11 Manufacturing Trends 2021

11 เทรนด์ครองโลกการผลิต 2021: อุตสาหกรรม 5.0 คือทางรอด

มีการพูดถึงอุตสาหกรรม 4.0 มากมาย แน่นอนว่า มันคือเรื่องของวิธีการที่ได้ปฏิวัติโลกการผลิต ด้วยการมอบโอกาสแก่ผู้ผลิตในการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีขั้นสูงตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า Industry 4.0 ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถเห็นภาพกระบวนการทำงาน ลดต้นทุน เร่งเวลาการผลิต และให้การสนับสนุนลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม

อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2021 มาถึงอย่างรวดเร็ว ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหันมาสนใจอุตสาหกรรม 4.0 อย่างจริงยังแล้วมุ่งหน้าสู่อุตสาหกรรม 5.0 ในขณะที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 มุ่งเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพวิธีการผลิต การปฏิวัติครั้งที่ 5 ก็คือการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ซึ่งนั่นก็คือการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และระบบอัจฉริยะ  ขึ้นอยู่กับว่าคุณถามใคร เพราะความจริงแล้ว Industry 5.0 อาจอยู่ใกล้กว่าที่คิดหรืออาจอยู่ที่นี่แล้ว เพราะการมาถึงของมันถูกเร่งสปีดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19

และไม่ว่าคุณจะ subscribe รับข้อมูลจากมุมมองใด ไม่ต้องสงสัยเลยว่า บรรดาผู้ผลิตจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อจะอยู่เหนือคู่แข่งและครองส่วนแบ่งการตลาดในอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ผู้ที่ไม่ได้ต้องการเพียงแค่อยู่รอดแต่ต้องการประสบความสำเร็จจึงต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและเทรนด์ล่าสุดให้มากที่สุด




Employee Safety Becomes a Top Priority /
ความปลอดภัยของพนักงานมาเป็นอันดับ 1

คงไม่ต้องบอกว่า ความปลอดภัยของพนักงานเป็นเทรนด์สำคัญสำหรับผู้ผลิตที่กำลังมุ่งหน้าสู่ปี 2021 แม้เราจะรู้ว่าความปลอดภัยในสถานที่ทำงานเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในอันดับต้น ๆ สำหรับผู้ผลิตมาโดยตลอด แต่เรื่องนี้ต้องกลายเป็นเรื่องที่ต้องคิดใหม่ทำใหม่เมื่อต้องคำนึงถึงการแพร่ระบาดของไวรัสครั้งล่าสุด นอกเหนือจากข้อควรระวังด้านความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน เช่น การบังคับใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในพื้นที่การผลิตและการตรวจสอบให้แน่ใจว่าคนงานทำความสะอาดพื้นที่ทำงานของตน ผู้ผลิตจะต้องตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและรอบคอบว่าใครเข้า-ออกจากโรงงานบ้าง และมีบุคคลหรืออุปกรณ์ใดที่พวกเขาโต้ตอบด้วย ในข้อนี้ทำให้ผู้ผลิตหลายรายหันมาดูแลและจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกและให้ความสำคัญกับการตรวจสอบย้อนกลับ หรือ traceability มากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ผลิตต้องเรียกคืนข้อมูลอุปกรณ์ภายใน (internal equipment data) จากผู้ผลิต OEM

การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของพนักงานที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้ยังขยายขอบเขตไปถึงการให้บริการภาคสนาม เพื่อลดการติดต่อ ซึ่งช่างเทคนิคจะต้องเตรียมความพร้อมมากขึ้นสำหรับงานแต่ละงานเพื่อให้สามารถทำงานตามใบสั่งงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก็จะไม่น่าแปลกใจเลยหากอัตรา firt-time fix rate (FTFR) ของผู้ผลิตจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้เรายังคาดการณ์ว่า แนวโน้มนี้จะมีผลโดยตรงต่อ supply chain visibility เชน เนื่องจากผู้ผลิตต้องการความโปร่งใสมากขึ้นจากซัพพลายเออร์ เพราะพวกเขาต้องทำงานเพื่อติดตามปัญหาและเรียกเคลมได้ตลอดทั้งกระบวนการผลิต


