โครงการนำร่องไฮโดรเจน “สีเขียว” (CO2-NEUTRAL (“GREEN”) HYDROGEN) เริ่มต้นที่ยุโรป

โครงการนำร่องไฮโดรเจน “สีเขียว” ถูกจัดตั้งขึ้นในพื้นที่ของบริษัทผู้ผลิตเหล็ก voestalpine ที่เมือง Linz ประเทศออสเตรีย โดยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานมากถึง 6 ล้านเมกะวัตต์และสามารถสร้างไฮโดรเจน “สีเขียว” ได้ถึง 1,200 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่สุดของเทคโนโลยีนี้ในปัจจุบัน

โครงการ CO2 neutral production of hydrogen หรือ การผลิตไฮโดรเจนโดยไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในกระบวนการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า การใช้เทคโนโลยี (Proton exchange membrane, PEM) เพื่อการผลิตไฮโดรเจน “สีเขียว” มีความเป็นไปได้เชิงอุตสาหกรรมหรือไม่

โครงการนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนจำนวน 18 ล้านยูโร (หรือ 20 ล้าน USD) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสนับสนุนเงินทุนของสหภาพยุโรปที่ชื่อว่า “H2FUTURE” โดยร่วมกับ บริษัท voestalpine (ผู้ผลิตเหล็ก) VERBUND (ผู้ให้บริการด้านพลังงาน) Siemens (ผู้ผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์ประเภท Proton exchange membrane, PEM) Austrian Power Grid (ผู้สนับสนุนด้านพลังงานเพื่อเอื้ออำนวยต่อโครงการ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ VERBUND) และพันธมิตรด้านการวิจัย K1-MET (ออสเตรีย) และ Energy Research Centre of the Netherlands, ECN (เนเธอร์แลนด์) ร่วมกันวิจัยและพัฒนาเพื่อหาพลังงานหมุนเวียนมาทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในภาคอุตสาหกรรมเหล็กในระยะยาว โดยทดสอบศักยภาพในการให้บริการเชิงเครือข่ายและการชดเชยความผันผวนในระบบ Power Grid

นาย Wolfgang Hesoun ประธานกรรมการบริหารบริษัท Siemen AG ของออสเตรีย กล่าวว่า “ในโครงการได้ใช้พลังงานหมุนเวียนในการแยกน้ำออกเป็นส่วนๆ คือ ไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งกระบวนการนี้มีศักยภาพอย่างมากในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากภาคพลังงานและระบบเศรษฐกิจและทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น” พร้อมกล่าวเสริมอีกว่า “H2FUTURE” ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างพื้นฐานสำหรับอนาคตในการประยุกต์ใช้ electrolysis ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นเสาหลักของอุตสาหกรรมในอนาคต เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก โรงกลั่น การผลิตปุ๋ยและอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ไฮโดรเจนเป็นจำนวนมาก”

จากเป้าหมาย Global climate goals ที่ต้องการกำจัดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2050 ทำให้เกิดความท้าทายขึ้นในภาคอุตสาหกรรมและผู้ให้บริการพลังงานอย่างมากในการหาหนทางเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งในที่นี้ CO2-neutral (“green”) Hydrogen ถือเป็นหนทางเลือกในอนาคตที่มีแนวโน้มมากที่สุดสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่แหล่งพลังงานรูปแบบใหม่ (energy transition)

ในขณะที่นาย Herbert Einbensteiner ประธานกรรมการบริหารของบริษัท Voestalpine AG กล่าวว่า “พวกเราได้วางเป้าหมายอย่างชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในการผลิตเหล็กในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เริ่มจากการดำเนินโครงการนำร่องไฮโดรเจน “สีเขียว” ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก บนพื้นที่โรงงานของเราในเมือง Linz ซึ่งนับเป็นความสำเร็จในก้าวย่างสำคัญของการขับเคลื่อนสู่เทคโนโลยีนี้ ส่วนในเรื่องของเป้าหมาย global climate targets ปัจจุบันเราได้ทำการค้นคว้าเพื่อหาเทคโนโลยีลูกผสม (Hybrid technology) เพื่อเชื่อมโยงระหว่างระบบเตาหลอมถ่านหิน (coke/coal based furnace route) ที่มีอยู่กับเตาอาร์คไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสีเขียว (electric arc furnace route powered by green electricity) ซึ่งบางส่วนมาจาก ไฮโดรเจน “สีเขียว” ด้วย” โดยเสริมว่า

