Industry4.0

‘Industry 4.0: Implement it!’ / ‘อุตสาหกรรม 4.0: ใช้มัน!’

คำว่า Industry 4.0 ถูกนำมาใช้ทั่วทั้งภาคการผลิตตั้งแต่ปี 2011 กล่าวอีกแบบก็คือ สิ่งที่เรียกว่า ‘การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4’ ก็คือวิธีการสร้างผลกำไรให้กับบริษัทผู้ผลิตต่างๆ ผ่านเครือข่ายแบบดิจิทัลนั่นเอง

Industry 4.0 ยังหมายถึงคำคุณศัพท์ทั้งในภาษาไทย (ที่พอจะสรรหามาอธิบายได้) หรือคำทับศัพท์ในภาษาอังกฤษเหล่านี้ คือ real-time, อัจฉริยะ (intelligent) เครือข่ายของผู้คนทั้งแนวตั้งและแนวนอน เครื่องจักรกล วัตถุ และระบบของการสื่อสารและข้อมูล จุดมุ่งหมายคือการควบคุมระบบที่ซับซ้อน (ยิ่งใหญ่ มากมาย มหาศาล) ในขณะเดียวกันก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ

เมื่อเทียบกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งก่อน ซึ่งเกิดขึ้นจากการพัฒนาเพิ่มและการใช้เครื่องจักรในการผลิต การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ได้รับการประกาศโดยรัฐบาลเยอรมันในฐานะโครงการยุทธศาสตร์สำหรับอนาคตประการหนึ่ง (หรือ a strategic project for the future) เริ่มแรกบริษัทผู้ผลิตต่างลังเลที่จะยอมรับ แต่เวลานี้มันคือสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธในวงกว้าง ในเยอรมนี 80% ของบริษัทผู้ผลิตทั้งหมดเห็นว่า Industry 4.0 มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์และ 89% คาดว่า มันจะมีความสำคัญเชิงกลยุทธ์มากยิ่งขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตาม 45% ของบริษัทเหล่านี้ใช้โซลูชัน Industry 4.0 เป็นครั้งคราว ในขณะที่อีก 20% วางแผนที่จะริเริ่มใช้โซลูชันดังกล่าว การปฏิวัติเริ่มขึ้นแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แน่นอนว่า สาเหตุหลักก็คือการขาดโครงสร้างและนโยบายขององค์กร รวมถึงต้นทุนการลงทุนและการพัฒนาที่สูงนั่นเอง

การศึกษาดังกล่าวได้รับแนวคิดและนำเสนอโดยฝ่ายพัฒนาองค์กร (Corporate Development Department :CDD) ในชื่อ “Industry 4.0: Implement it!” หนังสือคู่มือเชิงปฏิบัติการ แปลความได้ว่า “อุตสาหกรรม 4.0: ใช้มัน! นี่คือคำแนะนำ” ที่ส่งทั้งแรงกระตุ้นและแรงกระเพื่อม พร้อมให้คำแนะนำในหัวข้อนี้ คือข้อเสนอแนะที่ทำในรูปแบบของแนวคิด ว่าด้วยแนวปฏิบัติการและการบูรณาการอุตสาหกรรม 4.0 โดยรวม สำหรับการนำไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ นำเสนอทั้งโครงสร้างองค์กรที่เป็นรูปธรรมรวมถึงกระบวนการและเครื่องมือ เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาให้เป็นรูปธรรมที่สุด (สามารถนำไปใช้ได้จริง) เท่าที่จะเป็นไปได้ มีการทดลองใช้จริงกับตัวอย่างกรณีศึกษา 2 กรณีศึกษา โดยใช้เนื้อหาดังกล่าวนำไปสู่การปฏิบัติ

จากการศึกษานี้ CDD กำลังตอบโต้กับบรรดาบริษัทผู้ผลิตต่างๆ ที่ยังขาดแคลนแนวคิดด้านการดำเนินงาน เพื่อที่ Industry 4.0 จะเป็นที่ยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้จริงกับทั้งองค์กรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ แนวทางดังกล่าวยังสามารถนำใช้ได้กับงานข้ามภาคส่วน cross-sector implementation ของโซลูชัน Industry 4.0 โดยการศึกษานี้ได้เปรียบเทียบการพัฒนาและการนำแนวคิดการจัดการแบบหมดจดหรือ Lean-management ไปใช้ในช่วงปลายทศวรรษ 1990s ด้วย ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในภาคการผลิต แต่ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่จะนำไปใช้ได้จริง

ผู้เขียนคู่มือ ‘Industry 4.0: Implement it!’ คือ Günther Schuh, Wolfgang Boos, Christoph Kelzenberg, Johan de Lange, Felix Stracke, Jens Helbig, Julian Boshof, Christoph Ebbecke ผู้เผยแพร่คือห้องปฏิบัติการเครื่องมือกล WZL แห่งมหาวิทยาลัย RWTH Aachen, เยอรมนี

 

About The Author