4.0Sight

Wake me up ด้วยดิจิทัล: จับตา 4.0 (ตอนที่ 2)

นิตยสาร EU Automation สื่อออนไลน์ของสหภาพยุโรปได้สัมภาษณ์ Neil Mead ว่าด้วย แนวโน้มของ Automation ล่าสุด (‘The latest trends in automation’) ในรายงาน “4.0 Sight digital industry around the world” ซึ่ง Toolmakers นำมาเรียบเรียงเพื่อประโยชน์ในการรับรู้ข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องราวของอุตสาหกรรม 4.0 และระบบอัตโนมัติในประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก

Neil Mead

ปัจจุบัน Neil Mead เป็น editorial director ที่ Datateam Business Media สื่อนิตยสาร เว็บไซต์และอีเวนท์เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวและความทันสมัยของแวดวงธุรกิจในภาคของ B2B หรือ business-to-business ในสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมเอามุมมองหลากหลายทั้งในเชิงวิศวกรรมและอุตสาหกรรมการผลิต ตำแหน่งที่กว้างขวางนี้อาจสร้างความสับสนให้กับคนทั่วไป และอาจหมายถึงตำแหน่งของความเป็นทุกสิ่งอย่างของเนื้อหาในสื่อที่ทำอยู่ ก่อนนี้เขาเคยทำงานในฐานะ นักข่าว สื่อสารมวลชน นักเขียนสำหรับนิตยสารหลากหลาย ทั้งแบบเฉพาะทาง กระแสหลัก และแบบ consumer กระทั่งมุ่งมาทางสื่อที่มีเนื้อหาเน้นหนักไปในทางเทคนิคมากขึ้น เริ่มจากสื่อด้านอุตสาหกรรม ในฐานะบรรณาธิการที่นิตยสาร Factory Equipment เมื่อมาร่วมงานกับ Datateam เมื่อกว่า 12 ปีที่แล้ว เขาก็ยังเป็นผู้ edited ในความหมาย ผู้ดูแลจัดการเนื้อหาให้กับนิตยสารอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่งภายใน Connecting Industry branded portfolio และปัจจุบันยังเป็นบรรณาธิการของนิตยสาร Automation

ด้วยด้วยเหตุผลเท่ๆ

“ภาคการผลิตยังคงมีบทบาทสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อในเศรษฐกิจของประเทศเรา ไม่แปลกที่เราจะรู้สึกดีที่ได้รายงานและเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่สร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง เราได้เห็นการพัฒนาที่น่าสนใจมากมายและความก้าวหน้าอย่างยิ่งใหญ่ของ Automation Technology ในขณะที่ผมดูแลเนื้อหานิตยสารตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมา และผมก็รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอีกสิบปีข้างหน้า”

EU Automation: ในฐานะนักสื่อสารมวลชนที่ทำงานอยู่ในสื่อ automation ที่ครอบคลุมทุกสิ่งตั้งแต่เทคโนโลยีจักรกลและวิทยาการหุ่นยนต์เพื่อควบคุมระบบและอุตสาหกรรม 4.0 เกี่ยวกับแนวโน้มต่างๆ ที่คุณเห็นมาตลอดไม่กี่ปีที่ผ่านมา คุณคิดว่าสิ่งที่จะมีผลกระทบรุนแรงที่สุดกับอุตสาหกรรมคืออะไร

Neil Mead: แม้ว่าจะมีการกล่าวถึงกันอยู่มากแล้วเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) แต่ผมก็ยังไม่คิดว่ามันจะมีผลมากนัก โดยเฉพาะในการแก้ปัญหาใหญ่ๆ บางอย่าง มันมีอยู่แล้วก็จริงแต่ผู้ผลิตก็ยังไม่ได้ใช้มันอย่างจริงจังแบบเต็มศักยภาพอย่างที่มันควรจะเป็น ผมคิดว่าสิ่งนี้จะพัฒนาขึ้นเมื่อมันดำเนินไปจนรวมกับอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) และเมื่อบูรณาการได้สำเร็จ เราจึงจะสามารถคาดหวังได้ว่า จะเห็นการใช้เครื่องจักรกลที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น การเรียนรู้ของจักรกลที่ดียิ่งขึ้น และการปรับปรุงอัลกอริธึมเพื่อหาวิถีทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการกับงานซ้ำซาก เช่นเดียวกับการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยไม่ต้องใช้การป้อนข้อมูลโดยมนุษย์ (human input)

มีเทคโนโลยี 2 อย่างที่อยู่แถวหน้าในการรับรู้ของผู้คนวินาทีนี้ก็คือ Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR) ผมเห็นศักยภาพในการใช้งานของเทคโนโลยีนี้อยู่ทุกวี่วันในแอพลิเคชันด้านการบำรุงรักษาและการฝึกอบรม ในที่สุดสิ่งนี้จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับวิศกรซ่อมบำรุงที่จะใช้แว่นตา AR เพื่อวางซ้อนคำแนะนำและแบบฝึกหัดโดยตรงผ่านมุมมองของพวกเขา เทคโนโลยี VR ที่สมจริงยิ่งขึ้นจะเป็นประโยชน์สำหรับการฝึกอบรมพนักงานใหม่

การผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ (Additive Manufacturing) เป็นอีกหนึ่งแอเรียที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากในสื่อต่างๆ  ผมเห็นว่ามันถูกใช้เป็นหลักในงานออกแบบผลิตภัณฑ์และในแอพลิเคชั่นของการบำรุงรักษา (maintenance) การซ่อมแซม (repair) และการปฏิบัติการ (operations)  หรือ MRO กุญแจสู่ความสำเร็จของเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถพิมพ์ชิ้นส่วนที่เสร็จสมบูรณ์ได้เอง ช่วยธุรกิจในภาค high-tech เช่น การบินและอวกาศปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตชิ้นส่วน โดยใช้ทรัพยากรน้อยลง ลดน้ำหนัก และลดต้นทุน นอกจากนี้ บริษัทต่าง ๆ ยังสามารถเก็บชิ้นส่วนที่พวกเขาต้องการไว้ในสต็อกได้โดยไม่ต้องรอสินค้าที่สั่งซื้อใหม่มาถึง

digital

Digital twinning เป็นเทคโนโลยีที่ผมเห็นว่า ในทางปฏิบัติมันได้สร้างความแตกต่างอย่างแท้จริงในการออกแบบและกระบวนการผลิต ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างแบบจำลอง 3 มิติเสมือนจริงของกระบวนการของโรงงานในแบบเรียลไทม์จากนั้นก็จัดการเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก – หรือ คาดการณ์ปัญหาล่วงหน้าโดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพของโรงงาน วิศวกรสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในโลกเสมือนจริง ก่อนที่จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบหรือเครื่องมือ นอกจากนี้ยังช่วยให้ทีมพัฒนาสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างง่ายดายจากทุกที่และมี input ในทุกขั้นตอนของกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์

อย่างไรก็ตาม เวลานี้ Robotics เป็นเทคโนโลยีที่มีผลกระทบมากที่สุดในระบบ Automation ขณะที่ผู้คนเริ่มกังวลว่าจะมีผลกระทบกับงาน ธุรกิจทั่วโลกกำลังเล็งเห็นประโยชน์จากการใช้งานหุ่นยนต์และผลในเชิงบวกที่มันมีมากขึ้น หุ่นยนต์มีดีในสิ่งที่มนุษย์ไม่มี เช่น ในการทำงานซ้ำซาก นั่นหมายความว่า มนุษย์สามารถยกระดับ (upskill) และทำให้ธุรกิจเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น ส่งผลให้เจ้าของกิจการจ้างคนมาทำงานเพิ่มขึ้น  วิสัยทัศน์ของเครื่องจักร (Machine vision) บวกกับเทคโนโลยีการตรวจจับ (Sensing technology) ที่ดียิ่งขึ้น เป็นอีกแนวโน้มหนึ่งที่มีผลกระทบสำคัญ

อัตราความเร็วที่ระบบการมองเห็น (vision systems) สามารถอ่านรหัส (code) ระบุปัญหาได้โดยอัตโนมัติในสายการผลิตและสามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการพัฒนากระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) อย่างมาก และกำลังกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจต่างๆ เช่น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มซึ่งตอนนี้สามารถนำเสนอให้ลูกค้าตรวจสอบย้อนกลับได้แบบ ‘จากฟาร์มถึงส้อม’ (‘from farm to fork’) นอกจากนี้ยังขยับขยายไปสู่การเพิ่มความอัจฉริยะให้กับนวัตกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์นำทางอัตโนมัติ (Automated Guided Vehicles: AGVs) ที่สามารถขนส่งสินค้าได้ทั่วโรงงานหรือคลังสินค้า

เราได้เห็นแนวคิดของอุตสาหกรรม 4.0 พัฒนาขึ้นในสื่อเชิงเทคนิคช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเช่นกัน สิ่งที่เริ่มต้นจากการอภิปรายที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับการผลิตแบบอัตโนมัติ เวลานี้ขยับไปสู่พื้นที่อื่นๆ เช่น supply chain การจัดซื้อ การขายเชิงธุรกิจ และการตลาด

automation

มาพูดกันถึงสิ่งที่คุณคิด ว่าโรงงานแห่งอนาคต (factory of the future) จะมีลักษณะเป็นอย่างไร โรงงานดิจิทัลแห่งอนาคตจะเต็มไปด้วยเครื่องจักรชาญฉลาดที่ถูกเชื่อมต่อกันส่งผลให้การแทรกแซงจากมนุษย์ (human intervention) น้อยลง และสามารถดำเนินการได้ด้วยการควบคุมและตรวจสอบจากระยะทางไกล ด้วยการใช้ ระบบการตรวจสอบ (sensors) อัลกอริธึม (algorithms) และซอฟต์แวร์ เครื่องจักรยังสามารถตรวจสอบตัวเองและกระบวนการที่กำลังทำอยู่ได้ด้วย ในขณะที่มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและผลิตข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์ได้และดำเนินการโดยคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลการผลิต (Manufacturing Execution Software หรือ MES) ที่ซับซ้อน ส่วนยานพาหนะนำทางอัตโนมัติ (AGVs) จะถูกใช้เพื่อย้ายวัตถุดิบไปยังสายการผลิตและนำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปไปสู่คลังสินค้า ส่วนคนจะทำงานคู่ขนานกับหุ่นยนต์ในสายการผลิต

