Manufacturing_การผลิตบรรทัดฐานใหม่

การผลิตในบรรทัดฐานใหม่ – ข้อดีและผลประโยชน์

การเว้นระยะห่าง ปกป้องพนักงานจากภัยโรคติดต่อ เริ่มกระบวนการผลิตและเครื่องจักรใหม่อีกครั้ง ไปจนถึงติดตามช่องว่างในห่วงโซ่ที่หายไปจากบรรดาซัพพลายเชน ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่องค์กรหรือบริษัทต่างๆ ต้องขบคิด แก้ไข และดำเนินการไปอย่างรัดกุมเพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนต่อไปข้างหน้าได้อย่างไม่สะดุด

ในส่วนของการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเรื่องการเว้นระยะห่างในโรงงานอย่างรวดเร็วนั้น พนักงานและบุคลากรทุกคนสามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า (face guard) และหน้ากาก (mask) ได้ “ตอนนี้บรรดาผู้ผลิตต่างๆ กำลังพยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์นี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 2 ด้านหลัก ๆ ” Hajime Sugiyama, Industrial IoT Evangelist (ผู้เผยแพร่/สื่อสารองค์กรด้าน IoT สำหรับอุตสาหกรรม) จาก Factory Automations Systems Group ของ Mitsubishi Electric Corporation กล่าว

ยกตัวอย่างเช่น คุณจะปรับใช้มาตรการเรื่องการเว้นระยะห่างในโรงงานอย่างไร? เป็นคำถามที่น่าสนใจมากเพราะเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องสำคัญมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เริ่มต้นจากการที่ทุก ๆ คนในสังคมเริ่มสำนึกถึงการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันใบหน้าแบบต่างๆ หน้ากาก หรือ mask แบบปกติในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และความจริงแล้วในหลาย ๆ อุตสาหกรรมก็ได้ใช้ PPE – Personal Protective Equipment หรือ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลกันอยู่แล้ว จากมาตรการด้านสุขอนามัยและสภาพแวดล้อมในการผลิตที่ต้องรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัดจริงจังเช่น สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ยา หรือแม้แต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ที่มีความอ่อนไหวในการผลิต อย่างไรก็ตาม PPE ดังกล่าวก็ไม่จำเป็นต้องใช้ในทุกอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น ในสภาพแวดล้อมการผลิตที่ร้อนหรือมีความชื้น การสวมหน้ากากก็อาจเพิ่มความเสี่ยงจากความอ่อนเพลียจากความร้อนได้ ดังนั้นจึงต้องมีการใช้งานด้วยความระมัดระวัง ด้วยการทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมของการทำงานอย่างแท้จริง

Manufacturing in the new norm
Some plant managers are considering using screens between workers, but this is not a panacea as there can be operational limitations. (Source: Mitsubishi Electric Europe B.V)

ผู้จัดการโรงงานบางคนกำลังพิจารณาให้มีการใช้ผนัง หรือสกรีนกั้นระหว่างคนงาน แต่นั่นก็ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล เนื่องจากอาจต้องใช้พื้นที่และเกิดปัญหาจากการเคลื่อนไหวที่จำกัด ตลอดจนปัญหาที่อาจเป็นไปได้เกี่ยวกับการเข้าถึงอุปกรณ์ฉุกเฉิน (E-Stops) หรืออุปกรณ์เพื่อการรายงาน / การควบคุมต่าง ๆ … หรืออาจทำให้เกิดปัญหาเพียงแค่เรื่องทัศนวิสัย

Sugiyama กล่าวต่อไปว่า “ผู้ผลิตหลายรายโฟกัสไปที่การจัดการกับกะการทำงานเพื่อทำให้เกิด social distancing เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ คุณต้องสร้างสมดุลระหว่างกะงานเพื่อทำให้มีคนทำงานร่วมกันน้อยลงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดภายในโรงงาน แต่สิ่งนี้ก็ทำให้เกิดความท้าทายใหม่ขึ้นทั้งหมด”

การปรับเปลี่ยนกะ หรือตารางการทำงานเพื่อตอบโจทฺย์ในเรื่องนี้จะช่วยให้ผู้จัดการโรงงานสามารถจัดการกับปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานได้ทางหนึ่ง กล่าวคือหากจำเป็นต้องหยุดงานกะที่หนึ่งเนื่องจากการติดเชื้อ กะที่สองและ / หรือสามก็จะสามารถดำเนินงานต่อได้ตามปกติหลังจากที่โรงงานได้รับการทำความสะอาดอย่างทั่วถึง

แน่นอนว่าเมื่อคนทำงานน้อยลงผลผลิตก็ลดลง แล้วคุณจะจัดการกับเรื่องนี้ได้อย่างไร?



