Finland_Circular_Economy

Tools Life: ฟินแลนด์สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างไร

เก็บตกจากงาน Asean Sustainable Energy Week หรือ ASE 2019 ที่ไบเทคบางนาเมื่อสัปดาห์ก่อน Toolmakers ได้มีโอกาสเข้าร่วมในวงเสวนาด้านพลังงานโดยมีสถานทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทยเป็นผู้ร่วมจัดในหัวข้อ “Finland towards the Circular Economy”

ตัวอย่างการสร้าง Circular Economy ในฟินแลนด์ ประเทศที่ประกาศตัวเองเป็นผู้นำของ Cleantech หรือ Greentech ถูกจัดเป็นอันดับหนึ่งของ The Greenest Country in the world อันดับสองในดัชนีประเทศที่มีนวัตกรรมด้าน Cleantext ทุกวันนี้กว่าร้อยละ 40 ของพลังงานในฟินแลนด์ผลิตจาก renewable sources หรือแหล่งพลังงานหมุนเวียน แม้ว่าในระดับโลกคิดเป็นส่วนแบ่งเพียงร้อยละ 13

เป็นที่น่าสังเกตุว่าประเทศที่มีความเจริญด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรม วิศวกรรม วิถีชีวิตของประชาชนพลเมืองกลับยิ่งกลับคืนสู่ธรรมชาติสู่ความเรียบง่ายมากขึ้น นวัตกรรมถูกออกแบบมาแสดงความรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะความที่เจริญไปไกลก็ยิ่งมองเห็น Waste ที่เกิดมากขึ้นๆ การนำวัสดุกลับมาใช้ไหม่ การนำกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตอีกครั้ง กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หมุนวนไปแบบนี้จนเป็นวงจรปิด นอกจากจะเป็นวิธีที่ชาญฉลาด ดีต่อโลกดีต่อใจ สร้างภาพลักษ์ที่ดีให้กับองค์กร ก็ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ว่าแต่ความยาก-ง่ายของกระบวนการนี้อยู่ที่ไหน เริ่มจากอะไร

เรามาเข้าไปสำรวจกระบวนการสร้าง Circular Economy ของฟินแลนด์กันว่าเขามีกระบวนการอย่างไร โดยเฉพาะในด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ (Transport and Logistics)

Use: มาใช้บริการสาธารณะกันเถอะ

ตัวเลือกมากมายในการสัญจร หรือ mobility choices ของพลเมืองจะโฟกัสไปที่ ‘การใช้บริการ’ และความรู้สึกร่วมของชุมชน (sense of community) มากกว่าการเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนตัวสักคัน

Consumer: ดีต่อใจผู้บริโภค

Sustainably produced biofuels: การบริโภคเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตอย่างยั่งยืนจะเป็นตัวเลือกที่ดึงดูดใจมากกว่าตัวเลือกอื่นๆ

From company to company: จากองค์สู่องค์กรแบบวิน-วิน

Subcontractors หรือ ผู้รับจ้างช่วง (เช่น บริการขนส่งต่างๆ) จะเป็นบริการที่เป็นที่ต้องการมากขึ้นเพื่อเข้ามาจัดการโซลูชันด้านโลจิสติกส์แบบยั่งยืน ในขณะที่ฝ่ายจัดซื้อจัดหาและการสร้างแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจขององค์กรจะชี้แนะพนักงานให้เห็นความสำคัญของ sustainable mobility หรือ การเคลื่อนที่/การสัญจรแบบยั่งยืนมากขึ้น

Retail: เปลี่ยนวิถีการค้าปลีกสู่บริการครบวงจร

ยานพาหนะจะได้รับการพัฒนาให้ดีกว่าเดิมทั้งในด้านของประหยัดพลังงานและวัสดุ “Cars will no longer be owned”จะไม่มีการครอบครองรถยนต์อีกต่อไป และบริการแบบครบวงกร (ด้านการสัญจรหรือการขนส่ง) จะถูกนำเสนอเข้ามาแทนที่การครอบครองยานพาหนะสักคัน

Distribution: กระจายพื้นที่บริการให้มากที่สุด

Sustainable energy พลังงานแบบยั่งยืนจะกลายเป็นสิ่งที่หาซื้อ หาใช้ เข้าถึงได้ง่าย การกระจายพื้นที่บริการด้านเชื้อเพลงชีวภาพและพลังงานไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในความเป็นจริง Mobile applications สายต่างๆ จะเชื่อมต่อกับการสัญจรรูปแบบต่างๆ ที่เปิดให้บริการ

The Life Cycle will continue in a new loop: วงจรการใช้สินค้าแบบหมุนเวียน ‘ซื้อมา-ใช้หมด-ส่งกลับ’

วิถีโลจิสติกส์แบบใหม่ ตัวอย่างเช่น  Reverse Logistics หรือ โลจิสติกส์ย้อนกลับที่จัดการนำสินค้าย้อนกลับมายังผู้ผลิตจะมีบทบาทมากขึ้นในการเข้ามาจัดการ เก็บกลับ สินค้าและวัสดุเพื่อนำกลับไปสู่วงจรของการรีไซเคิลและนำกลับไปใช้ใหม่

Primary sector: ภาคหลักนำไปก่อน

การขนส่งจะใช้พลังงานแบบยั่งยืนที่ทั้งประหยัดพลังงาน ประหยัดงบและดีต่อระบบนิเวศน์ ก็คือพวกเชื้อเพลิงที่ผลิตจากวัตถุดิบหมุนเวียนต่างๆ

Material Processing: หมุนแล้วหมุนอีก

เชื้อเพลิงจะต้องผลิตมาจากวัตถุดิบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และจากการใช้วัสดุชีวภาพที่ถูกใช้แล้วในโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและยานพาหนะ

Manufacturing Industry: หมุนวนจนสร้างงานสร้างการผลิต

การขนส่งสาธารณะแบบอัจฉริยะและสะดวกรวดเร็วแบบ easy-to-use จะทำให้เกิดบริการด้านการขนส่ง/สัญจร หรือ mobility services มากมายชนิดถึงประตูบ้าน ส่วนโลจิสติกส์ก็จะถูกปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยโซลูชันแบบดิจิทัล

 

*Reverse Logistics (โลจิสติกส์ย้อนกลับ) หมายถึง กระบวนการจัดการสินค้าย้อนกลับจากลูกค้ามายังผู้ผลิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียกกลับสินค้าคืน, สินค้าเสียหาย, สินค้าไม่ได้มาตรฐาน หรือสินค้าหมดอายุการใช้งาน

การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือสินค้าย้อนกลับ (Reverse Logistics) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่า ใช้ประโยชน์ในมูลค่าสินค้าที่ยังมีอยู่ หรือทำลายทิ้งอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ องค์การจะต้องดำเนินการด้วยความเต็มใจและจริงใจที่จะรับคืนสินค้าด้วยความรวดเร็วที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ (เครดิต: www.logisticafe.com)

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:

The Last Straw: พลาสติกฟอรัม 2019 กับแนวโน้มเศรษฐกิจหมุนเวียน

พลังงานจากเส้นอุด้ง

แบรนด์ดังผนึกกำลังยกระดับการรีไซเคิล PET ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพครั้งแรกของโลก

About The Author