Manufacturing Trend 2021


IoT is (Still) THE Big Thing / IoT ยังคงเป็นพี่เบิ้ม

แม้ว่า Internet of Things (IoT) จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่แพร่หลายและยิ่งแพร่หลายมากขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิต แต่ IoT ก็ยังคงอยู่ในอันดับต้น ๆ ของรายการเทรนด์ปีแล้วปีเล่า กับคุณสมบัติ/ศักยภาพในการปรับตัว (adaptability) และความก้าวหน้าทางนวัตกรรม – และในปีนี้ก็ไม่มีข้อยกเว้น

IoT ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อโครงข่ายของอุปกรณ์เฉพาะภายในโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ทำให้ผู้ผลิตสามารถตัดสินใจเชิงกลยุทธ์โดยใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์และสามารถบรรลุเป้าหมายได้หลากหลาย รวมถึงการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยได้ดีขึ้น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ. จากการศึกษาของ MPI Group พบว่าเกือบหนึ่งในสาม (31%) ของกระบวนการผลิตได้รวมอุปกรณ์อัจฉริยะและระบบอัจฉริยะแบบฝังไว้ นอกจากนี้ผู้ผลิต 34% มีแผนที่จะรวมเทคโนโลยี IoT เข้ากับกระบวนการผลิตของตน ในขณะที่ 32% วางแผนที่จะฝังเทคโนโลยี IoT ลงในผลิตภัณฑ์ของตน

“IoT และการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์มีผลอย่างมากต่อการผลิต โดยได้นำเสนอโอกาสใหม่ ๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจให้กับการการเชื่อมต่อปฏิบัติการ (connecting operations) และการเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจ (transformimg business)” Michael Strand รองประธานอาวุโสของ Hitachi Solutions America กล่าว “นวัตกรรมกำลังขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจและเทคโนโลยีทำให้ผู้ผลิตสามารถพัฒนาไปพร้อมกับ digital-first business landscape มากขึ้น”

COVID-19 ได้นำแรงสั่นสะเทือนที่น่าสนใจมาสู่เทคโนโลยี IoT อีกครั้ง จากความสามารถในด้านการตรวจสอบระยะไกลและความสามารถในการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ อุปกรณ์ที่เปิดใช้งาน IoT ทำให้ผู้ผลิตสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ได้อย่างปลอดภัยจากระยะไกล และระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่ความผิดปกติจะเกิดขึ้น และยังช่วยให้ช่างเทคนิคสามารถเข้าใจปัญหาได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และหาแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ก่อนที่พวกเขาจะมาถึงไซต์งาน ทำให้สามารถปิดงานได้ไวขึ้น

 


Predictive Maintenance Keeps Production on Track / การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ทำให้การผลิตไปต่อได้

เมื่อพูดถึงการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ ความเสียหายของอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในการผลิตนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงต่อผู้ผลิต ทั้งในส่วนของการซ่อมแซม การหยุดทำงาน (downtime) และการสูญเสียผลผลิต องค์กรจำนวนมากถึง 98% รายงานว่า การหยุดทำงานเพียงชั่วโมงเดียวมีค่าใช้จ่ายมากถึงกว่า 100,000 ดอลลาร์

98% ขององค์กรรายงานว่าการหยุดทำงานเพียงชั่วโมงเดียวมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 100,000 ดอลลาร์

ดังนั้นผู้ผลิตจึงให้ความสำคัญอย่างมากในการตรวจสอบให้แน่ใจว่า อุปกรณ์ทั้งหมดทำงานในระดับประสิทธิภาพที่เหมาะสมและหลายรายได้หันมาใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์เช่นกัน

 


Shifting Focus from B2B to B2C / เปลี่ยนจาก B2B ไปเป็น B2C

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตหลายรายเลือกที่จะเปลี่ยนจากรูปแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ (business-to-business – B2B) แบบดั้งเดิมไปสู่รูปแบบธุรกิจกับผู้บริโภค (business-to-consumer – B2C) โดยรูปแบบ B2C มีผลประโยชน์ที่ดึงดูดใจมากมาย เช่น:

ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น: บริษัทต่าง ๆ จะได้รับข้อเสนอในราคาขายปลีก (MSRP) จากผู้ผลิตแบบเต็มรูปแบบแทนที่จะเป็นราคาขายส่งสำหรับผลิตภัณฑ์ของตน

