ข้อดีของพลาสติก คือ มีน้ำหนักเบา และทนทาน สามารถใช้ทดแทนโลหะและไม้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นผลพลอยได้จากการผลิตปิโตรเลียม พลาสติกในความเป็นจริงนั้นสามารถใช้ได้หลายร้อยครั้ง แต่พฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งออกไปปนเปื้อนกับสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันแนวโน้มเรื่องของความยั่งยืน การลดโลกร้อน ทำให้บริษัทต่าง ๆ มองหาวิธีลดคาร์บอนฟุตพรินต์โดยพยายามรีไซเคิลวัสดุกลับมาให้ได้มากที่สุด ทดแทนการผลิตใหม่ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่การรีไซเคิลพลาสติกมีกระบวนการที่หลากหลาย ทั้งการรีไซเคิลเชิงกล การรีไซเคิลทางเคมี ซึ่งมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน การรีไซเคิลบางแบบต้องมีการเติมวัตถุดิบใหม่ผสมเพื่อให้ได้คุณสมบัติที่ต้องการ การรีไซเคิลบางประเภทก็ทำให้คุณสมบัติของวัสดุด้อยลง ขุ่นลง ตลอดจนคุณสมบัติเชิงกลที่แย่ลง ทำให้ไม่เหมาะนำไปใช้งานลักษณะเดิม จนต้องลดเกรดการใช้ลง เช่น พลาสติกที่เป็นภาชนะอาหารนำไปรีไซเคิลเป็นถุงใส่ขยะสีดำ เป็นต้น ส่วนการรีไซเคิลทางเคมีนั้นเป็นการแตกโมเลกุลของพอลิเมอร์ออกเป็นมอนอเมอร์เพื่อให้กลายเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกคุณภาพสูงได้ใหม่ ในบทความนี้จะกล่าวถึง Covestro ที่พยายามนำร่องทดลองการนำกระบวนการรีไซเคิลทางเคมีมาใช้ผลิตพลาสติกคุณภาพสูงเพื่อทำให้เป็นเศรษฐกิจหมุนเวียนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
สามารถอ่านความรู้เกี่ยวกับ การรีไซเคิลพลาสติกประเภทต่าง ๆ ได้ในลิงก์ด้านล่าง
Covestro ผู้ผลิตพลาสติกได้พัฒนากระบวนการใหม่สำหรับการรีไซเคิลโพลีคาร์บอเนต ซึ่งพลาสติกจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นมอนอเมอร์ที่เป็นสารตั้งต้นของพลาสติกสามารถถูกป้อนกลับไปในกระบวนการผลิตเป็นวัตถุดิบทางเลือกได้
กระบวนการที่พัฒนาขึ้นมาใหม่สามารถรีไซเคิลโพลีคาร์บอเนตและรีไซเคลตซ้ำได้สำหรับการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น ไฟหน้ารถยนต์
(ที่มา: Covestro)
Covestro เริ่มนำร่องการรีไซเคิลทางเคมีมาปฏิบัติด้านเทคนิคที่ไซต์งานในเมือง Leverkusen ซึ่งการจะไปให้ถึงระดับอุตสาหกรรมนั้นกระบวนการจะต้องปรับให้เหมาะสมที่สุดและผ่านขั้นตอนการพัฒนาเพิ่มเติม
การนำพลาสติกกลับมารีไซเคิลทดแทนวัตถุดิบจากฟอสซิลในการผลิตนั้น หากกล่าวตามแผนของ Covestro การรีไซเคิลที่ครอบคลุมจะส่งผลต่อความเป็นกลางทางสภาพอากาศ การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรีไซเคิลเชิงกลของโพลีคาร์บอเนตถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของกลยุทธ์ในการรีไซเคิลอยู่ก่อนแล้ว การรีไซเคิลเชิงกลมักใช้เมื่อของเสียไม่ได้ผสมปนกันมากพอและโพลีคาร์บอเนตที่รีไซเคิลตรงตามข้อกำหนดการใช้งานในอนาคต
การรีไซเคิลทางเคมีเข้ามาช่วยเสริมเติมเต็มการรีไซเคิลเชิงกล โดยแปลงบล็อกสร้างพลาสติกกลับไปเป็นมอนอเมอร์ ซึ่งบล็อกสร้างพลาสติกจะแยกออกจากกันและใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับพลาสติกในอนาคตได้ การรีไซเคิลทางเคมีจึงสามารถใช้กับปริมาณของเสียที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ ซึ่งปริมาตรขนาดใหญ่ไม่เหมาะอย่างยิ่งที่จะทำด้วยกระบวนการเชิงกล การรีไซเคิลทางเคมีให้การผลิตพลาสติกได้ตามข้อกำหนดคุณภาพสูงสุด จึงทำให้ Covestro ตั้งใจที่จะพัฒนากระบวนการรีไซเคิลทางเคมีอย่างเต็มที่
Chemolysis ช่วยให้กระบวนการรีไซเคิลมีความยั่งยืนมากขึ้น