Let your cobot take the strain / ใช้หุ่นยนต์ขจัดความตึงเครียด

Industrial Cobot
One possible solution is the increased use of industrial collaborative robots like “Melfa Assista” (Source: Mitsubishi Electric Europe B.V)

“การสร้างโซลูชันระบบอัตโนมัติที่ครอบคลุมทุกกระบวนการผลิตต้องใช้เวลา งบประมาณ และการวางแผนเป็นอย่างมาก” Sugiyama กล่าว “และในช่วงเวลาที่ผู้ผลิตต้องการจะเริ่มต้นและดำเนินธุรกิจต่ออย่างรวดเร็วด้วยความยืดหยุ่น แต่ดูเหมือนทรัพยากรทั้งสามสิ่งนี้กลับมีแนวโน้มที่จะขาดแคลน”

แล้วมีทางเลือกอื่นหรือไม่อย่างไร? นั่นคือคำถาม ทางออกหนึ่งที่มีความเป็นไปได้ก็คือ การใช้หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ หรือ collaborative robot สำหรับภาคอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น เช่นหุ่นโคบอท Melfa Assista โดยปกติแล้วอุปกรณ์เบา ๆ หรือ  light devices เหล่านี้สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เป็นมิตรกับมนุษย์ และยังมีความยืดหยุ่นมากจนสามารถเทรนได้อย่างรวดเร็วให้ทำงานได้หลากหลายโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์มากมาย ตัวช่วยนี้อาจเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซึ่งโดยรวมแล้วมีความคุ้มค่า ทั้งนี้ การปรับปรุงโซลูชันโคบอทให้ดียิ่งขึ้นด้วยซอฟต์แวร์การจัดการสภาพแวดล้อมการผลิตที่ขับเคลื่อนด้วย AI ดังที่เห็นในโซลูชัน เช่น Realtime Robotics ซึ่งเป็นพันธมิตรของ e-F@ctory Alliance ช่วยลดภาระการเขียนคำสั่ง มี live travel path ที่ทำให้หุ่นยนต์สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง เช่น มนุษย์ หรือ หุ่นยนต์อื่น ๆ และโคบอทได้


* MELFA ASSISTA เป็น Collaborative robot ของบริษัท Mitsubishi Electric มีคุณลักษณะพิเศษที่สำคัญ 3 ประการ Easy Control/ Easy Programming/ Easy Connecting ภายใต้แนวคิด “Robot ที่ไม่ว่าใครก็สามารถใช้งานได้โดยง่าย”


เป็นที่ชัดเจนว่า โซลูชันเดียวใช้ไม่ได้กับทุกสิ่ง ดังนั้น ความยืดหยุ่นในการนำโซลูชันทางสังคมที่เหมาะสมมาปรับใช้ทั้ง “เชิงกล” และการทำงานร่วมกันจะกลายเป็นบรรทัดฐาน หรือ มาตรฐานในที่สุด สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือ การเข้าถึงจากระยะไกล หรือ remote access” Sugiyama กล่าว

Remote is not just for homeworkers

การคืนกลับสู่ full operations ด้วยการเริ่มต้นโปรเซสและสายการผลิตอีกครั้ง มักจะเผยให้เห็นปัญหาซึ่งก่อนหน้านี้ไม่สามารถมองเห็นได้และยังสร้างฝันร้ายให้กับการบำรุงรักษาในระดับที่ไม่อาจคาดเดา การเข้าถึงจากระยะไกลจึงเป็น key benefit แต่หากอุปกรณ์ที่คุณกำลังใช้งานไม่ชาญฉลาดพอ มูลค่าที่ควรจะได้รับก็จะลดลงอย่างมาก เนื่องจากปริมาณข้อมูลถูกจำกัด อย่างไรก็ตาม หากคุณโชคดีพอก็จะได้ใช้อุปกรณ์อัตโนมัติอัจฉริยะที่มีระดับการตัดสินใจด้วยตนเองและการวินิจฉัยที่ครอบคลุม โดยสามารถแก้ไขปัญหาด้านการบำรุงรักษาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่อุปกรณ์อัตโนมัติทั้งหมดก็ใช่ว่าจะฉลาดหรืออัจฉริยะใช่ไหม?

