งานเมทัลเล็กซ์ 2019 เริ่มขึ้นอย่างยิ่งใหญ่โดยมีเยอรมนีเป็น Partner Country อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 งานเทคโนโลยีโลหะการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียนจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “New Smart Technologies” ส่วนเยอรมนีเปิดตัวด้วยแนวคิด “German High Tech in Metal Working” โดยมี umati เป็นพระเอกบนพื้นที่สีหวานชมพู-ฟ้าสุดสะดุดตา ร่วมกับษริษัทสัญชาติเยรมันอีก 48 บริษัทระดับโลกที่มาร่วมนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์เช่น Siemens, Chiron, Emung Franken, Guhring, Schutte, FFG, Zoller, Index, Mapal และ Grob
ดร.วิลฟรีท เชเฟอร์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ผลิตเครื่องจักรกลแห่งเยอรมนี (VDW) กล่าวในงานแถลงข่าวเปิดงานในหัวข้อ “การพัฒนาความสัมพันธ์ทางธุรกิจแมชชีนทูลส์ ระหว่างไทย-เยอรมนี สถานะทางเศรษฐกิจ และภาพรวมของอุตสาหกรรมแมชชีนทูลส์ในเยอรมนีต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก” โดยย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดของ machine tools ว่ากำลังจะเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานไฟฟ้าและการขับขี่อัตโนมัติ (แบบไร้คนขับ) พัฒนาการครั้งนี้ส่งผลให้เกิดคำถามใหม่ๆ ขึ้นมากมาย กระทั่งนำไปสู่ความไม่มั่นใจในกลุ่มผู้ผลิตและซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนยานยนต์ ประกอบกับปัจจัยด้านอื่นๆ ที่ร่วมกันสั่นคลอนการค้าเครื่องมือเครื่องจักรและ supply chain ในระดับโลก ทั้งการชะลอตัวของยอดสั่งซื้อที่เกิดจากปัญหาความขัดแย้งในเรื่องนโยบายทางการค้าและเศรษฐกิจ ส่งผลถึงความขัดแย้งในเรื่องภาษี จุดวิกฤติที่กำลังมีปัญหาอยู่หลายๆ แห่งในโลก ไปจนถึงเรื่องของ Brexit
ตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกยังคงเป็นจีนด้วนส่วนแบ่ง 29% ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับที่ 13 เมื่อปีที่ผ่านมาด้วยมูลค่าตลาด 979 ล้านยูโร โดยนำเข้าสินค้าเทคโนโลยีจาก เยอรมนี ญี่ปุ่นและอิตาลีมากที่สุด สุดท้ายกล่าวสรุปถึงเทคโนโลยีสะอาดด้าน machine tool ของเยอรมันที่ช่วยลดมลพิษในอากาศในตลาดอาเซียน และตอกย้ำถึง Electro-mobility หรือการเคลื่อนที่อย่างอิสระด้วยระบบไฟฟ้า ว่าต้องใช้เวลาในการขยายการยอมรับ ด้วยเหตุผลมากมายหลายประการ สำคัญคือเรื่องของ charging infrastructure นอกพื้นที่ตัวเมืองที่ยังขาดแคลนในเรื่องของสถานีเติมพลังงาน
ส่วนหนึ่งของคำกล่าวนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในภาคการผลิตที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่ง Toolmakers จะติดตามมาเล่าสู่กันฟังโอกาสต่อไป
เครื่องจักรที่เป็นไฮไลท์ในงานแสดงครั้งนี้ของ German Pavilion ก็คือ Multi-Spindle Automatics รุ่น SG18 40-01 จากบริษัท Alfred H. Schuette Gmbh & Co.KG ที่ควบคุมการผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ พร้อมให้ความเร็วสูงสุดในการกัดชิ้นงานแบบหมุนที่มีขนาดเพียง 20 มม. ได้
และจากบริษัท Gebr. Heller Maschinenfabrik Gmbh ที่จัดแสดงเครื่องแมชชีนนิงเซ็นเตอร์แบบ 5 แกน รุ่น HF 3500 ที่ให้ความเสถียรในการกัดชิ้นงานทั้ง 5 มุม พร้อมใบมีดโรตารีภายในและความหลากหลายในการกัดจากระบบ simultaneous 5-axis machining