เวลาออกสู่ตลาดเร็วขึ้น: แทนที่จะต่อสู้กับวงจรการขายปลีกแบบเดิมที่กินเวลายาวนานซึ่งทำให้พวกเขาต้องล็อคการพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อนการสั่งซื้อและการจัดส่ง ผู้ผลิตสามารถสร้างต้นแบบ ทดสอบ และผลักดันผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วทำให้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขันอย่างชัดเจน

การควบคุมแบรนด์: B2C ช่วยลดความเสี่ยงที่แบรนด์ของผู้ผลิตจะถูกลดทอนคุณค่าหรือบิดเบือนโดยบุคคลที่สาม

การควบคุมราคา: ผู้ผลิตมีโอกาสที่จะเพิ่ม MSRP ของตน

ข้อมูลลูกค้าที่ดีขึ้น: การขายให้กับผู้บริโภคโดยตรงทำให้ผู้ผลิตสามารถรวบรวมข้อมูลลูกค้าซึ่งจะส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและยอดขายเพิ่มขึ้น

เคล็ดลับ: ในการขายตรงให้กับผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพนั้น คุณจะต้องเลือกแพลตฟอร์มสำหรับระบบอีคอมเมิร์ซของคุณที่รองรับทั้งแพลตฟอร์มการขายแบบ B2B และ B2C จะต้องส่งมอบตามที่ตกลงในคำสั่งซื้อและมีการติดตาม มีการชำระเงินที่ปลอดภัย การจัดการบริการลูกค้าและการติดตามกิจกรรมการขายและการตลาด สำคัญคือการให้มุมมองอย่างรอบด้านในการโต้ตอบกับลูกค้าแบบ B2B และ B2C


Manufacturers Plan Their COVID-19 Exit Strategy / กลยุทธ์แหกวงล้อม COVID-19

ความจริงที่น่าเสียดายของ COVID-19 คือผลิตภัณฑ์บางอย่างและ บริษัทผู้ผลิตจำนวนหนึ่งจะหายไปจากตลาดอย่างไม่มีวันหวนกลับมา ผู้ผลิตเหล่านั้นที่สามารถอยู่รอดได้จะต้องล้างกระดานชนวนกลยุทธ์ของตนให้หมดจด ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีอะไรดีไปกว่า การต้องเริ่มวางแผนกลยุทธ์ให้ปลอดพ้นภัยจากโรคระบาด Gartner ได้แบ่งกรอบการวางแผนหลังการระบาดของโควิด-19 ออกเป็นสามขั้นตอน ซึ่งเรียกรวมกันว่า“ The Reset” ดังนี้

COVID-19 Exit Strategy


นอกจากนี้ Gartner ยังระบุเส้นทางที่เป็นไปได้สำหรับ 5 ธุรกิจที่สามารถรีเซ็ตได้ โดยขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาได้รับผลกระทบจากการระบาดอย่างไร: องค์กรที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโรคควรลดหรือเลิกใช้โมเดลการดำเนินงานที่ผลักดันองค์ไปสู่จุดที่ทำลายตัวเองอย่างถาวร ส่วนองค์กรที่ตกอยู่ในความสับสนวุ่นวายจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างกะทันหันก็สามารถคาดหวังว่า ความต้องการจะกลับสู่ระดับปกติก่อนการระบาดได้ในอนาคตอันใกล้ ส่วนองค์กรอื่น ๆ ก็ได้รับคำแนะนำให้รื้อฟื้นตัวเองใหม่ไม่ว่าจะโดยการมุ่งไปที่สายธุรกิจใหม่ หรือมุ่งไปที่การปรับปรุงศักยภาพ แต่ที่สุดแล้วองค์กรที่มีแผนกธุรกิจในรูปแบบดิจิทัลจะสามารถรีสเกลได้ดี


A New Approach to ERP / เข้าสู่ ERP แบบใหม่

ระบบการวางแผนการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) ได้กลายมาเป็นแก่นแกนหลักให้กับบรรดาบริษัทผู้ผลิต เนื่องจากความสามารถในการปรับปรุงกระบวนการผ่านระบบอัตโนมัติ (Automation) เพื่อให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่ถูกต้อง และเพื่อลดต้นทุน กล่าวได้ว่า COVID-19 ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการที่ผู้ผลิตมีส่วนร่วมและใช้ระบบ ERP ของตนโดยพื้นฐาน

