Siemens จัดแสดงแอปพลิเคชันแบบยั่งยืน เพื่อการผลิตแบบเติมวัสดุสีเขียว

การผลิตสีเขียว (Green Additive Manufacturing) เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ Siemens หยิบยกมานำเสนอในงาน Formnext ปีนี้ ในทุกกระบวนการการผลิตมีการใช้ทรัพยากรทั้งวัสดุและพลังงาน ทุกสิ่งก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้โลกร้อน บริษัทต่าง ๆ จึงมีการลดผลกระทบจากการผลิตโดยการผลิตสีเขียวเพื่อสร้างความยั่งยืนและลดโลกร้อน โดยการเริ่มต้นประหยัด คือ การใช้เทคโนโลยีในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ประสิทธิภาพ ลดการใช้วัสดุลง เพราะวัสดุที่ผลิตมามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การลดวัสดุจะช่วยประหยัดต้นทุนและสร้างความยั่งยืนไปพร้อมกัน วิธีผลิตแบบเติมวัสดุสามารถลดจำนวนชิ้นส่วนประกอบลง ประหยัดเวลาในการประกอบได้ การผลิตชิ้นส่วนที่ต้องใช้งานแทนการจัดเก็บชิ้นส่วนสำรองก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยลดวัสดุลงได้มาก

Formnext คือ งานแสดงสินค้านานาชาติด้านการผลิตแบบเติมวัสดุ ในปีนี้ Siemens สาธิตการผลิตแบบเติมวัสดุที่ยั่งยืนจากกรณีการใช้งานต่าง ๆ Siemens แสดงให้เห็นวิธีการลดการใช้ทรัพยากร การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม

Siemens proves that optimised product design plays an important role in green additive manufacturing.

Siemens พิสูจน์ว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดมีบทบาทสำคัญในการผลิตแบบเติมวัสดุสีเขียว

(ที่มา: Siemens)

โซลูชันกริปเปอร์ของหุ่นยนต์จับยึดที่ใช้ในการผลิตยานยนต์สามารถลดมวลของกริปเปอร์ลงได้ 64 เปอร์เซ็นต์ ด้วยความอิสระในการออกแบบ ระยะของการออกแบบของการผลิตแบบเติมวัสดุ น้ำหนัก และวัสดุที่ต้องใช้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ด้วย ‘NX สำหรับ AM’ Siemens นำเสนอกระบวนการดิจิทัลไร้รอยต่อเพื่อค้นหาการออกแบบที่ดีที่สุดผ่านการปรับเทคโนโลยีให้เหมาะสมที่สุด (Topology Optimization) จากนั้นทดสอบโดยใช้การจำลอง FEM (Finite Element Method Simulation) และเตรียมสำหรับการพิมพ์ นอกจากนี้ ‘Teamcenter Product Cost Management’ และ ‘Product Carbon Footprint Calculator’ ทำให้สามารถปรับได้ทั้งต้นทุนการผลิต และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผลิตภัณฑ์ได้ล่วงหน้าอย่างเหมาะสมที่สุด แต่เดิมกริปเปอร์มีน้ำหนักมากกว่า 58 กก. ซึ่งมีชิ้นส่วนประกอบมากกว่า 660 ชิ้น นอกจากน้ำหนักที่ลดลง ความอิสระในการออกแบบยังลดเวลาประกอบลงได้ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นการลดเวลาที่ต้องใช้ในการประกอบที่ซับซ้อน เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างการออกแบบดั้งเดิมกับการออกแบบในการผลิตแบบเติมวัสดุ ต้นทุนการผลิตลดลงได้ 73 เปอร์เซ็นต์ และ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง 82 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักที่ลดลงทำให้ใช้หุ่นยนต์ที่เล็กลงได้ ส่งผลให้ประหยัดพลังงานได้ 54 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

การผลิตมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นด้วยการใช้พลังงานที่ปรับให้มีความดิจิทัลที่เหมาะสม

กรณีการใช้งานที่ 2 สำหรับการผลิตแบบเติมวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นความร่วมมือกับ Genera ซัพพลายเออร์ระดับโลกด้านเทคโนโลยีการผลิตแบบเติมวัสดุที่ใช้โฟโต้โพลิเมอร์ (โพลิเมอร์เหลวที่กลายเป็นของแข็งเมื่อสัมผัสกับแสง) ร่วมกับ ‘AM Digital Factory Planning Toolbox’ จาก Siemens Advanta การผลิตปลั๊กเชื่อมต่อสเกลใหญ่ถูกจำลองโดยใช้การประมวลผลแสงดิจิทัลด้วย “การผลิตคู่เสมือนดิจิทัล” การวิเคราะห์การใช้พลังงานที่โปร่งใสและแม่นยำของเครื่องพิมพ์ 3 มิติภายใต้สถานะเครื่องจักรต่าง ๆ สามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องรบกวนระบบที่กำลังทำงานอยู่ ด้วยการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้พลังงานน้อยลงระหว่าง 25 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ต่อชิ้นส่วนผลิตมีความเป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเครื่องพิมพ์

การพิมพ์ตามความต้องการและการพิมพ์แบบเติมวัสดุเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

การผลิตแบบเติมวัสดุเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บสินค้าเป็นแบบดิจิทัล สินค้าต่าง ๆ จะถูกผลิตเมื่อมีความต้องการเท่านั้น อยู่ใกล้กับจุดที่ต้องใช้งาน เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นของซัพพลายเชน ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง และลดการขนส่งที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โซลูชันการผลิตแบบเติมวัสดุดิจิทัลของ Siemens ทำให้องค์กรต่าง ๆ ตรวจสอบความถูกต้องและให้การรับรองสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้เข้าไปในคลังที่กำหนดไว้ล่วงหน้า พร้อมสำหรับการสั่งซื้อด้วยการคลิกเพียงปุ่มเดียว Siemens AM Network กำหนดเส้นทางคำขอการผลิตเหล่านี้ไปยังโรงงานผลิตที่เหมาะสมที่สุดเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตทั่วโลกและรับประกันการใช้งานอุปกรณ์ที่สูงขึ้น หลีกเลี่ยงเวลาหยุดทำงานที่ไม่จำเป็น Siemens AM Network ยังอนุญาตให้บริษัทต่าง ๆ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันทางดิจิทัล และปรับการใช้อุปกรณ์การผลิตที่ใช้งานน้อยให้มีความเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการ

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/

บทความอื่น ๆ

About The Author