ด้วยสิ่งประดิษฐ์เรียกว่า Economic Resin Dryer (ERD) เกิดขึ้นในบรรณพิภพเมื่อปี 1991 โดย Rainer Farraq ผู้ก่อตั้ง Farraq Tech ถือได้ว่านั่นคือการปฏิวัติกระบวนการ resin drying process อย่างแท้จริง
Resin drying คือกระบวนการใช้ adsorption driers เพื่อลดความชื้นของวัสดุพลาสติก เป็นเครื่องมือที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่เลือกใช้กระทั่งถึงช่วงต้นทศวรรษ 1990 แต่เป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งในส่วนของการบำรุงรักษาและต้นทุนด้านพลังงาน นอกจากนี้เมื่อเวลาผ่านไปผลเสียที่ตามมาก็คือ ประสิทธิภาพที่ลดลงเรื่อยๆ ของ integrated molecular sieve
*โมเลกุลลาร์ ซีฟ (Molecular Sieve)
โมเลกุลลาร์ ซีฟ (Molecular Sieve) หรือ ที่เรียกว่า Synthetic Zeolite เป็นสารสังเคราะห์ ที่มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นที่ดีมากๆ ภายใต้ความชื้นสัมพัทธ์รอบข้างในระดับต่ำ (10%-30%) มีประสิทธิภาพในการดูดความชื้นประมาณ 22% ของน้ำหนักตัวเอง โครงสร้างพิเศษทำให้โมเลกุลลาร์ ซีฟมีพื้นผิวสัมผัสประมาณ 7-800 ตารางเมตรต่อ 1 กรัม และมีแรงดึงดูดความชื้นที่สูงมาก ข้อดีดังกล่าว ทำให้ปัญหาการคายความชื้นน้อยกว่าซิลิกา เจล และ มอนต์โมริลโลไนต์ เคลย์เมื่ออุณหภูมิรอบข้างสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม โมเลกุลลาร์ ซีฟยังไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐในการใช้งานกับอาหารและยา จึงทำให้สารชนิดนี้ยังไม่แพร่หลายมากนัก

แต่ด้วยการประดิษฐ์สิ่งที่เรียกว่า Economic Resin Dryer หรือ ERD ขึ้นในปี 1991 ที่ว่าหมายถึงการปฏิวัติกระบวนการดูดความชื้นออกจากพลาสติกก็คือ การอัดอากาศในระหว่างการอบแห้งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพคงเส้นคงวาโดยใช้พลังงานต่ำ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเทคโนโลยี ERD ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและใช้มาจนถึงปัจจุบันภายใต้ชื่อ Card (Compressed Air Resin Dryer) เครื่อง Card ซีรีย์ที่ว่านี้สามารถใช้งานร่วมกับระบบกลั่นน้ำและการหล่อเย็นแม่พิมพ์ภายใน ส่งผลให้กระบวนการผลิตพลาสติกทั้งหมดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ Farraq Tech จะ showcase ให้ผู้เข้าร่วมงาน K งานแสดงสินค้าเกี่ยวกับพลาสติกและยางที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้สัมผัสภายใต้หัวข้อ Sustainable dryer Technology
วันนี้ Card มีการรวมกระบวนการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและการควบคุมที่ทันสมัยขึ้นมาก เช่น Sleep mode นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณอากาศโดยอัตโนมัติเมื่อถึงอุณหภูมิที่กำหนดในช่วงบนของ drying hopper ส่งผลให้การใช้พลังงานของกระบวนการทั้งหมดลดลงนั่นเอง นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีกระบวนการ Heat Recovery จากเครื่องอัดอากาศมาใช้ในกระบวนการดูดความชื้นด้วยเรซิ่นด้วย
**Heat Recovery คือ
ในกระบวนการผลิตเกือบทุกอุตสาหกรรมจะมีความร้อนทิ้ง หลายรูปแบบทั้งความร้อน และความเย็น ทั้งเป็นลมร้อน น้ำร้อน หรือ แล้วแต่กระบวนการผลิต ซึ่งของเสียเหล่านี้สามารถนำกลับมาใช้เป็นแหล่งพลังงานอีกได้ หรือที่เรียกว่า Heat Recovery ทั้งยังสามารถช่วยประหยัดต้นทุนด้านพลังงานได้อีกทางหนึ่งด้วย
นอกเหนือจากการทำให้แห้งด้วยเรซินบริสุทธิ์แล้ว Card ยังถูกใช้ร่วมกับระบบอื่น ๆ เช่น รวมการลดความชื้นของเรซินเข้ากับการหล่อเย็นภายในของผลิตภัณฑ์ วิธีนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงความเค้นของวัสดุซึ่งเกิดจากการรวมตัวของไอน้ำจากอากาศไอเสีย จากนั้นสามารถเพิ่มการผลิตได้มากถึง 35% ด้วยคุณภาพเพิ่มขึ้นในขณะที่ต้นทุนการผลิตลดลง

You may also like
-
เตรียมพบกับผู้นำด้านการผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ได้ที่งาน Moulding Expo 2023 เร็ว ๆ นี้
-
Arburg เปิดตัว Allrounder 470 H ทางเลือกประหยัดพลังงานและลดการปล่อยคาร์บอน
-
ผู้ผลิตของเล่นร่วมกันหารือในการพัฒนาพลาสติกและของเล่นเพื่อความยั่งยืนในงาน bio!TOY 2023
-
Formnext 2023 ฮับของการผลิตแบบเติมวัสดุ การพิมพ์ 3 มิติ และโซลูชันการผลิตอัจฉริยะ
-
Fakuma 2023 งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน