แน่นอนว่าปีนี้และปีต่อ ๆ ไปจากนี้ 3D Printing จะเข้ามามีบทบาทในการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งด้วยนวัตกรรมด้านวัสดุและเทคนิคต่างๆ Toolmakers ขอเริ่มด้วยการหาคำตอบว่า วัสดุหรือเทคนิคการพิมพ์ 3D แบบต่างๆ นั้นมีความทนทานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันเพียงใด ซึ่งจะเกิดประโยชน์ในแง่ของการเลือกใช้งานนั่นเอง
มาดูกันว่าวัสดุ 3D Printing จากวิธีการพิมพ์ด้วยเทคนิคยอดนิยมแบบต่างๆ ทั้ง ระบบฉีดพลาสติก (Fused Deposition Modeling-FDM) ระบบหลอมผงวัสดุด้วยเลเซอร์พลังสูง (Selective Laser Sintering-SLS) ระบบ Material Jetting (PolyJet / MultiJet Modeling-PJ3D) ทนทานต่อการหลอมละลาย การแตก หรือการบิดงอได้แค่ไหน
เริ่มจากวิธีแรก
Will it Melt?
ด้วยการใช้ลูกบอลนิกเกิลที่มีเปลวไฟให้ความร้อนวางลงบนวัสดุ 6 ชนิดในการทดสอบความต้านทานต่ออุณหภูมิ ได้แก่ Veroclear, ASA, ไนลอน, โพลีคาร์บอเนต, Ultem 9085 และ PPSF
Will it Break?
Greg Paulsen ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแอพพลิเคชั่นของ Xometry กำลังแสดงให้เห็นว่าแผ่นดิสก์ทั้งสามที่ทำจากกระบวนการพิมพ์สามมิติที่แตกต่างกันนั้นสามารถรองรับการทดสอบการทนต่อแรงกระแทก (Impact Resistance Test) ได้อย่างไรทั้ง Fused Deposition Modeling (FDM), Selective Laser Sintering (SLS) หรือ PolyJet (PJ3D)
Will it Wrench?
วัสดุการพิมพ์สามมิติชนิดใดที่สามารถทนต่อแรงบิดได้มากที่สุด ด้วยการใช้ประแจเพื่อกับ ABS-M30, FDM Nylon 12, SLS Nylon 12, โพลีคาร์บอเนต และ Ultem 9085 มาดูและค้นหากันว่าเกิดอะไรขึ้น!
อ้างอิง: www.xometry.com
About The Author
You may also like
-
DigiTech ASEAN Thailand & AI Connect 2024 พบกับโซลูชันเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์กว่า 350 แบรนด์
-
NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
-
SuperSource : VEGAPULS 6X เซนเซอร์วัดระดับแบบต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีเรดาห์แบบพรีเมียม
-
แถลงจัดงาน THECA 2024 ผลักดันประเทศไทยสู่ฐานผลิต PCB ระดับโลก
-
อินฟอร์มาฯ – ก.พลังงาน ร่วมภาคีเครือข่ายด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2024