purchasing a new machine

Making an investment and purchasing a new machine always poses a risk, here are ten mistakes you should avoid. ( Source: Neonbrand (Unsplash) )

10 ข้อ ‘ควรเลี่ยง’ ในการซื้อเครื่องจักรใหม่

การซื้อเครื่องจักรใหม่ๆ เกี่ยวข้องกับต้นทุนและความพยายามในการสรรหาเสมอ แต่มันจะยิ่งน่ารำคาญใจเมื่อพบว่า คุณมาผิดทาง! ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ETMM จึงชวนคุณไปขบคิดกับ 10 ข้อผิดพลาดที่คุณควรหลีกเลี่ยงในการเลือกซื้อเครื่องจักร กันพลาดกันไว้ก่อนดีกว่าค่ะ

1. Insufficient requirements analysis / การวิเคราะห์ความต้องการที่ยังไม่เพียงพอ

แน่นอนว่า ‘ความต้องการแต่แรก’ ต้องถูกกำหนดไว้แล้วอย่างชัดเจนในโปรเจ็ค มันจะง่ายเข้าถ้าทำไปตามนั้น นั่นคือ ‘อะไรที่คุณต้องการจริงๆ” คำถามข้อนี้ต้องมีคำตอบอยู่แล้วตั้งแต่แรกอย่างแน่นอน เพราะหากการวิเคราะห์มีอะไรผิดพลาดหรือขาดหายไป ความต้องการจึงไปหยุดอยู่ตรงที่ว่า เครื่องจักรนั้นต้องทำทุกสิ่งอย่างได้แบบครอบจักรวาล แต่โชคร้ายตรงที่เครื่องจักรที่สามารถทำได้ทุกสิ่งอย่างเป็นสิ่งที่หาได้ยากมากและมีราคาแพงโดยไม่จำเป็น

2. Not include operating personnel in the planning process / ไม่รวม ‘ผู้รู้จริง’ ไว้ในแผน!

หากคุณไม่ถามผู้ปฏิบัติการจริงในไซต์งาน ก็นับว่าพลาดอย่างแรง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า บุคลากรฝ่ายผลิตมักจะรู้ดีที่สุดว่า ฟังก์ชั่นใดที่เครื่องจักรต้องมี เพราะทุกๆ วันพวกเขาคือกลุ่มคนที่ได้เห็นว่า ปริมาณการผลิต คุณภาพ หรือขนาดของชุดการผลิตต้องเป็นไปอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผลิต

 3. Stakeholders ignored / มองข้ามผู้มีส่วนได้-เสีย

อย่าลืมว่า ความสำเร็จของโปรเจ็คใดก็ตามจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องมีส่วนร่วม นี่เป็นงานยากแต่ขาดไม่ได้ค่ะ! เพราะไม่ได้มีแค่ฝ่ายการผลิตที่มีความต้องการ แต่ยังมีฝ่ายขายและฝ่ายบริการด้วย เพราะหากเราไม่รู้ไม่สนใจไม่รวบรวมความต้องการของทุกฝ่าย ก็จะมีเพียงมุมมองจากด้านเดียว และผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีเพียงด้านเดียว

4. Not insisting on uniform offers / ไม่ยืนยันว่า ขอคำเดียว!

ความเข้าใจตรงกันนะ! ซัพพลายเออร์ทุกรายที่เราขอราคาไปต่างก็มี รูปแบบ หรือ templates ต่างๆ ของตัวเองมานำเสนอตามแต่ที่ตัวเองพอใจ (อยากให้เราใช้แบบนั้นแบบนี้) แต่สำหรับผู้สอบถาม (ฝ่ายจัดซื้อ) นั่นหมายความว่า คุณกำลังได้รับข้อเสนอที่แตกต่างกันมากมายล้นพ้น จนไม่อาจเปรียบเทียบและประเมินผลได้โดยง่าย ดังนั้นคุณควรย้ำชัดไปเลยถึงข้อเสนอเดียวที่คุณต้องการ

5. No requirement specification / ไม่กำหนดขอบเขตความต้องการ

เรื่องสำคัญไม่ควรพลาดอีกอย่าง ซึ่งมันยากที่จะเรียบเรียงก็จริง แต่ถ้าคุณมีก็คุ้ม เชื่อสิ หากข้อกำหนดหรือความต้องการไม่ได้ถูกขีดเขียนไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร นั่นหมายถึง ‘พื้นที่สีเทา’ สำหรับซัพพลายเออร์ แปลได้อีกว่า มันสามารถหมุนไปได้รอบทิศทางโดยอิสระ จากประสบการณ์ในการใช้งานแบบนั้นแบบนี้ บลาๆๆ… แน่นอนว่าจะไม่เกิดประโยชน์อันใดต่อลูกค้า เพราะฉะนั้นระวังพื้นที่สีเทาค่ะ!

