Omnichannel_Logistics Campus

ผนึกกำลังสร้าง ‘โลจิสติกส์แคมปัสระดับเวิลด์คลาส’ แห่งแรกของไทย

World-Class Logistics Campus

มาถึงโลจิสติกส์แคมปัสระดับเวิลด์คลาสแห่งแรกของไทย (จากก่อนนี้เรามี DHL Bangna Logistic Campus บนเนื้อที่กว่า 120,000 ตารางเมตรเกิดขึ้นเมื่อปี 2558)  เกิดขึ้นเมื่อสองบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยคือ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ในฐานะผู้ให้บริการอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมระกับโลก และเซ็นทรัล รีเทลร่วมลงนามสัญญาเช่า 15 ปีเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา พัฒนาศูนย์กระจายสินค้า Omnichannel ขนาดใหญ่ พื้นที่กว่า 75,000 ตารางเมตร ในทำเลยุทธศาสตร์บางพลี ยกระดับคลังสินค้าสู่การเป็น “โลจิสติกส์แคมปัสระดับเวิลด์คลาส” แห่งแรกของไทย รองรับดิจิทัลเทรนด์และเทคโนโลยีโลจิสติกส์ในอนาคต

Logistics Campus

What is Logistics Campus? โลจิสติกส์แคมปัสคืออะไร

ก่อนจะรู้จักแคมปัส เราต้องทำความรู้จักคำก่อนหน้าอีก 2 คำ จากหนังสือ Logistics Clusters: Delivering Value and Driving Growth ของ Yossi Sheffi ช่วยให้คำจำกัดความ การรวมกลุ่มด้านโลจิสติกส์ หรือ Logistics Agglomerations โดยแยกออกเป็น logistics clusters, logistics parks และ logistics campuses

Clusters คือ การรวมตัวกันแบบไม่มีรูปร่างแน่นอนของบริษัทและสิ่งอำนวยความสะดวก หรือ facility ต่างๆ ที่มีการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ ไม่มีรูปแบบ หรือขอบเขตที่ตั้งแน่ชัดและไม่มีการบริหารจัดการจากศูนย์กลาง ส่วน logistics parks มีความชัดเจน ว่าใครเป็นเจ้าของและมีขอบเขตที่ตั้งชัดเจน ทั้งนี้ทั้งนั้นความเป็น Cluster นั้นกินความใหญ่กว่า เพราะมันหมายถึงภูมิภาค หรือ region และอาจมี Park หลายๆ Park รวมอยู่ในนั้น รวมถึง Logistics-related facility โดยใน Cluster หนึ่งอาจมี Logistics Park หลาย ๆ Park ตัวอย่างเช่น Singapore’s Air Logistics Park (ALPS) ใกล้กับสนามบินชางงี และสิงคโปร์ Pasir-Panjang seaport ดำเนินการโดย PSA International ต่างก็เป็น Logistics Parks ภายใน Logistics Cluster of Singapore เป็นต้น

Logistics park ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทตัวแทนซึ่งอาจเป็น real estate investment trust (REIT) เช่น ProLogis, Cache Logistics และ DCT Industrial เป็นต้น

ส่วน Logistics campus นั้นถูกให้คำจำกัดความว่า “a special type of logistics park” คือเป็น Logistics Park พิเศษประเภทหนึ่งที่มีการดำเนินงานทั้งการประสานความร่วมมือกันแน่นแฟ้นกว่า ไม่เพียงแค่เรื่องของที่ดินและอาคารซึ่งถูกบริหารจัดการโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้น แต่หน่วยงานนั้นต้องจัดการกิจกรรมด้านโลจิสติกส์และการกระจายสินค้า (Distribution) ทั้งหมดภายใน Park ด้วย

ตัวอย่างเช่น Logistics Campus ของ UPS (United Parcel Service Inc.) ที่ Louisville, Kentucky สหรัฐอเมริกา เป็นที่รวมของลูกค้าสำหรับแผนก UPS Supply Chain Solutions บริหารจัดการด้านการขนส่ง การกระจายสินค้า สินค้าคงคลัง, custom brokerage และกิจกรรมเพิ่มมูลค่าอีกมากมาย บางหน่วยงานใหญ่ๆ ประเภท multidivision enterprise ก็อาจสร้างแคมปัสของตัวเองได้เช่นกัน เช่น การสร้างศูนย์กระจายสินค้าด้านอาหาร (Food distribution center) และสร้าง import warehouse ไว้ใกล้กันเพื่อประโยชน์ร่วมกันของแคมปัสนั้นๆ

