“Transforming Plastics Industry via Circular Economy Concept”
สืบเนื่องจากนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมและสนับสนุนการนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ตามแนวทางการ พัฒนาประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12 (พ.ศ. 2560-2564) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก การปรับแผนการพัฒนาประเทศโดยหันมาให้ความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ภาคอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรรมชาติไปพร้อม ๆ กัน การปรับตัวในภาคการผลิตให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงเป็นเรื่องที่ต้องตื่นตัวอย่างมาก เพื่อเตรียมการรับมือและปรับเปลี่ยนระบบความคิด ระบบการผลิต การลดของเสีย และการนำผลผลิตกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดการผลิตยุคใหม่ที่คำนึงถึงทั้งกระบวนการผลิต
สถาบันพลาสติกร่วมกับบริษัทรี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด ผู้นำด้านการจัดงานแสดงสินค้าแห่งอาเซียนเล็งเห็นถึงความสำคัญในการปฎิรูปภาคอุตสาหกรรมพลาสติก จึงมีกำหนดจัดงานพลาสติก ฟอรั่ม 2019 ในหัวข้อ “พลิกวิกฤต อุตสาหกรรมพลาสติก ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน” เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบถึงกรอบ แนวคิด แนวทางและแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติก การบริหารจัดการในโรงงาน เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการผลิตตามแนวคิดการผลิตยุคใหม่และนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน สนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างแท้จริง
ในงานนี้เราได้เห็นถึงความสำคัญของพลาสติก ผู้ร้ายที่ดูใจดี เพราะมีผู้สนใจทั้งผู้ประกอบการและผู้บริหารเข้าร่วมฟังแน่นขนัดห้องบอลรูม ชั้น 7 โรงแรมแลนด์มาร์คจนต้องมีเก้าอี้เสริม
ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวเน้นถึงความสำคัญของการปฏิรูปอุตสาหกรรมพลาสติก พร้อมชี้ผลกระทบจากการผลิตแบบดั้งเดิมในแนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) คือ ‘ถลุง’ (take) ‘ผลิต’ (make) และ ‘ทิ้ง’ (dispose) เพื่อกระตุ้นผู้ประกอบการเปิดใจและเปลี่ยนถ่าย (Transform) สู่เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ทั้งนี้ สถาบันฯ พร้อมให้ความรู้ การจัดแสดง Showcase นวัตกรรมสร้างมูลค่าสินค้าพลาสติกในงาน อินเตอร์พลาส ไทยแลนด์ 2019
Single-Use Plastic: A roadmap for sustainability
หัวข้อที่ Toolmakers สนใจและอยากนำเสนอในที่นี้ก็คือเรื่องของ Single-Use Plastic ในภาคการผลิต ที่เริ่มจะมีการรณรงค์ให้เลิกผลิตกันมาสักพักแล้ว นอกเหนือจากการรณรงค์สร้างสามัญสำนึกให้คนเลิกใช้ แบน ไปจนถึงแคมเปญต่างๆ นานาของทุกภาคส่วน ที่พากัน ‘เท’ พลาสติกมักง่าย (ที่ยังไม่ทันได้ทำอะไรก็ถูกทิ้งเสียแล้ว) ชนิดนี้ มันจึงถูกจัดเป็นแคมเปญหลัก ที่หากแบนการใช้และการผลิตได้สำเร็จ ก็จะเป็นหนทางหนึ่งสู่ความยั่งยืน เพราะแท้แล้วมันคือตัวก่อปัญหาขยะที่หนักหนาสาหัสที่สุดในเวลานี้ ไม่ว่ามันจะมาในภาพลักษณ์ที่ดูเป็นมิตรเพียงใดก็ตาม
“พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single – Use Plastic) เป็นพลาสติกที่มีอายุการใช้งานแสนสั้น สั้นจนน่าใจหาย ชนิดแกะออกมาปุ๊บทิ้งปั๊บ แต่ใช้ระยะเวลาย่อยสลายนานหลายชั่วอายุคน ในชีวิตประจำวันของเรามีพลาสติกประเภทนี้อยู่เยอะมาก ทั้งถุงหูหิ้ว หรือ ถุงก๊อบแก๊บ แก้วชา/กาแฟ ขวดน้ำ กล่องพลาสติก ฯลฯ”
ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าใน 1 วัน คุณทำให้พลาสติกประเภทนี้กลายเป็นขยะจำนวนกี่ชิ้น?