Chemolysis หรือ กระบวนการสลาย ถูกพัฒนาขึ้นใหม่โดยปรับให้เข้ากับโพลีคาร์บอเนต “ของเสียที่ผ่านการคัดแยกล่วงหน้ามีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่เป็นโพลีคาร์บอเนตมากกว่า 50% สามารถรีไซเคิลได้ด้วยวิธีนี้ แสดงให้เห็นว่าการทดสอบของเสียที่มีส่วนผสมของโพลีคาร์บอเนตที่หลากหลายนั้นประสบความสำเร็จ Chemolysis ช่วยให้ปิดวัฏจักรแล้ววนไปสู่สารตั้งต้นของโพลีคาร์บอเนตได้ ทำให้กระบวนการรีไซเคิลมีความยั่งยืนมาก” Markus Dugal, Head of Process Technology ของ Covestro อธิบาย
ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลใช้เป็นวัตถุดิบได้
ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลที่เป็นสารตั้งต้นของโพลีคาร์บอเนตสามารถปรับสมดุลมวลสารและนำมาใช้ซ้ำเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตโพลีคาร์บอเนตโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการเพิ่มเติม “วัตถุดิบรีไซเคิลดังกล่าวเป็นที่ต้องการสำหรับการใช้งานที่ต้องการคุณภาพระดับสูงสุด ตัวอย่างเช่น การใช้งานในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีความต้องการพิเศษในด้านความปลอดภัย ความโปร่งใส รวมถึงเกี่ยวกับความงาม หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นดิจิทัลในชีวิตประจำวันอย่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค” Lily Wang, Head of the Business Entity Engineering Plastics กล่าว
การลงทุนที่จะตามมาอีกหลายล้านยูโร
หลังการพัฒนาที่ประสบผลสำเร็จในห้องปฏิบัติการแล้ว การพัฒนาขั้นต่อไป คือ การสร้างโรงงานนำร่องที่มีกระบวนการต่อเนื่อง ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นของการวางแผน โดยจะเก็บประสบการณ์ที่จำเป็นในการขยายไปสู่ระดับอุตสาหกรรม และจะมีการลงทุนอีกหลายล้านยูโรในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทั้งนี้โรงงานนำร่องจะสร้างขึ้นในเมือง Leverkusen ประเทศเยอรมนี
ในเวลาเดียวกัน Covestro ก็ผลักดันกระบวนการสำหรับการรีไซเคิลโพลีคาร์บอเนตด้วยนวัตกรรมอื่น ๆ รวมถึงทางเลือกในการรีไซเคิลด้วยกระบวนการสลาย (Chemolytic) การรีไซเคิลด้วยเอ็นไซม์ที่จะแยกพลาสติกออก และการแยกสลายด้วยความร้อน (Pyrolysis) ตัวเลือกที่น่าสนใจก็จะนำมาเป็นโครงการนำร่องด้วยเช่นเดียวกัน
การวิจัยและพัฒนาเป็นสิ่งที่สำคัญและขาดไม่ได้ในการที่จะทำให้บริษัทต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้ดีขึ้น มีการพัฒนามากขึ้นในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านประสิทธิภาพและความยั่งยืน จึงจำเป็นต้องคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เพื่อเป็น New S-curve ซึ่งสิ่งนี้เป็นความจริงในทุกระดับ ทั้งระดับบุคคล องค์กร และประเทศชาติ
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/
บทความที่น่าสนใจ
- ครั้งแรกกับเทคโนโลยีการผลิตหล่อฉีดขึ้นรูปใหม่บนพื้นผิววัสดุแข็ง
- Formnext 2022 ดึงดูดผู้แสดงสินค้าจากหลากหลายภาคส่วนมากกว่าที่เคย
- ระบบวัสดุแบบเปิด vs แบบปิด: การแบ่งขั้วที่มีอิทธิพลต่อตลาดวัสดุการพิมพ์ 3 มิติ
- 16 วัสดุใหม่สำหรับ 3 เทคโนโลยีการผลิตแบบเติมวัสดุ
About The Author
You may also like
-
Quantix Ultra เทอร์โมพลาสติกทนไฟได้ถึง 1,200°C เพิ่มความปลอดภัยให้รถ EV
-
Ford พลิกโฉมเศษเหลือทิ้งจากต้นมะกอกให้กลายเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ที่ยั่งยืน
-
การฉีดขึ้นรูปโฟมเทอร์โมพลาสติก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดทรัพยากรพลาสติก
-
Lehvoss นำเสนอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพอลิเมอร์ที่ผสานประสิทธิภาพและความยั่งยืน
-
Trinseo เปิดตัวเรซิ่นรีไซเคิลและเรซิ่นสารชีวภาพเพื่อความยั่งยืน