารถวัด feedback และตอบสนองความสนใจของนักอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันเวบไซต์ mmthailand.com (Modern Manufacturing) มี traffic เป็นอันดับหนึ่งด้วยยอด pageview กว่า 300,000 views/เดือน และมี SEO ที่ดีมาก ๆ (bounce rate ไม่เกิน 4%)
“สื่อออนไลน์จะไม่เข้ามาแทนที่สื่ออีเวนท์ จะเห็นได้ว่าสื่อออนไลน์พยายามพัฒนาเทคโนโลยีที่จำลองประสบการณ์ของสื่ออีเวนท์หรือ human touch ให้สมจริงที่สุดต่างหาก ดังนั้น กรีนเวิลด์จึงมุ่งพัฒนา Omni channel คือผสาน Online-to-offline ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยในงาน Automation Expo 2019 ครั้งนี้ เราจัดเตรียม Showcase ดี ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์และวิสัยทัศน์แก่ผู้ประกอบการ เรากำลังจะได้ระบบ warehouse จากบริษัทระดับโลกมาจำลองให้เห็นการทำงานการเคลื่อนไหวแบบเหมือนจริง และไฮไลท์ของเราคือโซน iN-EXPERIENCE ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ ผู้จัดการโรงงาน วิศวกร ได้สัมผัสประสบการณ์และเห็นภาพของการประยุกต์ใช้ Automation และ Digital Manufacturing ในส่วนต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมแบบบูรณาการ ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต การควบคุม การซ่อมบำรุง การฝึกอบรม ระบบคลังสินค้าอัจฉริยะ ที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพได้จริง”
เดินหน้าพัฒนา Marketplace & Media Platform สินค้าอุตสาหกรรม
“ในแพลตฟอร์มของเรา นักอุตสาหกรรมจะได้รับความรู้ที่ตรงความต้องการ เข้าถึงเทคโนโลยีที่ใช้ได้จริง กลุ่ม suppliers ก็สามารถจำหน่ายเครื่องมือเครื่องจักรอุตสาหกรรมได้อย่างตรงเป้ารวดเร็ว เป็นวงจรคุณค่าแบบ win-win-win เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมคงปฏิเสธการลงทุนใหม่ ๆ ไม่ได้ สำหรับในงาน Automation Expo 2019 นี้ เราเป็นผู้จัดรายแรกที่กล้าเสนอ แคมเปญ Cash Back สำหรับการสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมสูงสุดถึง 2% ที่ผ่านมาเราเข้าใจดีว่าสินค้าสำหรับโรงงานหรือเครื่องจักรต้องอาศัยเวลาในการตัดสินใจ แคมเปญนี้จึงครอบคลุมตั้งแต่ช่วงก่อนงาน-จนถึงหลังงานประมาณ 4 เดือน นี่เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ฝั่ง Marketing ที่เราทำเพื่อกระตุ้นการซื้อ-ขาย และคืนกำไรแก่ผู้ประกอบการ”
สุดท้ายนี้จึงอยากเชิญชวนผู้ประกอบการ วิศวกร Start-up ในพื้นที่ EEC และจังหวัดใกล้เคียง ร่วมเข้าชมเทคโนโลยีและงานสัมมนาดี ๆ ที่ให้ความรู้ด้าน Automation การลงทุน และเพิ่มผลผลิต เรายังคงมีสัมมนา FREE ที่มีการปรับเสริมจากปีที่ผ่านมากว่า 45 หัวข้อจากกูรูชั้นนำด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทย อาทิ สถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ฯลฯ
สามารถติดตามและลงทะเบียนได้ทาง www.automation-expo.asia
You may also like
-
Protect your Tools: การเคลือบผิวช่วยป้องกันและดูแลรักษาเครื่องมือ
-
Carbon Busters ด้วยแนวคิดลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์จากเครื่องชงกาแฟ
-
เปิดแล้ว มหกรรมการผลิตครั้งยิ่งใหญ่ ครบครันที่สุด “Manufacturing Expo 2022” ตื่นตาตื่นใจกับนวัตกรรมล้ำๆ ของเครื่องจักรอุตสาหกรรม 9 งานในมหกรรมเดียว
-
PepsiCo ค้นพบนวัตกรรมทางเลือกใหม่ แทนที่เครื่องมือโลหะสุดแพง
-
AIS Business ก้าวล้ำนำการใช้เทคโนโลยี 5G สำหรับภาคธุรกิจไทยด้วยการผสานความร่วมมือ ดีป้า สร้างศูนย์กลางนวัตกรรมและทดสอบ 5G แห่งแรกที่ EEC