แต่เทคโนโลยีอัตโนมัติไม่ได้จำกัดอยู่ที่เครื่องจักรและในโรงงานเท่านั้น ในอนาคตเราจะเห็นมันถูกใช้งานตลอดห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ทั้งหมด ทั้งการรับคำสั่งซื้อ การจัดซื้อวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง และแม้แต่ธุรกรรมทางการเงิน ล้วนเกิดขึ้นโดยไม่มีการแทรกแซงของมนุษย์ การใช้ระบบซอฟต์แวร์และการพัฒนา เช่น blockchain กระบวนการทั้งหมดสามารถทำให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูง

Q: จากเรื่องเล่าขานกันมานานที่ว่า หุ่นยนต์จะแย่งงานของเราฝังอยู่ในจิตสำนึกสาธารณะแม้จะมีหลักฐานแสดงว่า ระบบอัตโนมัติจะสร้างงานมากกว่าทำให้งานหายไป คุณคิดว่าเป็นเพราะอะไรและจะทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนการรับรู้นี้ได้

A: สื่อทั่วไปอาจวาดภาพการรับรู้ว่า หุ่นยนต์จะมาแย่งงานของเรา แต่พวกเขาไม่ได้มุ่งเน้นที่ภาคอุตสาหกรรมเสมอไป แต่มักจะพูดถึงในแอเรียต่าง ๆ เช่นการดูแลสุขภาพ (healthcare) หรือ การค้าปลีก การสูญเสียงานไม่ได้หมายถึงการสูญเสียพนักงานเสมอไป ทำไมไม่ย้ายคนที่ตกงานเหล่านั้นไปสู่ระบบอัตโนมัติในงาน ‘คิดและสร้างสรรค์’ แทนล่ะ? ผู้คนจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดไปสู่ความจริงที่ว่า เราจะมี workforce ที่สมดุลและเราจะทำงานควบคู่ไปกับหุ่นยนต์

มันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนั้น เราต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในวิถีที่เรามองหุ่นยนต์ ตัวอย่างเช่น จีนและเยอรมนีได้ลงทุนไปแล้วอย่างหนักในแอเรียนี้ พวกเขายอมรับว่า พวกเขาจะมี balanced workforce ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่มีทางเลือกนอกจากต้องอัตโนมัติ (automate) เพื่อรักษาการแข่งขันไว้ ดังนั้นผู้คนจะต้องคุ้นเคยกับแนวคิดของการทำงานควบคู่กับเครื่องจักรและหุ่นยนต์อัจฉริยะ สิ่งนี้จะไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภาพและความได้เปรียบสูงสุดเท่านั้น แต่จะนำไปสู่ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นและการจ้างงานที่สูงขึ้นในระยะยาว

Q: งานใหม่ที่ระบบอัตโนมัติจะสร้างขึ้นมีอะไรบ้าง – คุณพบสิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษหรือเปล่า?

A: ในขณะที่หุ่นยนต์ทำงานธรรมดาทั่วไปและซ้ำซาก คนจะได้รับการปลดปล่อยเพื่อทำงานที่น่าสนใจและสร้างสรรค์มากขึ้น ผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะสูง (upskilled operatives) เหล่านี้จะมีโอกาสได้รับบทบาทในงานใหม่ๆ เช่น วิศวกรควบคุม (control engineers) นักวิเคราะห์ข้อมูล (data analysers) นักออกแบบระบบ (system designers) และนักเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ (robot programmers) งานที่น่าสนใจและใช้ทักษะสูงเหล่านี้จะช่วยให้ผู้คนมีโอกาสในการพัฒนาอาชีพของตนเองและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร

“People will be released to do more interesting and creative jobs”

 

หมายเหตุ: 

การตรวจสอบย้อนกลับ หรือ Traceability คืออะไร
การตรวจสอบย้อนกลับ หรือ Traceability เป็นกลไกเพื่อติดตามที่มาของสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงผู้บริโภค ว่าในขั้นตอนกรรมวิธีการผลิตตั้งแต่ต้นเป็นอย่างไร เพื่อทำการติดตามสินค้าคืนได้อย่างถูกต้อง การดำเนินการดังกล่าว คือ การค้นหาต้นทางของสินค้าเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาปลายทางของสินค้าต่อไป Traceability กลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากจะทำให้ผู้ผลิตทราบถึงสาเหตุที่มาของปัญหา เมื่อสินค้ามีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค และ จัดการกับปัญหาที่เกิดได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเสี่ยงต่อความปลอดภัยอย่างชัดเจน

 

อ่าน “4.0 sight digital industry around the world” แบบเต็มๆ ได้ที่นี่ 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:

Wake me up ด้วยดิจิทัล: จับตา 4.0 (ตอนที่ 1)

อ้างอิง:

www.mmthailand.com

 

About The Author