“แม้ว่าประสิทธิภาพหรือฟังก์ชันที่สำคัญของผลิตภัณฑ์อาจคล้ายกัน แต่คุณจะเข้าใจผิดอย่างมหันต์หากคิดว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมดก็เหมือน ๆ กัน ตัวอย่างเช่น มันไม่เป็นความจริงที่ใครสักคนจะบอกว่าไดรฟ์ก็คือไดรฟ์ – (´a drive is a drive, is a drive, ´) นั่นแหละ” Sugiyama กล่าว

ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้อินเวอร์เตอร์ของ Mitsubishi Electric แบบเดิมหลายรายจะคุ้นเคยกับคุณสมบัติง่าย ๆ เช่น พัดลมระบายความร้อน (3-wire fan) ซึ่งความสำคัญในข้อนี้จะปรากฏให้เห็นในช่วงเวลาเช่นนี้เท่านั้น ข้อดีของการเข้าถึงได้จากระยะไกลก็คือ ความสามารถในการตรวจเช็คการทำงานของพัดลมระบายความร้อนซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของอินเวอร์เตอร์ เพราะในผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในปัจจุบันจะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับสภาพแวดล้อมบนแผงวงจรเพื่อตรวจจับผลกระทบของสภาวะที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหรือปนเปื้อน โดยผสานรวมการสื่อสาร, ข้อมูลและ AI ผ่านฮาร์ดแวร์อินเวอร์เตอร์และซอฟต์แวร์พันธมิตรเพื่อให้เกิดการบำรุงรักษาขั้นสูง ดังนั้นในกรณีนี้การเข้าถึงจากระยะไกลจึงไม่เพียงอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ทำงานอยู่บ้านเท่านั้น

Sugiyama อธิบายว่า “ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ ‘ฟังก์ชันภายนอก’ ของอุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีการจัดการกับอายุการใช้งานด้วย เพราะนั่นหมายถึงการบำรุงรักษาและดัชนีชี้วัดความสำเร็จ KPI – แต่ความรู้ดังกล่าวจะไม่ถูกปิดตายอยู่ภายในผลิตภัณฑ์เท่านั้น และมันจะยอดเยี่ยมมากเมื่อทีมซ่อมบำรุงสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์จากระยะไกลได้”

IIoT, Industry 4.0 และอื่น ๆ ถูกพูดถึงมาหลายปีแล้ว แต่แกนหลักของทั้งหมดนี้ก็คือกระบวนการสื่อสาร การดึงข้อมูลมาใช้และการวิเคราะห์ที่ตามมา อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้จัดการโรงงานพิจารณาโซลูชันการเข้าถึงระยะไกล พวกเขามักจะยืนตัวสั่นเมื่อต้องใคร่ครวญถึงระบบ SCADA ขนาดใหญ่และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เป็นความจริงว่า ระบบที่ครอบคลุมการทำงานทั้งหมดเหล่านี้ยอดเยี่ยมสำหรับการบันทึกข้อมูลจำนวนมาก การแจ้งเตือน และการวิเคราะห์และการตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด แต่อย่างที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า พวกเขาต้องใช้เวลาในการวางแผนและติดตั้งอย่างถูกต้อง วิธีแก้ปัญหาอื่น ๆ ที่รวดเร็วกว่าก็สามารถทำได้จากระยะไกลช่นกัน แต่ต้องเชื่อมต่อโดยตรงกับอุปกรณ์ HMI บนช็อปฟลอร์เพื่อจำลองหน้าจอของเครื่องที่ทำงานอยู่หรือสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านอินเทอร์เฟซไร้สาย หรือแม้กระทั่งเทรนด์ล่าสุดในการใช้ Edge controller

So what is the new norm? แล้วบรรทัดฐานใหม่คืออะไร?

จริง ๆ แล้วสำหรับ Sugiyama เขาสรุปไว้ว่า “แนวทางปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญ บางครั้งคำตอบก็อาจง่ายมาก เพียงแค่แบ่งพาร์ติชันหน้าจอ แต่บางครั้งก็คือ การลงทุนในโคบอท แต่สิ่งที่ควรระวังก็คือ ความยืดหยุ่น, ความสามารถในการปรับขนาดและการโฟกัสที่ผลลัพธ์ ดังนั้นบรรทัดฐานใหม่ ความจริงแล้วอาจคือสิ่งที่คอยย้ำเตือนให้เรารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญ”


อ้างอิง: https://www.etmm-online.com/manufacturing-in-the-new-norm-a-982938/

บทความที่เกี่ยวข้อง: 

My Robot: Cobot สำหรับงานขัด กัด เจียร

การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้เพื่อกระตุ้นความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ

เมื่อระบบอัตโนมัติครองโลก: It’s all about automation

About The Author