industry-1801661_960_720

Waste: ความสูญเปล่าที่มากกว่าความสูญเสียในการผลิต

การผลิตแบบลีน (Lean production) ไม่ได้มุ่งโฟกัสแต่การลดของเสียหรือความสูญเปล่า (Waste) ป็นสำคัญ แต่ยังหมายถึงการลดปริมาณของเสียให้เหลือน้อยที่สุด หรือกำจัดของเสียหรือความสิ้นเปลืองให้ได้มากยิ่งขึ้น ถือเป็นผลพลอยได้ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงของกระบวนการผลิตที่ดีขึ้น เห็นได้ชัดว่า Waste มีผลกระทบต่อความสามารถในการผลิต (productivity) และความสามารถในการทำกำไร (profitability) แต่ความสำคัญของการลด Waste มักไม่ได้รับการประเมิน และมีพื้นที่ของ ‘Waste’ มากมายที่ถูกมองข้ามไป

“Waste คือสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากอุปกรณ์ วัสดุ เครื่องมือ ชิ้นส่วนและเวลาทำงานขั้นต่ำ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ” Ohno Taiicho บุรุษผู้ถูกขนานนามว่าคือ ‘พ่อ’ ของระบบการผลิตของโตโยต้าเคยกล่าวเอาไว้

manufacturing-35083_960_720

การผลิตแบบลีนมักจะมุ่งโฟกัสไปที่ Key Waste 7 สิ่ง แต่วันนี้เราขอขยายรายการเป็น 8 อย่างดังนี้

eight-lean-wastes-graphic

Defects: ข้อบกพร่อง/จุดอ่อน

ชิ้นส่วนที่บกพร่องเป็นผลจาก input คุณภาพต่ำ user error หรือปัญหาอื่นๆ ที่มีค่าใช้จ่ายสูงและหลีกเลี่ยงได้ง่าย

Overproduction: การผลิตมากเกินไป/การผลิตมากเกินต้องการ

การผลิตมากเกินไปโดยไม่คำนึงถึงความต้องการหรือกำลังการผลิตนั้นสิ้นเปลืองและไม่คำนึงถึงลูกค้า

 Waiting: การรอคอย/ความล่าช้า

ภาวะคอขวดเกิดขึ้นเนื่องจาก oversupply หรือ undersupply และควรแก้ไขได้ด้วยการจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือ supply chain ที่ดีขึ้น รวมถึงการจัดการบุคลากร (personnel management)

Not Utilizing Talent: ไม่ดึงความสามารถพิเศษออกมาใช้

ความสูญเปล่าเกิดขึ้นเมื่อทักษะของพนักงานไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ หรือถูกนำมาใช้งานน้อยเกินไป หรือ ถูกนำมาใช้ไม่เหมาะกับงาน ศักยภาพของมนุษย์ถือเป็นสิ่งทรงคุณค่าอย่างมากและบ่อยครั้งมักถูกมองข้าม

Transportation: การขนส่ง

การเคลื่อนย้ายไป-กลับจากท่าเทียบเรือและคลังสินค้าเป็นพื้นที่หนึ่งสำหรับการลดความสูญเปล่าที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการจัดวางและกระบวนการที่ดีขึ้น

Inventory Excessวัสดุ/สินค้าคงคลังมากเกินไป

มีปัจจัยมากมายนำไปสู่สินค้าคงคลังมากเกินไปซึ่งในการผลิตจำนวนมากอาจคือผลผลิต แต่ยังไม่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการโดยรวม

Motion Waste: ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวมากเกินไป

แม้แต่การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ของพนักงานในไลน์การประกอบ หรือ assembly line ก็สามารถลดประสิทธิภาพการทำงานหรือลดกำลังการผลิต และมีส่วนในความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น

Excess Processing: กระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า

หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนและขั้นตอนที่ไม่จำเป็น

สรุปแล้วความสูญเปล่า หรือ Waste คือสิ่งใดก็ตาม (any step) ในกระบวนการที่ไม่มีความจำเป็นต่อผลสำเร็จและประสิทธิภาพในการทำงาน สิ่งสูญเปล่าทั้ง 8 ประการนี้มีแต่จะทำให้เวลาและทรัพยากรเพิ่มขึ้น นำไปสู่ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นเหมือนสิ่งกีดขวางไม่ให้เรานำสิ่งมีคุณค่ามอบให้ลูกค้า

แต่หลังจากที่ความสูญเปล่าถูกกำจัดไป กระบวนการทำงานหรือกระบวนการผลิตก็จะมีความคล่องตัวมากขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น

 

About The Author