มีการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญมากมายหลายสายว่า ในอนาคตไฮโดรเจนสีเขียวอาจกลายเป็นเสาหลักสำคัญของอุตสาหกรรมพลังงาน แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อจะต้องมีการผลิตในปริมาณมากในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ในไม่ช้าไม่นานนี้
Steag บริษัทด้านพลังงานจาก Essen เยอรมนี, Thyssenkrupp Steal Europe และ Thyssenkrupp Uhde Chlorine Engineers ซัพพลายเออร์ระบบอิเล็กโทรลิซิส ต้องการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวร่วมกัน ถึงตอนนี้บริษัทเหล่านี้กำลังดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ ด้วยจุดมุ่งหมายคือการผลิตไฮโดรเจนในปริมาณมากที่ไซต์ Steag ในเมือง Duisburg-Walsum โดยอิเล็กโทรไลเซอร์สำหรับโครงการนี้จะมาจาก Krupp Uhde Chlorine Engineers ทั้งนี้ green hydrogen ที่ผลิตได้จะถูกนำไปใช้ในโรงงานเหล็กของ Krupp ในเมือง Duisburg ทั้งสามบริษัทดังกล่าวร่วมกันลงทุนในโครงการนี้โดยหวังดึงดูดนักลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนมาเข้าร่วมในอนาคต
- เทคโนโลยีเตาเผาไร้เปลวไฟใช้ไฮโดรเจน ลด CO2 ในการผลิตเหล็ก
- โครงการนำร่องไฮโดรเจน “สีเขียว” (CO2-NEUTRAL (“GREEN”) HYDROGEN) เริ่มต้นที่ยุโรป
- อนาคตของพลังงานจากไฮโดรเจน | “THE WORLD IS READY FOR HYDROGEN”
- SUSTAINABLE PRODUCTION IS NOT ENOUGH | การผลิตอย่างยั่งยืนยังไม่พอ
กระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis)
อิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) คือ กระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (D.C.) จากภายนอกเข้าไปในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวอย่างเช่น อิเล็กโตรลิซึม และการชุบ
(กระบวนการที่ผ่านกระแสไฟฟ้า ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี)
เครื่องมือที่ใช้แยกสารละลายด้วยไฟฟ้า เรียกว่า เซลล์อิเล็กโทรไลต์ หรืออิเล็กโทรลิติก
เซลล์อิเล็กโทรไลต์ ประกอบด้วย:
- ขั้วไฟฟ้า (Electrode) คือ แผ่นตัวนำที่จุ่มในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แล้วต่อกับเซลล์ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ แบ่งเป็น ขั้วแอโนด (Anode) และ ขั้วแคโทด (Cathode)
- สารละลายอิเล็กโทรไลต์ คือ สารละลายที่นำไฟฟ้าได้ เพราะมีไอออนบวกและไอออนลบ ไอออนบวก วิ่งไปรับอิเล็กตรอนที่ขั้วลบ เกิดปฏิกิริยารีดักชัน จึงเรียกขั้วลบว่า แคโทด และเรียกไอออนบวกว่า แคตไอออน (cation) ไอออนลบ วิ่งไปให้อิเล็กตรอนที่ขั้วบวกเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เรียกว่า แอโนด และเรียก ไอออนลบว่า แอนไอออน (Anion)
- เครื่องกำเนิดกระแสตรง (D.C.) เช่น เซลล์ไฟฟ้า หรือ แบตเตอรี่
(ข้อมูลจาก: www.nsm.or.th)
ในขั้นแรก Thyssenkrupp Steel Europe ต้องการใช้ไฮโดรเจนสีเขียวสำหรับเตาหลอมที่มีอยู่เพื่อทดแทนคาร์บอน โดยในระยะต่อไปก็จะมีการลดปริมาณการใช้คาร์บอนลงไปเรื่อย ๆ จากข้อมูลของกลุ่มเหล็กคาดว่า จะต้องใช้ไฮโดรเจน 20,000 ตันต่อปีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยภายในปี 2050 ตัวเลขอาจเพิ่มขึ้นเป็นถึง 720,000 ตันต่อปี
อิเล็กโทรไลเซอร์ที่มีกำลังการผลิตสูงถึง 500 เมกะวัตต์จะสร้างขึ้นบนพื้นที่ของ Steag ซึ่งจะช่วยให้สามารถผลิตไฮโดรเจนได้ถึง 75,000 ตันต่อปี ซึ่ง Krupp ระบุว่า เพียงพอสำหรับโรงงานที่ต้องการลดการใช้พลังงานโดยตรงในขั้นแรกของแผนการที่วางไว้ ทั้งนี้ โรงงานเหล็กใน Duisburg จะเชื่อมต่อกับบริษัทพลังงานใน Essen ด้วยสายท่อส่งไฮโดรเจนสองสาย โดยทั้งสองไซต์ตั้งอยู่ห่างกันประมาณ 3 กม.
อ้างอิง: https://www.etmm-online.com/thyssenkrupp-and-steag-invest-in-green-hydrogen-a-988256/
About The Author
You may also like
-
NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
-
แถลงจัดงาน THECA 2024 ผลักดันประเทศไทยสู่ฐานผลิต PCB ระดับโลก
-
อินฟอร์มาฯ – ก.พลังงาน ร่วมภาคีเครือข่ายด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2024
-
อินเตอร์แมค – ซับคอนไทยแลนด์ 2024 เปิดแล้ว ใหญ่จริง จัดเต็ม เทคโนโลยี นวัตกรรม สัมมนาเปิดทางรอดอุตสาหกรรมไทย
-
อินฟอร์มาฯ สานต่อความร่วมมือ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จัดงาน “Electric Vehicle Asia 2024” ยกระดับการผลิตไทยสู่การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลก