เยอรมนี/สวิตเซอร์แลนด์ — WZL ของ RWTH Aachen University โดยความร่วมมือกับสถาบันการจัดการเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย St. Gallen เริ่มต้นการศึกษาเปรียบเทียบการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ในระดับนานาชาติโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อระบุแนวทางปฏิบัติสำหรับการบูรณาการและการประยุกต์ใช้ “AI ในการปฏิบัติงาน” หรือ “AI in Operations”
แม้ว่า AI จะเข้ามาถึงชีวิตประจำวันส่วนตัวของเรานานแล้วผ่านแอปพลิเคชัน เช่น Amazon Alexa แต่บริษัทผู้ผลิตทั่วไปก็ยังมักลังเลใจที่จะนำ AI ไปใช้งานอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งในเรื่องของความพร้อมใช้งานของ Data (จำนวนมหาศาล) หรือ availability of data ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและตัวเลือกต่างๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น นั่นเพราะปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้เราสามารถประมวลผลข้อมูลปริมาณมากได้ และสามารถช่วยในการคาดการณ์และอำนวยความสะดวกในการตัดสินใจ และเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพเหล่านี้ บริษัทต่างๆ จะต้องนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในรูปแบบที่เป็นเป้าหมายเพื่อการสร้างมูลค่า
แต่ด้วยข้อกำหนดขององค์กรใดบ้างที่บริษัทต้องปฏิบัติตามเพื่อให้มั่นใจว่าการใช้ AI ประสบความสำเร็จ? ทำอย่างไรโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีอยู่จะสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ในทางที่เป็นประโยชน์และนำไปใช้สำหรับแอปพลิเคชัน AI ต่างๆ ได้? บริษัทต่างๆ จะระบุและประเมินขอบเขตของแอปพลิเคชันสำหรับแอปพลิเคชัน AI ได้อย่างไร? ปัจจัยความสำเร็จแบบใดที่ต้องนำมาพิจารณาในการดำเนินการและการจัดการในระยะยาว เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชัน AI ต่อไป?
- การแพทย์แห่งอนาคต หุ่นยนต์ AI และการรักษาแบบอัตโนมัติ
- AI ช่วยในการผลิตลดของเสียเป็นศูนย์ได้อย่างไร
- เราเชื่อใจ ‘ปัญญาประดิษฐ์’ หรือไม่
- AUTOMATION SOLUTION: เมื่อหุ่นยนต์ผสานรวมกับการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ (AM)
เพื่อค้นหาคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้และระบุกลยุทธ์ แนวคิด และตัวอย่างการใช้งานที่เป็นนวัตกรรมของการนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้งานที่ประสบความสำเร็จ Werkzeugmaschinenlabor หรือ WZL ของ RWTH Aachen University ร่วมกับสถาบันการจัดการเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัย St. Gallen ได้เริ่มต้นทำสิ่งที่เรียกว่า international consortium benchmarking หรือการเปรียบเทียบการใช้งาน AI ระหว่างสมาคมในระดับนานาชาติ โดยได้ร่วมกันกับกลุ่มอุตสาหกรรมของบริษัทผู้ผลิต 6 แห่ง ถึงแนวทางปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จสำหรับการผสานรวมและการประยุกต์ใช้ “AI ในการปฏิบัติงาน” จะได้รับการระบุชี้ชัดถึงปัจจัยความสำเร็จที่ได้รับจากการศึกษาแบบสอบถาม
ทั้งนี้ บุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถเข้าร่วมการศึกษาได้ฟรีจนถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565 นี้ เพราะการเข้าร่วมจะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถตรวจสอบสถานะที่เป็นอยู่ของตนได้อย่างมีวิจารณญาณเกี่ยวกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมจะได้รับรายงานสรุปเป็นรายบุคคลด้วยเมื่อเข้าร่วม และหากบริษัทที่เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ได้รับการระบุว่ามีแนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จในระหว่างการศึกษา บริษัทจะได้รับโอกาสในการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างการเยี่ยมชมบริษัทโดยบริษัทฝึกปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จอื่นๆ ตลอดจนการประชุมขั้นสุดท้ายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
อ้างอิง: https://www.etmm-online.com/artificial-intelligence-overrated-hype-or-technology-of-the-future-a-b3f6edf726ee85244fabe72c97185c76/
About The Author
You may also like
-
NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
-
SuperSource : VEGAPULS 6X เซนเซอร์วัดระดับแบบต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีเรดาห์แบบพรีเมียม
-
แถลงจัดงาน THECA 2024 ผลักดันประเทศไทยสู่ฐานผลิต PCB ระดับโลก
-
อินฟอร์มาฯ – ก.พลังงาน ร่วมภาคีเครือข่ายด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2024
-
อินเตอร์แมค – ซับคอนไทยแลนด์ 2024 เปิดแล้ว ใหญ่จริง จัดเต็ม เทคโนโลยี นวัตกรรม สัมมนาเปิดทางรอดอุตสาหกรรมไทย