Jonathan Abbis_Cover

Interview:โรงหล่อแห่งอนาคตต้องรับมือกับระบบได้แบบเบ็ดเสร็จ!

ในการสัมภาษณ์ Jonathan Abbis กรรมการผู้จัดการของ Bühler Die Casting ได้แสดงทัศนะที่ชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องของอุตสาหกรรม 4.0 กับโรงหล่อ ด้วยระบบการจัดการที่เรียกว่า cell management ที่ถูกคาดหวังว่าจะเข้ามาช่วยเพิ่มความโปร่งใสให้กับกระบวนการหล่อ – die casting process และช่วยให้การ digitize โรงหล่อประสบความสำเร็จได้ในที่สุด

Industry 4.0 และ Internet of Things ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง สืบเนื่องจากอุตสาหกรรม 4.0 คุณคิดว่าตลาดการหล่อขึ้นรูปในปัจจุบันจะพัฒนาไปในรูปแบบใด

Jonathan Abbis: Industry 4.0 หมายถึง ประสิทธิภาพ เครือข่าย และข้อมูล เช่นเดียวกับในอุตสาหกรรมโรงหล่อ หัวข้อนี้ได้รับการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางและก็กำลังเกิดการปรับตัว เราเห็นว่า การหล่อแบบตาย หรือ die casting ซึ่งเริ่มจะนำระบบอัตโนมัติมาใช้มีโอกาสที่จะพัฒนาและเรียนรู้จากอุตสาหกรรมแถวหน้า (frontline industries) เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ หรืออุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ทุกวันนี้โรงงานสมัยใหม่มากมายเกือบจะเป็นระบบอัตโนมัติแบบเต็มรูปแบบกันแล้ว ตัวอย่างที่ดี อาจเป็น สายการประกอบยานยนต์ที่แทบจะไม่ใช้คนในการทำงานในตารางการทำงานแบบ 24/7

ในทางตรงกันข้าม การหล่อแบบ die casting นั้นมีความเป็น black art มากกว่า ต้องมีการควบคุมกระบวนการอันซับซ้อนของทั้งความร้อนและความดัน ซึ่งต้องใช้ทักษะของผู้ปฏิบัติงาน อีกทั้งแต่ละขั้นตอนก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละโรงหล่อรวมทั้งชิ้นส่วนที่ถูกหล่อด้วย แทนที่จะมุ่งผลักดันให้กระบวนการผลิตเป็นไปในทิศทางเดียวกัน die casting มีแนวโน้มที่จะตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านมากกว่า ก้าวกระโดดครั้งใหญ่สู่อุตสาหกรรม 4.0 และศักยภาพเต็มรูปแบบดิจิทัลจึงยังไม่ได้รับการคิดคำนึงถึงเท่าใดนักจนถึงตอนนี้

โดยเฉพาะการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร (machine-to-machine-communication) รวมทั้งการรวบรวมและการประเมินข้อมูลอย่างชาญฉลาดเป็นศูนย์กลางของการผลิตแบบดิจิทัล มีโอกาสใดบ้างที่จะมีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้

ทุกวันนี้ die casting process ขึ้นอยู่กับทักษะความชำนาญการของนักเทคโนโลยี เราคิดว่า หากจะทำให้กระบวนการหล่อโดยรวมมีความโปร่งใสมากขึ้น เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตทั้งกระบวนการนั้น การโฟกัสไปที่การปรับปรุงหรือพัฒนาเพียงแค่ส่วนประกอบแต่ละส่วนนั้นยังไม่เพียงพอ เราต้องรับมือกับระบบได้แบบเบ็ดเสร็จ แบบด้วยเหตุนี้เราจึงได้ใช้ระบบจัดการเซลล์ (cell management system) หรือ SmartCMS เป็นสมองอันชาญฉลาดสำหรับจัดการ die casting cells ทั้งหมด นี่คือขั้นตอนแรกในการเชื่อมต่อส่วนประกอบและอุปกรณ์ต่อพ่วงในระบบดิจิทัลหนึ่ง ตัวอย่างหนึ่งของข้อดีในข้อเสนอนี้ก็คือ การตรวจสอบย้อนกลับ (tracebility) ทำให้อุตสาหกรรมโรงหล่อเข้าใกล้ข้อกำหนดของ OEM มากขึ้นในการติดตามพารามิเตอร์การผลิตชิ้นส่วนต่างๆ แม้จะเป็นระยะเวลาหลายปีหลังจากผลิตแล้วก็ตาม

We think that for making the die casting process as a whole more transparent and to improve it, it is not enough to focus on improving individual components. We have to tackle the system as a whole.