เราได้เห็นผู้ผลิตจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ใช้แอปพลิเคชันแบบอไจล์ (agile applications) เพิ่มจากระบบ ERP ที่มีอยู่แทนที่จะพยายามทำให้ ERP ต้องจัดการทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ลูกค้าในสายการผลิตจำนวนมากของเราที่ Hitachi Solutions ได้ติดต่อเราเพื่อสร้าง Power Apps สำหรับทุกอย่าง ตั้งแต่แอปด้านความปลอดภัยของพนักงานไปจนถึงระบบกลับไปทำงาน – back-to-work systems โซลูชันชั่วคราวเหล่านี้อยู่เหนือระบบ ERP ของลูกค้าของเราและช่วยให้พวกเขาปรับตัวเข้ากับ COVID-19 ได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการพัฒนานานหลายปี


*แนวคิดแบบอไจล์ หรือ Agile Development Process คือ การปรับปรุงกระบวนการให้ทำงานได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ใช่ว่าอไจล์จะเหมาะกับทุกองค์กร แต่ละองค์กรย่อมมีวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการนำแนวคิดแบบอไจน์มาใช้จึงไม่มีแบบสำเร็จรูปตายตัว แต่ละองค์กรจะต้องหาวิธีมาปรับใช้ให้เหมาะกับวัฒนธรรมขององค์กรเอง


Manufacturers Gain Greater Visibility into Big Data / BIG DATA จะยิ่งใหญ่มากขึ้นไปอีก

ความสนใจใน IoT อีกครั้งและการให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างจริงจัง หมายความว่าข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data จะเป็นเทรนด์ที่ยิ่งใหญ่กว่าที่เคยเป็นมา เราคาดว่า เกือบทุกพื้นผิว – every surface จะเปลี่ยนเป็นเซ็นเซอร์สำหรับการรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ให้กับผู้ผลิต ความสามารถในการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มาที่หลากหลาย รวมกับความสามารถในการประมวลผลบนคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นทำให้ผู้ผลิตสามารถหั่นแบ่งและซอยข้อมูลในรูปแบบที่จะช่วยให้พวกเขามีความเข้าใจที่คลอบคลุมยิ่งขึ้นเกี่ยวกับธุรกิจของตน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่พวกเขากำลังทำงานเพื่อประเมินรูปแบบการคาดการณ์และการวางแผนอีกครั้ง เพื่อพัฒนากลยุทธ์ COVID-19  exit ที่ประสบความสำเร็จ

 


VR & AR Support Touchless Service Model / บริการแบบไร้การสัมผัสต้องมา

COVID-19 ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นอุปสรรคสำคัญในการให้บริการภาคสนามของบริษัทผู้ผลิต ซึ่งป้องกันไม่ให้ช่างเทคนิคไปที่ไซต์งานเพื่อติดตั้งอุปกรณ์หรือจัดการซ่อมแซม โชคดีที่มีช่วยเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก เช่น AR  และ VR ทำให้ช่างเทคนิคสามารถให้ความช่วยเหลือระยะไกลได้ โดยการส่งอุปกรณ์ที่เปิดใช้งาน AR และ VR ให้กับลูกค้าและดำเนินการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นแล้วทำการซ่อมแซม

สำหรับผู้ผลิตหลายรายสิ่งนี้ถือเป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้น ในอดีตลูกค้ามักไม่เต็มใจที่จะเลือกใช้บริการแบบไม่มีการจับต้องหรือสัมผัส และยังต้องการความสะดวกสบายในการให้ช่างมายังสถานที่เพื่อทำการซ่อมแซม แต่เวลานี้ COVID-19 ทำให้ความคิดเปลี่ยนไปและเปิดรับริการจากระยะไกลโดยใช้เทคโนโลยี AR และ VR มากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตสามารถประเมินกระบวนการและขั้นตอนใหม่ ๆ โดยมีเป้าหมายระยะยาวที่การติดตั้ง (อุปกรณ์) อย่างถาวร ซึ่งที่สุดแล้วลูกค้าและช่างเทคนิคบริการภาคสนามจะได้รับประโยชน์จากความเสี่ยงที่ลดลงและผู้ผลิตจะได้รับประโยชน์จากการได้ศึกษาแนวทางธุรกิจใหม่ ๆ