purchasing a new machine
Making an investment and purchasing a new machine always poses a risk, here are ten mistakes you should avoid. ( Source: Neonbrand (Unsplash) )

6. Machine delivered too early and immature / ส่งเร็วเกินไปและยังไม่พร้อมใช้งาน!

มีเพียงช่วงเวลาเดียวที่เหมาะสมสำหรับการส่งมอบเครื่องจักร ก็คือ เมื่อเครื่องพร้อมจริงๆ  แปลได้ว่า เครื่องจักรนั้นๆๆ ควรถูกปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่โรงงานของผู้ผลิตเครื่องจักรพิเศษนั้น จนกว่าจะได้ค่าที่เหมาะสมตามข้อกำหนด เพราะเครื่องจักรที่พร้อมเต็มที่เมื่อทำการทดสอบที่ไซต์งานของลูกค้าด้วยระยะเวลาที่สั้นที่สุด จะสามารถเริ่มการผลิตได้อย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลา!

7. Interfaces are not specified or coordinated / รูปแบบการเชื่อมต่อที่ไม่รู้กัน!

เชื่อสิว่าเรื่องระดับ Big Surprise ที่คุณไม่ต้องการพบที่สุดก็คือ เมื่อมีการส่งมอบ single machines ในสายการผลิตของคุณ แต่เกิดเรื่องโชคร้ายที่มันดัน (ต่อ) เข้ากันไม่ได้! และนี่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะจากนั้นการใช้งานแบบดัดแปลง (Adaptation work) ด้วย adaptor ต่างๆ ก็เริ่มขึ้น (อย่างไม่อาจเลี่ยงได้) ซึ่งสิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายแสนแพง ดังนั้น ควรระบุสเป็คของอินเตอร์เฟซและการประสานงานไว้ล่วงหน้า อย่าให้พลาด!

8. Automation: man and machine are not the same / ระบบอัตโนมัติ: มนุษย์และเครื่องจักรไม่เหมือนกัน

พึงระลึกว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแบบแมนนวล หรือ ผลิตด้วยฝีมือมนุษย์ก่อนหน้านี้ ควรจะต้องได้รับการประเมินก่อนเสมอว่า เหมาะสำหรับการผลิตแบบอัตโนมัติหรือไม่ เพียงใด เพราะเป็นไปได้ยากมากที่ระบบการผลิตที่ต้องเป็นไปตามหลักสรีรศาสตร์สำหรับมนุษย์  (ergonomic production for humans) จะสามารถใช้เครื่องจักรทำได้เหมือนๆ กัน นี่เป็นข้อควรระวังสำหรับกระบวนการผลิตที่ไม่เป็นไปตาม ergonomic สำหรับมนุษย์ค่ะ!

9. Automation of unsuitable processes / อัตโนมัติอย่างไม่คู่ควร!

Grown processes หรือ งานที่ไม่จบในกระบวนการเดียว มักจะไม่เหมาะกับการใช้ระบบอัตโนมัติ หากมีการใช้ระบบอัตโนมัติ ควรมีการตั้งคำถามถึงกระบวนการทำงานก่อน ว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด และหากต้องใช้ จะต้องมีการปรับกระบวนการอย่างไรให้เข้ากับระบบอัตโนมัติ เพราะอาจเป็นไปได้ว่า ทุกสิ่งอย่างจะซับซ้อนขึ้นโดยไม่จำเป็น

10. Procurement of machines as secondary task / การจัดซื้อเครื่องจักรเป็นภารกิจรอง

จากคำพูดของผู้จัดการฝ่ายผลิตที่บอกว่า “ตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น ผม/ฉันมีภาระกิจรายวันมากมายหลายสิ่ง ตั้งแต่ 18.00 น. ผม/ฉันจึงได้หันมาดูแลว่า การผลิตของเราไม่ล้าสมัย เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมาก” นั่นคือเรื่องของเรื่อง (นี้) แน่นอนว่า นั่นเป็นเหตุผลที่การจัดซื้อ/จัดหา (เครื่องจักร) ไม่ควรเป็นไปในทิศทางนั้น

 

อ้างอิง: 

https://www.etmm-online.com/ten-mistakes-to-avoid-when-purchasing-a-new-machine-a-885064/

About The Author