China Standards 203_Cover

“China Standards 2035” จับตากลยุทธ์การสร้างมาตรฐานใหม่แดนมังกร

สำรวจผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมวิศวกรรมเครื่องกลในเยอรมนีและยุโรป เมื่อกลยุทธ์การสร้างมาตรฐานใหม่ของจีนกำลังรุกคืบเข้าสู่การกำหนดมาตรฐานสากลทั้ง ISO และ IEC

จากความตั้งใจของจีนที่ต้องการผันตัวเองจากตำแหน่ง ‘ โต๊ะทำงานของโลก – Workbench of the world’ ไปสู่ตำแหน่ง Technology Provider ที่มุ้งเน้นการส่งออกเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน หรือ standardization จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์มากขึ้นโดยฝ่ายจีนใช้เวลาเตรียมพร้อมสำหรับการนี้เป็นเวลานับ 10 ปี ในบริบทนี้การกำหนดมาตรฐานดังกล่าวจะเจาะจงใช้กับเทคโนโลยีสำคัญตามลำดับในแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ดังนั้นในภาควิศวกรรมเครื่องกลการจัดกิจกรรมที่เป็นไปเพื่อการสร้างมาตรฐานของจีนโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตอัจฉริยะในภาคเครื่องจักรกล หรือ machine tool ก็อาจเห็นได้จากแผน 5 ปีฉบับที่ 12 ซึ่งจะหมดอายุในปี 2020

China Standards 2035

ในประเทศจีนเป็นที่รู้กันมานานหลายปีแล้วว่า การมีส่วนร่วมของจีนในระดับขององค์กรมาตรฐานสากล ISO และ IEC ไม่สอดคล้องกับการให้ความสำคัญในด้านเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตขึ้นของประเทศ ดังนั้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจีนจึงใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเพิ่มการมีอยู่ของสินค้าจีนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล จากสถิติในกรณีดังกล่าว เวลานี้จีนอยู่ในอันดับที่สามตามหลังสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี ผลจากการระดมทุนของรัฐบาลจีนจำนวนมหาศาล จึงเกิดโครงการริเริ่มมากมายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการกำหนดมาตรฐาน ซึ่งรัฐบาลจีนได้กำหนดให้ประเด็นเหล่านี้เป็นหัวข้อสำคัญอันดับต้นๆ  ในขณะเดียวกันก็มีความพยายามเพิ่มมากขึ้นในการนำ ‘มาตรฐานแห่งชาติของจีน’ มาใช้เป็นพื้นฐานสำหรับโครงการสร้างมาตรฐานสากล

ที่ใดก็ตามที่ฝ่ายจีนมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานสากลโดยมีใช้บุคลากร (ด้านการเงิน) จำนวนมาก  ความพยายามในการเพิ่มความระแวดระวังในแวดวงผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจากเยอรมนี / ยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นก็ยิ่งต้องเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จึงสามารถสันนิษฐานได้ว่า อิทธิพลของจีนในการกำหนดมาตรฐานสากลจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าภายใต้แนวทางของรัฐ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้แปลว่า จีนจะมีบทบาทสำคัญใน ISO และ IEC แต่อย่างใด ทั้งนี้ การกำหนดมาตรฐานจะสามารถบรรลุผลตามที่ตลาดต้องการได้ก็ต่อเมื่อมีการะบุโซลูชันทางเทคนิคที่มีมูลค่าเพิ่มสำหรับอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน การควบคุมโดยรัฐโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมอย่างแท้จริงจึงไม่อาจประสบความสำเร็จได้ในความเป็นจริง

China Standards 2035
Centralist state controlled activities are confronted with individually driven industrial initiatives.(Source: Christian Wiediger (Unsplash))

จากมุมมองของอุตสาหกรรม ความมุ่งมั่นของจีนในการเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดมาตรฐานสากลใน ISO และ IEC นั้นไม่น่ารังเกียจนักในหลักการ เพราะมันสามารถนำมาต่อกรกับแนวทางเชิงกลยุทธ์อื่น ๆ ของจีนเพื่อเอาชนะการครอบงำทางเทคโนโลยีได้ อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายในข้อที่ว่า การนำมาตรฐานสากลโดย ISO และ IEC มาใช้ในประเทศจีนโดยรวมนั้นลดลงอย่างต่อเนื่องจากระดับต่ำอยู่แล้ว (2010: 35%) ก็ได้ลดลงไปอีก (2019: 24%) นอกจากนี้ การนำไปใช้ยังมักมีความเบี่ยงเบนด้วย

ดังนั้น การยอมรับมาตรฐานดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดอุปสรรคทางเทคนิคในการเข้าถึงตลาด ซึ่งขัดแย้งกับวัตถุประสงค์พื้นฐานของการสร้างมาตรฐานใน ISO และ IEC สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ แนวทางเชิงกลยุทธ์ในการกำหนดมาตรฐานซึ่งจีนกำลังพยายามทำอยู่ภายใต้กรอบของยุทธศาสตร์ระดับโลก “Belt and Road Initiative” – BRI หรือ “ข้อริเริมสายแถบและเส้นทาง” เพื่อให้ความถูกต้องเที่ยงตรงตามมาตรฐานสากลสอดคล้องกับมาตรฐานของจีนอันเกี่ยวข้องกับโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ผ่านข้อตกลงทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ความคิดริเริ่มนี้ซึ่งหากประสบความสำเร็จก็อาจทำลายมาตรฐานสากลที่ ISO และ IEC กำหนดไว้อย่างแน่นอน และควรอย่างยิ่งที่จะถูกต่อต้านอย่างเด็ดขาดทั้งในระดับชาติและยุโรป

อ้างอิง: https://www.etmm-online.com/

บทความที่เกี่ยวข้อง: 

China Market Insider | เมื่อ AM ปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์ของจีน

ยุคทองของ Machine Tool ในจีน?

About The Author