3D Printing Makes Production Faster & Cheaper / การพิมพ์สามมิติจะยิ่งถูกจะยิ่งไว

แม้ว่าคนทั่วไปจะดูมองว่าเทคโนโลยีการพิมพ์ 3มิติ เป็นเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ใครกี่คนจะรู้ว่า การพิมพ์ 3 มิตินั้นเป็นพระเอกสำคัญในการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ (Additive Manufacturing – AM) มานานเกือบ 40 ปีแล้ว ทุกวันนี้ผู้ผลิตต้องพึ่งพาการพิมพ์ 3 มิติเพื่อสนับสนุนการสร้างต้นแบบ ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดต้นทุนได้มากสำหรับนักออกแบบผลิตภัณฑ์ในการทดสอบและแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และเพื่อผลิตสินค้าตามความต้องการแทนที่จะต้องผลิต (จำนวนมาก) และต้องมีพื้นที่ในการจัดเก็บ

การพิมพ์ 3 มิติได้เปลี่ยนกระบวนการผลิตที่ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพงและใช้เวลานาน ในอดีตผู้ผลิตต้องใช้เวลาหลายเดือนในการสร้างแม่พิมพ์ อุปกรณ์จับยึด และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการผลิตจำนวนมาก และผู้ผลิตหลายรายต้องพึ่งพาการสนับสนุนของบริษัทเครื่องมือที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในต่างประเทศ เวลานี้ต้องยกเครดิตให้กับเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติที่ทำให้ผู้ผลิตสามารถใช้เครื่องมือในสถานที่ทำงานได้ภายในเวลาไม่กี่วัน ด้วยเหตุผลข้อนี้ทำให้การพิมพ์ 3 มิติเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และอวกาศมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา


11 Manufacturing Trends 2021_เทรนด์


Manufacturers Reevaluate Shoring & Sourcing / เมื่อผู้ผลิตคืนกลับและกลับคืน

ก่อนที่จะมี COVID-19  reshoring ซึ่งก็คือการนำสินค้าหรือวัสดุกลับเข้ามาผลิตเองภายในประเทศ กำลังจะกลายเป็นสิ่งจะเกิดขึ้นในหมู่ผู้ผลิตในสหรัฐฯ จากรายงานบางฉบับระบุว่า มีตำแหน่งงานกลับคืนสู่สหรัฐอเมริกามากถึง 749,000 ตำแหน่งระหว่างปี 2010 ถึง 2018 อันเป็นผลมาจากนโยบาย reshoring ที่ว่านี้

* Reshoring คือกระบวนการส่งกลับการผลิตและการผลิตสินค้ากลับไปยังประเทศของตัวเอง Reshoring เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า onshoring inshoring หรือ backshoring เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ offshoring ซึ่งเป็นกระบวนการในการผลิตสินค้าในต่างประเทศเพื่อลดต้นทุนแรงงานและการผลิต

ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้:

  • เศรษฐกิจในหลายประเทศที่ go-to offshoring มีความเข้มแข็งมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานำไปสู่การเพิ่มค่าจ้างให้กับแรงงานในประเทศเหล่านั้น
  • ประเทศที่แรงงานยังคงมีราคาไม่สูงขาดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการผลิตที่ซับซ้อน
  • ต้นทุนการขนส่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ปัจจุบันผู้ผลิตสามารถใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ขั้นสูงและหุ่นยนต์เพื่อทำให้กระบวนการต่าง ๆ เป็นไปโดยอัตโนมัติ (ซึ่งเมื่อก่อนยังต้องมีการแทรกแซงของมนุษย์)

และตอนนี้เราสามารถเพิ่ม COVID-19 เข้าไปเป็นหนึ่งในเหตุผลของการ reshoring ได้แล้ว

“COVID-19 สั่นคลอนผู้คนอย่างมาก” แฮร์รี โมเซอร์ประธานโครงการ Reshoring Initiative ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการส่งกลับภาคการผลิตกล่าว “ COVID-19 ได้เปิดเผยให้เห็นว่า สหรัฐฯ พึ่งพาการผลิตนอกชายฝั่งโดยเฉพาะจีน […] ในขณะที่การแพร่ระบาดได้แสดงให้เห็นว่า ในฉับพลันทันใดเราอาจตกอยู่ในสถานะไร้ซึ่งซัพพลายที่มีความสำคัญอย่างเพียงพอ ซึ่งนั่นไม่ได้เป็นเพราะเราไม่พยายาม แต่เป็นเพราะเราแทบไม่มีฐานที่จะสร้างมันในสหรัฐอเมริกาเลย”

