AM_BAC Mono R_2

AM: ต้นแบบ Mono R – Super Car จากอังกฤษ

ต้นแบบที่อาจใช้เวลาในการผลิตนานนับสัปดาห์จึงจะสำเร็จสามารถเสร็จสมบูรณ์ได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงเป็นไปได้อย่างไร BAC ผู้ผลิตยานยนต์จากอังกฤษพาเราไปทำความเข้าใจ Impact/แรงกระทบ ต่อภาคการผลิตของการผลิตแบบเติมเนื้อสาร หรือ AM ต่อกระบวนการผลิตที่ปีนี้ยังมาแรงแซงทางโค้งในโลกของส่วนประกอบและอุตสาหกรรมการผลิต แบบเน้นๆ ชัดๆ

Briggs Automotive Company หรือ BAC ผู้ผลิตของอังกฤษที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เปิดตัวซูเปอร์คาร์ต้นแบบ Mono R ซึ่ง Stratasys เปิดเผยว่า อิมแพคของ AM ส่งผลต่อการออกแบบและการผลิตของซูเปอร์คาร์รุ่นล่าสุดอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เมื่อต้องเผชิญกับความล่าช้าที่เป็นอันตรายต่อกระบวนการออกแบบในส่วนสำคัญอย่าง airbox ส่งผลให้ทีมหันไปใช้ Stratasys FDM การผลิตแบบเติมเนื้อสารของ Stratasys เพื่อผลิตรถต้นแบบที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

Mono R มีน้ำหนักเพียง 555 กิโลกรัม และเป็น production car รายแรกของโลกที่รวมการใช้คาร์บอนไฟเบอร์ที่เสริมกราฟีน (graphene-enhanced carbon fibre) เข้าไปในทุกส่วนของ body panel ความท้าทายอย่างหนึ่งคือการออกแบบและการทดสอบช่องลมเข้า (Air Intake) ของ Mono R ซึ่งจำเป็นสำหรับระบบระบายความร้อนและสมรรถนะบนถนนของรถยนต์ ซึ่งส่งผลให้ Airbox มีรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เหมือนใคร ส่วนสุดท้ายต้องผลิตด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ทั้งหมด ด้วยดีมานด์ที่เยอะและเข้มระดับนี้ หมายความว่าการผลิตรถต้นแบบโดยใช้วิธีการแบบดั้งเดิมจะกลายเป็นอุปสรรคชิ้นโตสำหรับทีม

AM_BAC Mono R
The BAC Mono R supercar, the world’s first production car to incorporate graphene-enhanced carbon fibre in every body panel. ( Source: Stratasys )

“ระยะเวลาในการผลิตต้นแบบหนึ่งชิ้นของ airbox หากใช้วิธีการขึ้นรูปแบบดั้งเดิมต้องใช้เวลาเกินสองสัปดาห์ หากมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นกับต้นแบบที่ผลิตขึ้นมา การทำซ้ำในงานออกแบบก็จะเพิ่มเวลาขึ้นอีกเป็นสองเท่า นี่เป็นความล่าช้าที่เราไม่สามารถจ่ายได้” Ian Briggs ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบของ BAC อธิบาย

ทีมที่ BAC หันไปใช้การผลิตแบบเติมเนื้อสาร หรือ AM เพื่อแก้ปัญหาและขอความช่วยเหลือจาก Stratasys ซึ่งเป็น platinum partner ในสหราชอาณาจักรของ Tri Platinum 3D ด้วยการใช้ Stratasys F900 Production 3D Printer ทีม BAC สามารถผลิต airbox ได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง จากนั้นจึงติดตั้งกับรถยนต์ ก่อนดำเนินการทดสอบตามขั้นตอนเพื่อประเมินการออกแบบชิ้นส่วนนั้นๆ และประสิทธิภาพการใช้งาน

“การเข้าถึง Nylon 12CF เสริมคาร์บอนไฟเบอร์นั้นเป็นส่วนสำคัญสำหรับกระบวนการพัฒนานี้ ต้นแบบนั้นมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับที่เราได้เคยผลิตต้นแบบด้วยพลาสติกเสริมคาร์บอนไฟเบอร์ที่ทำจากแม่พิมพ์ นอกจากนี้ยังทนต่อการทดสอบบนแทร็กอย่างง่ายดาย” Briggs อธิบาย

วันนี้ทีมที่ BAC ได้เปลี่ยนความคิดในการออกแบบโดยมี AM อยู่ในใจ

“การพัฒนา Mono R ต้องการความแม่นยำสูงสุด AM เป็นวิธีการที่เยี่ยมยอด นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ BAC เราพบว่า AM เป็นวิธีที่ช่วยทีมออกแบบทำให้เราสามารถขยายศักยภาพในอุตสาหกรรมของเราต่อไปได้” Briggs สรุป

 

อ้างอิง:

https://www.etmm-online.com/shift-into-additive-manufacturing-a-858742/

About The Author