Logistics Campus_2

เวิลด์คลาสอย่างไร

เฟรเซอร์นำเสนอโซลูชันในการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าแบบ Build-to-Suit ระดับเวิลด์คลาสแห่งนี้ให้แก่ เซ็นทรัล รีเทลโดยให้ความสำคัญกับการออกแบบอาคารที่จะช่วยเสริมศักยภาพของการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์และการกระจายสินค้า ไปสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย (Multi-Channel) อย่างครอบคลุมและเพียงพอต่อความต้องการทางการตลาดทั้ง Physical Platform และ Digital Platform ด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการดำเนินงาน เช่น ระบบสั่งซื้อสินค้า E-Ordering ระบบจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ (ASRS) และระบบอุปกรณ์สั่งงานด้วยเสียงอัตโนมัติ (Automation Voice-Picking) เป็นต้น

ภายในโครงการแห่งเดียวกันนี้มีศูนย์กระจายสินค้าแบบ Build-to-Suit ของเพาเวอร์บาย พื้นที่รวมกว่า 30,000 ตารางเมตร ซึ่ง FPT พัฒนาขึ้นและได้มีการส่งมอบอาคารเป็นที่เรียบร้อยในปี 2561 ที่ผ่านมา  จึงทำให้โครงการแห่งนี้ ถือเป็น “โลจิสติกส์แคมปัส” ของธุรกิจในเครือเซ็นทรัล รีเทล ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพของการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์และการกระจายสินค้า ไปพร้อมกับการช่วยให้สามารถควบคุมต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

World-Class Logistics Campus แห่งนี้ เป็นศูนย์กลางในการเก็บและกระจายสินค้าของบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล รีเทล ทั่วประเทศ อาทิ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน, ซูเปอร์สปอร์ต, บีทูเอส, ออฟฟิศเมท ร้านค้าในกลุ่มเซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป (ซีเอ็มจี) และรวมไปถึงเพาเวอร์บาย

OmniChannel

อาคารอนุรักษ์พลังงาน

ออกแบบให้เป็นอาคารอนุรักษ์พลังงาน ด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เต็มพื้นที่หลังคาโครงการ และอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการรับรองมาตรฐานอาคารเขียว หรือ LEED (Leadership in Energy and Environmental by U.S. Green Building Council) ตลอดจนการออกแบบอาคารให้มีความยืดหยุนต่อการใช้งานเพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจ ด้วยโซนจัดเก็บสินค้าที่มีความสูงมากกว่า 25 เมตร พร้อมความสามารถในการรับน้ำหนักได้มากถึง 10 ตันต่อตารางเมตร เพื่อรองรับการติดตั้งระบบจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage and Retrieval Systems หรือ ASRS) รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ ในอนาคต ได้ตามความต้องการ

ช่วยเพิ่มสปีดในการส่งสินค้า 

หัวใจสำคัญของการสร้างศูนย์กระจายสินค้าแห่งนี้ ก็คือการตอบโจทย์กลยุทธ์ Omnichannel ของเซ็นทรัล รีเทลที่ได้ให้ความสำคัญมาหลายปีแล้ว อีกทั้งธุรกิจออนไลน์ก็มีการเติบโตมากขึ้น  นั่นคือประสบการณ์การช้อปปิ้งของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งเรื่องการสั่งสินค้า การจัดส่งสินค้า การมีศูนย์กระจายสินค้าจะทำให้มีการส่งสินค้าเร็วขึ้น ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีมากขึ้นนั่นเอง

สิ่งสำคัญอีกประการคือโครงการยักษ์มูลค่าราว 2,000 ล้านบาทนี้จะช่วยสร้างงานให้เกิดขึ้นในย่านบางพลีอีกกว่า 1,000 ตำแหน่ง

 

Omnichannel DC

About The Author