“เงื่อนไขเบื้องต้นที่สำคัญในการวางแผนด้านไฟฟ้าสีเขียวและไฮโดรเจน “สีเขียว” (green electricity and green hydrogen) คือการมีพลังงานหมุนเวียนในปริมาณที่เพียงพอในระดับราคาที่สามารถแข่งขันได้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งนี่จะเป็นหนทางเดียวที่จะเกิดการหันมาใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการแข่งขันได้”

green-hydrogen-1

จากปัจจัยด้านวัตถุดิบ แหล่งพลังงานและความสามารถในการเก็บสะสมได้ ทำให้ไฮโดรเจน “สีเขียว” สามารถสนับสนุนการลดคาร์บอน (decarbonizing) ในพลังงานและกระบวนการที่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยศักยภาพดังกล่าวทำให้น่าสนใจต่อการนำไปใช้ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่งโดยเฉพาะการขนส่งสินค้าและการเดินทางโดยรถไฟ ยิ่งไปกว่านั้น responsive electrolysers ยังช่วยตอบสนองต่อการบริหารจัดการ Power grid สำหรับ overloaded transmission networks ที่จะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ได้  กล่าวโดยรวมคือ H2FUTURE ถือเป็นต้นแบบของการร่วมมือ cross-sector cooperation ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม

นาย Wolgang Anzengruber ประธานกรรมการบริหารของบริษัท VERBUND ได้อธิบายว่า “การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้พลังงานอย่างไม่สม่ำเสมอและมีความผันผวน เช่น ลม แสงอาทิตย์  ในขณะที่ เทคโนโลยีไฮโดรเจน “สีเขียว” นี้จะมาช่วยในการจัดเก็บกระแสไฟฟ้าและทำให้สามารถนำไปใช้ได้อย่างคุ้มค่าและมีประโยชน์มากขึ้น”

นาย Bart Biebuyck กรรมการผู้จัดการของ Fuel Cell Hydrogen Joint Undertake (FCH JU) กล่าวว่า “โครงการ H2FUTURE เป็นหนึ่งใน Flagship Project ของ FCH JU มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ European electrolyser OEMs พัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพและศักยภาพได้ตามข้อกำหนดของภาคอุตสาหกรรมยุโรปที่ต้องการให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” โดยสำหรับโครงการนี้ FCH JU ได้จัดสรรเงินเพื่อสนับสนุนด้านการวิจัยถึง 12 ล้านยูโร (13.2 ล้าน USD)

หากท้ายที่สุดแล้วเทคโนโลยีดังกล่าวมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ หนทางนี้จะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ราว 1 ใน 3 ภายในระหว่างปี 2030 ถึง 2035 ในขณะที่ บริษัท voestalpine จะยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มการใช้ ไฮโดรเจน “สีเขียว” ในกระบวนการผลิตเหล็กมากขึ้น โดยคาดว่าภายในปี 2050 กลุ่มบริษัทจะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าร้อยละ 80

หมายเหตุ – หากสนใจชมวีดีโอเกี่ยวกับโครงการ (ภาษาเยอรมัน) เข้าชมได้ตามลิ้งค์นี้ https://www.youtube.com/watch?v=0hzZXH_YdEY

อ้างอิง: thaiindustrialoffice.wordpress.com

บทความที่เกี่ยวข้อง: 

อนาคตของพลังงานจากไฮโดรเจน | “The World is Ready for Hydrogen”

About The Author