“จากการติตตามของพจนานุกรมคอลลินน์ พบว่ามีการใช้งานคำว่า Single-use เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับสองปีที่ผ่านมา ผู้จัดทำพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ‘คอลลินส์’ ประกาศเมื่อวันที่ 7 พ.ย.ปีที่ผ่านมาว่า single-used หรือ ซิงเกิลยูสด์ ถูกยกให้เป็น ‘คำศัพท์แห่งปี’ ประจำปี 2018 เนื่องจากคำศัพท์ดังกล่าวถูกใช้ในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยอ้างอิงจากการสังเกตและจำแนกคำศัพท์ที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ในช่วงปีที่ผ่านมา และสื่อต่างๆ ก็พร้อมใจกันรายงานข่าวคราวที่เกี่ยวข้องกับปัญหาขยะ ที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติกันมากขึ้น ซึ่งขยะที่เกิดจากสินค้า ‘ใช้ครั้งเดียวทิ้ง’ หรือ single-used ส่วนใหญ่มักจะเป็นขยะพลาสติก”
คำขวัญที่ถูกนำมาใช้รณรงค์ให้คนรู้จักปฎิเสธการใช้พลาสติกของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติก็คือ
“If you can’t reuse it, refuse it”
“ถ้าของสิ่งนั้นใช้ซ้ำไม่ได้ก็อย่าใช้”
Stop produce Single-use Plastics!
แน่นอนว่าไม่เพียงผู้ใช้ที่ต้องปฏิเสธ ‘พลาสติกมักง่าย’
เพราะเรื่องที่ถูกยกมากล่าวถึงในฟากของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมพลาสติกก็คือ เรื่องของ Product Design Concept ที่จะนำอุตสาหกรรมไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างแท้จริง กับ 3 แนวทางหลักก็คือ reduce reuse และ recycle นำไปสู่ Renewable products ด้วยการตอกย้ำว่า
“อะไรที่เป็น Single-use เราตัดทิ้งหมดเลย!”
ส่วนคำศัพท์ที่น่าสนใจอีกคำในปีนี้ เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาขยะเช่นกัน คือคำว่า ‘พล็อกกิ้ง’ plogging ซึ่งเป็นการผสมคำว่า ‘pick’ (เก็บ, หยิบ) และคำว่า jogging (วิ่ง) เข้าด้วยกัน และมีความหมายใหม่ที่สื่อถึง ‘การวิ่งเก็บขยะ’ โดยเป็นคำศัพท์ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากการจัดกิจกรรมวิ่งเก็บขยะในประเทศสวีเดน
ในแต่ละปีมนุษย์ทั่วโลกสร้างขยะมูลฝอยมากกว่า 1,200 ล้านตัน สำหรับประเทศไทย พบว่าปี พ.ศ.2558 มีปริมาณขยะมูลฝอยรวมราว 26.85 ล้านตันต่อปี ซึ่งจากปริมาณดังกล่าวเพียง 31 % ถูกกำจัดอย่างถูกต้องและ 19% เท่านั้นที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์
เราปฏิเสธไม่ได้ว่าตัวอย่างอันดีของผู้ที่เป็นหัวขบวนในเรื่อง Single-Use Plastics ก็คือสหภาพยุโรป
The Last Straw: “หลอดพลาสติกอันสุดท้าย” ของ EU
ต้องบันทึกไว้ว่า 12 ชั่วโมงก่อน รัฐสภายุโรปลงมติคำสั่งห้ามใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว คือ มีดพลาสติก, สำลีก้าน, หลอดและที่คนเครื่องดื่ม (ทั้งหมดทำจากพลาสติก) เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายกวาดล้างขยะพลาสติกที่ทำลายชายหาดและก่อมลภาวะในมหาสมุทร
การโหวตโดยสมาชิกรัฐสภายุโรปเป็นการปูทางสำหรับการห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวที่จะมีผลบังคับใช้ภายในปีพ. ศ. 2564 ในทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักรจะต้องปฏิบัติตามกฎหากมียังส่วนร่วมและขยายระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของ Brexit เนื่องจากความล่าช้าในการหาข้อตกลงใหม่กับสหภาพยุโรป
Michael Gove เลขานุการด้านสิ่งแวดล้อมของอังกฤษซึ่งก่อนหน้านี้เคยทะเลาะกับคณะกรรมาธิการยุโรปว่าใครกันที่ลงแรงมากที่สุดในการลดมลพิษพลาสติก ก็เป็นอีกคนที่ต้องการลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวเช่นกันเช่นเดียวกับการกำหนดเป้าหมายขยะพลาสติกบนชายหาดที่พบบ่อยที่สุด คำสั่งนี้จะห้ามการใช้ถ้วยโพลีสไตรีนแบบใช้ครั้งเดียวและที่ทำจาก oxo-degradable plastics ที่สามารถสลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้นอกจากนี้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องแนะนำมาตรการเพื่อลดการใช้ภาชนะบรรจุอาหารพลาสติกและฝาพลาสติกสำหรับเครื่องดื่มร้อน ภายในปี 2568 ขวดพลาสติกควรทำจากวัสดุรีไซเคิล 25% และในปี 2029 90% ของขวดพลาสติกควรนำมารีไซเคิล
ไม่เพียงเท่านั้นสหภาพยุโรปยังมุ่งจัดการกับการระบาดของผ้าเช็ดทำความสะอาดเปียกที่ช่วยกันเฮโลลงไปอุดตันท่อระบายน้ำในรูปแบบของ “fatbergs” ทั้งผ้าเช็ดทำความสะอาดเปียก, ผ้าอนามัย, ตัวกรองยาสูบและถ้วยจะถูกตีตราด้วยหากพบว่าทำมาจากพลาสติก บรรจุภัณฑ์จะมีคำเตือนถึงผู้บริโภคถึงความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นหากมีการกำจัดสิ่งเหล่านี้อย่างไม่ถูกต้อง
polluter pays: ผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย!
หลักการ “polluter pays” หรือ “ผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย” จะถูกขยายผลไปยังผู้ผลิตอวนเพื่อให้ บริษัทต่างๆ (ซึ่งไม่ใช่ลูกเรือประมง) จ่ายค่าเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมกรณีอวนของตนเกิดสูญไปในทะเล
Frans Timmermans รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปผู้เป็นหัวหอกในการวางแผนกล่าวว่า
“วันนี้เราได้ดำเนินการขั้นตอนสำคัญในการลดขยะและขยะพลาสติกในมหาสมุทรและทะเลของเรา เราได้ลงมือทำ เราสามารถทำได้ ยุโรปกำลังสร้างมาตรฐานใหม่และยังมีความทะเยอทะยานปูทางไปสู่ส่วนที่เหลือของโลก”
ทุกปีชาวยุโรปผลิตขยะพลาสติก 25 ล้านตัน แต่ปริมาณที่ถูกรวบรวมนำไปรีไซเคิลมีน้อยกว่า 30% ในขณะที่ขยะที่ทิ้งลงทะเลมากกว่า 80% เป็นขยะพลาสติก!!
บทความที่เกี่ยวข้อง:
https://www.toolmakers.co/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81/
About The Author
You may also like
-
DigiTech ASEAN Thailand & AI Connect 2024 พบกับโซลูชันเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์กว่า 350 แบรนด์
-
NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
-
SuperSource : VEGAPULS 6X เซนเซอร์วัดระดับแบบต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีเรดาห์แบบพรีเมียม
-
แถลงจัดงาน THECA 2024 ผลักดันประเทศไทยสู่ฐานผลิต PCB ระดับโลก
-
อินฟอร์มาฯ – ก.พลังงาน ร่วมภาคีเครือข่ายด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2024