เช่นเดียวกับการที่ COVID-19 กระตุ้นให้เกิดความพยายามในการ reshoring อีกระลอก แต่ก็ทำให้ผู้ผลิตต้องประเมินการจัดหาทรัพยากรใหม่อีกครั้ง การระบาดครั้งใหญ่ทำให้เกิดการหยุดชะงักอย่างมีนัยสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกทำให้ผู้ผลิตที่มาจากประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่อย่างจีนพบกับความท้าทายมากขึ้นในการซื้อหาวัตถุดิบ เหตุผลข้อนี้กระตุ้นให้ผู้ผลิตหลายรายกระจายการจัดหาแหล่งวัตถุดิบโดยใช้กลยุทธ์ “ China, Plus One” หรือการจัดหาที่ตั้ง หรือ ฐานการผลิตใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ (Near-sourcing) หรือที่เรียกว่า การจัดหาในพื้นที่ (Local sourcing) คือกระบวนการที่ธุรกิจนำ operation เข้าใกล้ที่ที่ขายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมากขึ้น ในการผลิตยังหมายถึงการจัดหาวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ในประเทศ

เราสามารถคาดหวังได้ว่า ทั้ง reshoring และ near-sourcing จะเป็นเทรนด์อันดับต้นๆ สู่ปี 2021 เนื่องจากผู้ผลิตพยายามลด หรือหาทางกำจัดการพึ่งพาวัสดุจากต่างประเทศทั้งหมด แนวโน้มเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้ผลิตยังคงมีความยืดหยุ่นต่อภาวะชะงักงันที่เกิดจาก COVID-19 ในอนาคต หากประเทศอื่น ๆ ปิดตัวลงเป็นครั้งที่สอง แต่ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกด้วย


The Job Market Remains Uncertain / สถานการณ์แรงงานยังสั่นคลอน

เราทุกคนคงได้เห็นข่าวเกี่ยวกับการปลดพนักงานจำนวนมากและการเลิกจ้างอันเป็นผลมาจาก COVID-19 โดยธรรมชาติแล้วอุตสาหกรรมการผลิตก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน อย่างไรก็ตามระดับของการหยุดชะงักของกิจการแตกต่างกันไปในแต่ละราย โดยพิจารณาจากสิ่งที่พวกเขาขาย บริษัทที่ผลิตสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องลดพนักงานลงอย่างมากในขณะที่บริษัทที่ผลิตสินค้าที่มีความจำเป็นต่อชีวิตจริงๆ ต้องเพิ่มขนาดสายผลิตภัณฑ์และจ้างคนงานใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ผู้ที่ต้องลดกำลังคนหันไปใช้ระบบอัตโนมัติด้วย IoT และหันไปใช้วิธีการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้ทรัพยากรเท่าเดิม  หรือ Optimization กระบวนการในโรงงานและสายผลิตภัณฑ์ เพื่อพยายามให้กระบวนการผลิตต่าง ๆ เป็นไปตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Optimization นั้นช่วยให้สามารถควบคุมต้นทุนและความสามารถในการทำกำไรซึ่งจำเป็นสำหรับบริษัทที่มียอดขายลดลงได้เป็นอย่างดี

เมื่อมองไปข้างหน้า ผู้ผลิตมีแนวโน้มที่จะประเมินกำลังคนอีกครั้งตามการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ บริษัทเหล่านั้นที่พบว่าตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่จะจ้างงาน มักจะมีเป้าหมายอยู่ที่พนักงานที่เป็น data-focused ในระดับสูง แม้ว่าพนักงานกลุ่มนี้จะเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง เนื่องจากการขาดแคลนผู้มีความสามารถที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี แต่บริษัท ต่างๆ เช่น Hitachi Solutions กำลังผลิตเทคโนโลยีที่ใช้งานง่ายซึ่งจะสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับพนักงานทุกแบ็คกราวน์

COVID-19 ได้เปลี่ยนแปลงโลก – และอุตสาหกรรมการผลิต – อย่างที่เราทราบกันดี ผู้ผลิตที่ตั้งใจจะอยู่รอดให้ได้ในยุคใหม่นี้ต้องยอมรับ อุตสาหกรรม 5.0 อย่างเต็มตัว เต็มใจ และจินตนาการถึงอนาคตของบริษัทของตน – และยิ่งเร็วก็ยิ่งดี


อ้างอิง: https://global.hitachi-solutions.com/blog/top-manufacturing-trends

About The Author