เป้าหมายในการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นั้น ทำให้บริษัทต่าง ๆ หาแนวทางเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูง ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานหมุนเวียน การเปลี่ยนมาใช้วัสดุจากแหล่งที่มีคาร์บอนฟุตพรินต์ต่ำ เป็นต้น
สำหรับวัสดุ มี 2 แนวทางในการลดการปล่อยคาร์บอน คือ
- การใช้วัสดุรีไซเคิล เนื่องจากคาร์บอนฟุตพรินต์ได้เกิดขึ้นไปแล้วกับผลิตภัณฑ์ก่อนหน้า แล้วจึงนำวัสดุมารีไซเคิล ดังนั้นวัสดุรีไซเคิลจึงไม่มีการปล่อยคาร์บอนเหมือนกับวัสดุที่ผลิตใหม่
- การใช้วัสดุพลาสติกชีวภาพที่ผลิตมาจากพืชแทนการใช้วัสดุพลาสติกที่ผลิตจากฟอสซิลซึ่งมีคาร์บอนฟุตพรินต์สูง
สำหรับตัวอย่างในบทความนี้ Ford ใช้ทั้ง 2 แนวทาง คือ นำวัสดุพลาสติกรีไซเคิลมาผสมกับไฟเบอร์ที่เป็นเศษเหลือทิ้งหลังเก็บเกี่ยวผลจากต้นมะกอก ซึ่งต้นมะกอกมีการผลิตในปริมาณมหาศาลทั่วโลก การนำของที่จะทิ้งมาใช้ประโยชน์เป็นการเพิ่มมูลค่าและช่วยลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ
Ford มุ่งสู่นวัตกรรมยานยนต์ที่ยั่งยืน โดยนำเศษของต้นมะกอกที่เหลือ เช่น กิ่ง ก้านสาขา และใบไม้ มาผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ความคิดริเริ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจกต์ ‘Compolive’ ที่มีเป้าหมายในการทดแทนพลาสติกด้วยสารประกอบชีวภาพ ซึ่งมีส่วนส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจหมุนเวียน
Ford สร้างมาตรฐานใหม่ในการผลิตยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการใช้เศษจากต้นมะกอกในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
(ที่มา: Ford)
ผลของต้นมะกอกสามารถนำมารับประทานได้ อาทิเช่น ขนม น้ำมันมะกอก และมะกอกดำปรุงรส (ทาปานาท) Ford คิดค้นการใช้กิ่งก้านสาขาและใบของมะกอกที่ถูกทิ้งระหว่างการเก็บเกี่ยวมาใช้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น การทดลองนี้เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจกต์ Compolive ที่มุ่งเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโดยการใช้เศษเหลือทิ้งจากต้นมะกอกซึ่งเป็นสารประกอบชีวภาพมาใช้แทนพลาสติก และส่งเสริมในเรื่องของเศรษฐกิจหมุนเวียนอีกด้วย
การใช้เศษเหลือทิ้งจากต้นมะกอกมาผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นั้นสามารถลดการใช้พลาสติกในชิ้นส่วนดังกล่าวและช่วยให้อากาศสะอาดขึ้นเนื่องจากไม่มีการเผาเพื่อกำจัดขยะที่เป็นเศษเหลือทิ้ง
วิศวกรของ Ford ใช้เศษเหลือทิ้งจากต้นมะกอกนำมาผลิตต้นแบบที่พักเท้าและชิ้นส่วนที่เป็นพื้นที่วางสัมภาระสำหรับยานยนต์ จากการทดสอบแสดงให้เห็นว่าชิ้นส่วนที่ผลิตมีความแข็งแรงทนทาน ทั้งนี้ Ford กำลังประเมินกระบวนการสำหรับการผลิตปริมาณมากเพื่อต่อยอดการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า
เศษวัสดุเหลือของต้นมะกอกมีแหล่งกำเนิดมาจากสวนมะกอกในแคว้น Andalusia ประเทศสเปน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีการผลิตน้ำมันมะกอกมากที่สุดในโลก
วิศวกรจากสำนักงานใหญ่ภาคพื้นยุโรปของฟอร์ด ในเมืองโคโลญจน์ ประเทศเยอรมนี ใช้เทคโนโลยีการจำลองอันชาญฉลาดทดสอบความสามารถในการใช้งานของต้นมะกอกในเรื่องของความทนทาน ความแข็งแรง และความสามารถในการขึ้นรูป จากนั้นจึงสร้างต้นแบบการผลิตที่ประกอบด้วยไฟเบอร์ 40 เปอร์เซ็นต์ และพลาสติกโพลีโพรพีลีนรีไซเคิล 60 เปอร์เซ็นต์ วัสดุนี้เมื่อได้รับความร้อนและฉีดขึ้นรูปก็จะเป็นรูปทรงของชิ้นส่วนที่เราต้องการ
“เราต้องทำการทดลองด้วยสัดส่วนของวัสดุเหลือทิ้งและโพลีโพรพีลีนที่แตกต่างกันเพื่อให้ได้ส่วนผสมที่ใช่ ซึ่งเป็นงานที่ยากมาก แต่สุดท้ายก็ทำให้เราผลิตวัสดุได้โดยที่ไม่ลดทอนความแข็งแกร่ง ความทนทาน และความยืดหยุ่นไปได้” Thomas Baranowski ผู้เชี่ยวชาญการฉีดขึ้นรูปของ Ford กล่าว
“เราสามารถใช้เศษเหลือทิ้งจากต้นมะกอกมาแทนวัตถุดิบจากปิโตรเลียมได้เป็นอย่างมากในการผลิตชิ้นส่วนตกแต่งภายใน ไฟเบอร์ที่ยั่งยืนสามารถสร้างลักษณะพื้นผิวที่มีความเฉพาะตัวและลูกค้าสามารถมองเห็นได้” Inga Wehmeyer, Project Lead ของ Ford กล่าว
แนวคิดเรื่องการใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุชีวภาพเพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรการวัสดุที่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้เพื่อเข้าใกล้เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/
บทความที่น่าสนใจ
- SJ Dimmock ยกระดับการผลิตด้วยแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แนวตั้งจาก Mazak
- กว่าจะมาเป็นพลาสติกที่ใช้ในวิศวกรรมยานยนต์
- อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพร่วมหารือลดการปล่อยคาร์บอน มุ่งสู่ความยั่งยืน
- เครื่องมือตัดระดับไมโครกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด
About The Author
You may also like
-
NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
-
SuperSource : VEGAPULS 6X เซนเซอร์วัดระดับแบบต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีเรดาห์แบบพรีเมียม
-
แถลงจัดงาน THECA 2024 ผลักดันประเทศไทยสู่ฐานผลิต PCB ระดับโลก
-
อินฟอร์มาฯ – ก.พลังงาน ร่วมภาคีเครือข่ายด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2024
-
อินเตอร์แมค – ซับคอนไทยแลนด์ 2024 เปิดแล้ว ใหญ่จริง จัดเต็ม เทคโนโลยี นวัตกรรม สัมมนาเปิดทางรอดอุตสาหกรรมไทย