จะเริ่มที่ไหนดี การแนะนำเทคโนโลยี Industry 4.0 มีความเป็นไปได้สำหรับโรงหล่อขนาดเล็กแค่ไหน

การเข้าสู่ระบบการจัดการเซลล์นั้นมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับโรงหล่อทั้งหมดไม่ว่าจะมีขนาดเท่าใดก็ตาม ขั้นตอนแรกก็คือ Data ที่พร้อมอยู่เสมอ สิ่งแรกที่เป็นไปได้ก็คือการวิเคราะห์ downtime เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการได้มากขึ้นพร้อมไปกับการแยกแยะศักยภาพเพื่อการปรับปรุง เรามั่นใจว่า Industry 4.0 จะมีความสำคัญมากขึ้นในปีหน้าและจะมีแรงกดดันสูงขึ้นในการลงทุน ดังนั้นก้าวแรกในเวลานี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันในอนาคต

Industry 4.0 _Die Casting
Industry 4.0 will get more important within the next years and that there will be a high pressure to invest. (Source: Pixabay)

โรงหล่อบางแห่งยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับบริการบนคลาวด์ในเรื่องของความปลอดภัย นั่นเป็นข้อควรกังวลหรือไม่

เราเข้าใจเรื่องความกังวล นั่นเป็นเหตุผลที่เราร่วมมือกับ Microsoft เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มคลาวด์ของเรา มันจะกำหนดมาตรฐานใหม่ในการรักษาความปลอดภัย การตรวจสอบย้อนกลับ ความโปร่งใสและความพร้อมใช้งานของ Data ในระดับ global scale เมื่อเร็ว ๆ นี้เราได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO / IEC 27001 ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับรองระหว่างประเทศที่เข้มงวดที่สุดในเรื่องความปลอดภัย

แน่นอนว่าอุตสาหกรรมกำลังมุ่งไปข้างหน้า “โรงหล่อแห่งอนาคต” ต้องมีศักยภาพด้านใดเพื่อจะผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากและเติบโตอย่างยั่งยืน

การหาผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะ พร้อมจะทำงานในสภาพแวดล้อมของโรงหล่อที่มีเสียงดังและเสียงรบกวนอยู่ตลอดเวลาเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่อุตสาหกรรมของเราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ปรากฏการณ์ 3D – ก็คือ Dangerous, Dirty และ Demanding เป็นอุปสรรคสำคัญในการสรรหาบุคลากรในทุกที่ทั่วโลก การหาคนที่มีทักษะซึ่งพร้อมจะทำงานตลอดทั้งคืนในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ เพื่อสนับสนุนการผลิตตลอด 24/7 เป็นเรื่องยากจริงๆ วิสัยทัศน์ของเราเกี่ยวกับ Digital Cell สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้

ในขั้นแรกมันจะให้ข้อมูลที่ดีที่สุดแก่บรรดาผู้ปฏิบัติงานและผู้จัดการ เมื่อมีปัญหาที่ต้องการการแทรกแซง ซึ่งหมายรวมถึงคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับ what to do and how to do ลดระดับทักษะและการฝึกอบรมที่คนจำเป็นต้องมี ในอนาคตเรามองเห็นโซลูชัน die casting ที่ช่วยให้การผลิตไร้เศษแบบ 0%, รอบการทำงานน้อยลง 40% และเป็นไปในแบบ 24/7

Jonathan Abbis
Jonathan Abbis is Managing Director of Bühler Die Casting. (Source: Buhler Group)

ABOUT JONATHAN ABBIS

Jonathan Abbis is Managing Director at Bühler Die Casting. With close to 10 years in the company he has a profound understanding of the die casting market and shaped Bühler’s solutions and developments in this area.

 

อ้างอิง: www.spotlightmetal.com

 

About The Author