บทความนี้จาก ETMM ตั้งใจให้ข้อมูลที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับเทคโนโลยีคลังสินค้า รวมถึงให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาขาต่างๆ ทั้ง ประเภทของคลังสินค้าและพื้นที่ของแอพพลิเคชันอีกคณานับ!
กล่าวโดยสรุป: เทคโนโลยีคลังสินค้าเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บและการดำเนินการ/การจัดการเกี่ยวกับสินค้า คือส่วนหนึ่งของการจัดระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ หรือ intralogistics และยังเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิดกับการจัดการวัสดุและเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์
คำจำกัดความในความหมายของ Lagertechnik Becker อธิบายว่า “เทคโนโลยีคลังสินค้าประกอบด้วยการจัดเก็บสินค้า ดังนั้นจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการขนส่งขององค์กร มันทำหน้าที่เป็นส่วนเชื่อมประสานระหว่างการจัดซื้อ/จัดหา การผลิต การจำหน่ายและการจัดการ”
ในฐานะที่เป็นส่วนเชื่อมประสานระหว่างพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของบริษัท เทคโนโลยีคลังสินค้า หรือ Warehouse Technology เป็นสิ่งย้ำเตือนว่ามีการเคลื่อนไหวของวัสดุภายในองค์กร ด้วยความร่วมมือกับการขนถ่ายวัสดุและเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ทำให้ห่วงโซ่อุปทาน หรือ supply chain มีความยั่งยืนและยังเป็นกระบวนการที่มีส่วนสำคัญในการรักษาโครงสร้างและคำสั่งที่ชัดเจนในคลังสินค้า การจัดการคลังสินค้า เช่น การวางแผน การจัดระเบียบ และการควบคุมระบบคลังสินค้าและอุปกรณ์ทางเทคนิคจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบโลจิสติกส์คลังสินค้าอัจฉริยะ

รู้หรือไม่
ในความเป็นจริงเราแต่ละคนล้วนติดต่อกับ warehouse technology ในชีวิตประจำวัน รวมถึงโซลูชันอันละเอียดอ่อน เช่น ชั้นวางและตู้สำหรับใช้ประจำวันในสำนักงานหรือที่บ้าน อย่างไรก็ตาม MM Logistics ใช้คำศัพท์นี้เฉพาะในบริบทของระบบการจัดเก็บข้อมูลและคลังสินค้าในอุตสาหกรรมเท่านั้น
ประเภทของคลังสินค้า
คลังสินค้าใช้ชั้นวางหลากหลายประเภท – เว้นแต่จะเป็นที่จัดเก็บข้อมูลแบบบล็อก (block storage) ในที่นี้คือชั้นวาง 10 รูปแบบที่ถูกใช้มากที่สุดในสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
- ชั้นวางของแบบกว้าง – Wide shelving units ใช้ในคลังสินค้าขนาดใหญ่โดยเฉพาะ เหมาะสำหรับสินค้าขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักเบา
- โฟลว์แร็ค – Flow racks ส่วนใหญ่จะใช้ในธุรกิจการสั่งซื้อทางไปรษณีย์ ตามหลักการของชั้นวางประเภทนี้ สินค้าจะถูกเก็บไว้ที่ด้านหนึ่งของชั้นวางและนำออกจากชั้นวางอีกด้านหนึ่ง
- วางแบบหิ้ง – Shelf racks ที่มีชั้นวางอย่างต่อเนื่อง เหมาะสำหรับการจัดเก็บชิ้นส่วนขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับชั้นวางที่ไม่มีพื้นด้านล่างหรือพื้นตะแกรง แต่ก็มีราคาแพงกว่าเนื่องจากต้องใช้วัสดุมากกว่า มักใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และสิ่งทอหรือในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
- Pallet racks หรือ ชั้นวางสินค้าแบบเลือกหยิบสินค้าได้ ตรงกันข้ามกับชั้นวางแบบ shelving racks Pallet Rackingเป็นชั้นวางสินค้าที่มีการจัดเก็บสินค้าบนพาเลท มักจะติดตั้งตะแกรง หรือ ลูกกรง หรือ รองรับความลึกด้วยขอบพับ มีลักษณะเฟรมที่มั่นคงป้องกันการผลักตก บางรุ่นมี ram protection นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบให้เป็น drive-through racks และสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการทั้งในเรื่องของขนาดและน้ำหนัก-
- System racks สามารถประกอบเป็นระบบ plug-in และปรับให้เข้ากับความต้องการเฉพาะได้ ตัวอย่างเช่น สามารถปรับเปลี่ยนความสูงตามขนาดของสินค้า (โดยเฉพาะสินค้าขนาดใหญ่ๆ) ที่ต้องการจัดเก็บได้