สิ่งที่กำลังมาแรงในเวลานี้ ซึ่งเราจะได้เห็นโชว์เคสมากมายจนละลานตา นอกเหนือจากกองทัพ Robot & Cobot ในงาน Metalex ก็คือเทคโนโลยีการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ หรือ AM เทคโนโลยีเกี่ยวกับ 3D Printing ที่ทำให้เราต้องเดินเข้าไปค้นหาว่าใครมีดีอะไรมาอวดกันบ้างในงานนี้ ทั้งเครื่องพิมพ์พลาสติก เครื่องพิมพ์โลหะ เรื่อยไปจนถึงวัสดุที่นำมาใช้ในกระบวนการพิมพ์ มีวัสดุคอมโพสิทมาให้เลือกกันหลากหลายเกรด ทั้งในรูปแบบที่ย่อยสลายได้อย่าง PLA หรือ พอลีแลคติคแอซิด (Polylactic acid) ซึ่งส่วนผสมหลักมาจากข้าวโพดและมันสำปะหลัง เป็นวัสดุราคาถูกสุดๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการพิมพ์สามมิติ สำหรับงาน Prototype หรือ งานต้นแบบต่าง ๆ เป็นที่รู้กันว่า พลาสติกย่อยสลายได้แบบ PLA กำลังถูกนำมาใช้มากขึ้นในตลาด 3D Printing บ่งบอกว่าวัสดุทดแทนหรือวัสดุชีวภาพกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดโลก นอกเหนือจากการใช้งานในการผลิตบรรจุภัณฑ์
การหมุนวียนนำวัสดุหรือวัตถุดิบที่ใช้แล้วในอุตสาหกรรมกลับมาเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย จากแนวโน้มในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy โดยเฉพาะในประเทศผู้นำอุตสาหกรรมอย่างเยอรมนี รวมไปถึงการใช้เครื่องจักรมือสอง ที่มีมาให้เลือกหลากหลายประเภทการใช้งานที่บูธของ PRESSEN HASS
umati อินเตอร์เฟซมาตรฐานใหม่ ที่มาโชว์เคสศักยภาพการเชื่อมต่อไร้พรมแดนในโลกของ Machine Tools ครั้งแรกในเอเชีย ไฮไลท์สำคัญไม่ควรพลาดที่ German Pavilion โดยมี ‘Mr.umati’ – ดร.อเล็กซานเดอร์ บรูสซ์ (Dr.Alexander Broos) ผู้บริหารฝ่ายวิจัยและเทคโนโลยีสมาคมผู้ผลิตเครื่องจักรกลแห่งเยอรมนี (VDW) ในฐานะผู้ริเริ่มและพัฒนาโครงการ มาร่วมให้ข้อมูล umati อย่างกระจ่างแจ้ง พร้อมได้เห็นประสิทธิภาพการใช้งานจริงๆ ผ่านการเชื่อมต่อเครื่องจักรจาก 3 แบรนด์ดังคือ เครื่อง DMU 50 จาก DMG Mori, เครื่องสลักเลเซอร์จาก Trumpf และเครื่อง Profitrainer จาก Heller
สีสันสดใสที่ German Pavilion
ฝึกเชื่อมงานผ่าน Virtual Welding
สัญลักษณ์อีกอย่างของเยอรมนี ที่ไม่มีถือว่าพลาดอะไรไป
พลาดไม่ได้กับ Toolmakers.co เพียงมาร่วมกิจกรรมภายในบูธ toolmakers Hall 105 บูธที่ 5B38a (บริเวณ VIP Lounge)
รับหนังสือและของที่ระลึกทันทีอย่างไม่มีรีรอ
ยังมีเวลาถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน ไปต่อกันเลยค่ะ
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง:
About The Author
You may also like
-
DigiTech ASEAN Thailand & AI Connect 2024 พบกับโซลูชันเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์กว่า 350 แบรนด์
-
NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
-
SuperSource : VEGAPULS 6X เซนเซอร์วัดระดับแบบต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีเรดาห์แบบพรีเมียม
-
แถลงจัดงาน THECA 2024 ผลักดันประเทศไทยสู่ฐานผลิต PCB ระดับโลก
-
อินฟอร์มาฯ – ก.พลังงาน ร่วมภาคีเครือข่ายด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2024