พารามิเตอร์

ซอฟต์แวร์ Vericut Force ช่วยทีม Mercedes-AMG F1 ลดเวลาการผลิตลงได้ถึง 25%

ในปัจจุบันกระบวนการผลิตสามารถจำลองและคาดการณ์การผลิตได้ โดยมีซอฟต์แวร์ที่สามารถแนะนำในการปรับการผลิตได้อย่างเหมาะสม และลดรอบเวลาในการผลิตให้ได้มากที่สุด ในการตัดเฉือนชิ้นงานนั้น หากอัตราการป้อนสูงเกินไปจะทำให้เครื่องมือตัดสึกหรอไวขึ้น การเปลี่ยนบ่อยก็ทำให้สิ้นเปลือง ในขณะที่ถ้าป้อนช้าเกินไปก็ขาดผลิตภาพ ดังนั้นอัตราการป้อนต้องมีความเหมาะสม โดยสามารถคำนวณจากพารามิเตอร์ที่ใช้ในการตัด ตลอดจนซอฟต์แวร์ที่ดีก็มีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานให้ง่ายขึ้น

หาความสัมพันธ์กระบวนการผลิตได้จาก ‘การจำลองการผลิตแบบเติมวัสดุ’

คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยวิธีเติมวัสดุนั้นขึ้นอยู่กับพารามิเตอร์ที่ตั้งค่าไว้ในการผลิต แต่เดิมการหากระบวนการที่เหมาะสมนั้นใช้วิธีทำการทดลอง (Experiment) ซึ่งกว่าจะเห็นผลลัพธ์ต้องรอให้ชิ้นงานเสร็จเสียก่อน และบอกได้ยากว่าปัจจัยใดที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ แต่ในปัจจุบันด้วยการจำลองกระบวนการผลิตที่ทำได้ด้วยโมเดลในคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถจำลองพารามิเตอร์ต่าง ๆ เพื่อดูสหสัมพันธ์ระหว่างกัน สามารถหาพารามิเตอร์ที่มีความเหมาะสมที่สุดโดยไม่ต้องมีการผลิตจริง นี่คือหนึ่งในความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน

การควบคุมความดันสารหล่อเย็น นำไปสู่การประหยัดพลังงานมหาศาล

โอกาสในการประหยัดพลังงานมีอยู่ทุกหนแห่ง อยู่ในพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของกระบวนการผลิตที่ใช้ โดยปริมาณการใช้พลังงานขึ้นอยู่กับพารามิเตอร์ที่ตั้งค่าไว้ ถ้าสามารถลดปริมาณการใช้ลงได้โดยที่ไม่กระทบกับฟังก์ชันการทำงาน ย่อมเป็นการประหยัดพลังงานโดยตรง แนวคิดนี้เป็นแนวคิดเดียวกับการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) ที่มีหลักการ คือ การใช้ให้น้อยที่สุด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เท่าเดิม โดยในปัจจุบันมีการจำลอง