- Cantilever racks ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับสินค้าขนาดใหญ่และหนัก มีแขนรองรับนน้ำหนักยึดติดอยู่กับกรอบของชั้นวางทั้งสองด้านซึ่งสามารถติดตั้งได้ที่ความสูงหลายระดับขึ้นอยู่กับความต้องการ เป็นชั้นวางสินค้าที่ได้รับการออกแบบให้มีลักษณะ ที่เป็นแขนยื่นออกมา เพื่อรองรับสินค้าที่มีขนาดยาว อาทิเช่น ท่อเหล็ก ท่อพลาสติก เหล็กรูปพรรณ หรือไม้ เป็นต้น และสามารถทำได้ 2 แบบ คือ ด้านเดียว และ 2 ด้าน ตามความต้องการของลูกค้า ตามความเหมาะสมของพื้นที่และชิ้นงานที่จะวาง Cantilever สามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 200 – 1,000 กิโลกรัม / ระดับชั้น
- ตามชื่อที่ได้รับการแนะนำ ชั้นวางสินค้าอันตราย หรือ hazardous goods racks ถูกใช้เพื่อจัดเก็บสินค้าอันตราย เช่น พวกสารเคมีต่าง ๆ มักจะติดตั้งระบบสาดน้ำป้องกันพิเศษและบ่อในตัวเพื่อรวบรวมสารที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ สำหรับการจัดเก็บกรด ด่าง และสิ่งที่คล้ายกัน ตามกฎหมายชั้นวางสารอันตรายคือสิ่งที่ต้องมี
- Heavy-duty racking systems การใช้งาน racking system ชนิดนี้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดพิเศษด้านความมั่นคงและความปลอดภัย เพราะเป็นระบบ racking ที่ใช้ในการจัดเก็บสินค้าหนักเป็นตันๆ โดยเฉพาะ จะต้องระมัดระวังเรื่องของนำหนักสิ่งของที่อาจหนักเกินไปแม้เพียงไม่กี่ตันเพราะอาจมีความเสี่ยงแตกหักของชั้นเมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ไม่ว่าในกรณีใดจะต้องคำนึงถึงขีดจำกัดของภาระของสายพานรองรับน้ำหนักเป็นอันดับแรก
- Racking systems คือ ระบบชั้นวางสินค้าที่เชื่อมต่อระหว่างกัน ทำงานด้วยเทคโนโลยีระบบลำเลียงอัตโนมัติ ด้วยวิธีการทางโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาของอุตสาหกรรม 0 ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของคลังสินค้าได้อย่างมาก ทั้งยังประหยัดเวลาและพื้นที่
- Mobile racking systems หรือระบบชั้นแบบเคลื่อนที่มักติดตั้งหรือแขวนตัวจากรางและใช้เพื่อจัดเก็บสินค้าหนัก สามารถย้ายไปมาตามยาวหรือตามขวางได้โดยไม่ต้องออกแรงมาก ทำให้ชั้นวางแบบเคลื่อนที่ได้นี้ประหยัดพื้นที่ อย่างไรก็ตาม การหยิบจับ ซึ่งต้องการโยกย้ายสินค้าเข้า-ออกจากชั้นกลับต้องใช้เวลามากขึ้นเนื่องจากต้องย้ายชั้นวางซ้ำ ๆ

โดยทั่วไป คลังสินค้าหนึ่งๆ ต้องขึ้นอยู่กับ ความมั่นคง ความทนทาน ความยืดหยุ่น เวลาการติดตั้งและความเรียบง่ายรวมถึงตัวเลือกด้านการขยับขยายพื้นที่ที่เป็นไปได้ สิ่งสำคัญมากคือต้องทราบขีดจำกัดในเรื่องของน้ำหนัก เพราะความเสี่ยงกรณีเกิดการยุบตัวหรือพังลงมาของชั้น ซึ่งจะมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการชะงักงันของกระบวนการทำงานและจากความเสียหายต่อสินค้า โดยเฉพาะความเสี่ยงอย่างมากด้านความปลอดภัยและชีวิตของพนักงาน
ข้อควรจดจำ
ในคลังสินค้าต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษกับการปฏิบัติตามกฎจราจร ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสามารถลดลงได้ด้วยการแยกทางเดิน (walkways) และ ทางรถ (driveways) ออกจากกันอย่างเคร่งครัด
บทความที่เกี่ยวข้อง:
Logistics: What is warehouse technology? รู้จักเทคโนโลยีคลังสินค้า (2)
Logistics: What is warehouse technology? รู้จักเทคโนโลยีคลังสินค้า (3)
อ้างอิง:
https://www.etmm-online.com/what-is-warehouse-technology-definitions-and-application-examples-a-854223/
About The Author
You may also like
-
Smart manufacturing and mould-making industries to converge at combined technology showcase next week
-
DigiTech ASEAN Thailand & AI Connect 2024 พบกับโซลูชันเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์กว่า 350 แบรนด์
-
NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
-
SuperSource : VEGAPULS 6X เซนเซอร์วัดระดับแบบต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีเรดาห์แบบพรีเมียม
-
แถลงจัดงาน THECA 2024 ผลักดันประเทศไทยสู่ฐานผลิต PCB ระดับโลก