ภาวะโลกร้อน: “อุตสาหกรรมสามารถทำได้มากกว่านี้”

Prof. Jens P. Wulfsberg เป็นรองประธาน WGP และหัวหน้าของห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการผลิต (Laft) ที่มหาวิทยาลัย Helmut Schmidt แห่ง Hamburg เขาอธิบายว่า ทำไมการผลิตเชิงอุตสาหกรรมจึงต้องการการปฏิวัติแทนที่จะเป็นวิวัฒนาการที่เชื่องช้า เมื่อกล่าวถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Prof. Jens P. Wulfsberg รองประธาน WGP และหัวหน้าของห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการผลิต (Laft) ที่มหาวิทยาลัย Helmut Schmidt แห่ง Hamburg (ที่มา: Laft)

งาน COP26 ที่เพิ่งจัดขึ้นที่ Glasgow ได้แสดงให้เห็นถึงสองสิ่ง: อย่างแรกคือ มีความเห็นพ้องต้องกันในบางเรื่องว่าบางสิ่งมีความเร่งด่วนที่ต้องทำให้เสร็จเกี่ยวกับอิทธิพลของมนุษย์ต่อสภาพอากาศ และอย่างที่สองการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกกลับตาลปัตร หรือการปฏิวัติดูจะไม่สามารถเป็นไปได้ เป้าหมายที่จะจำกัดภาวะโลกร้อนให้มีอุณหภมิสูงกว่าเปรียบเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม 1.5°C ถูกทิ้งไปที่การประชุมสภาวะอากาศโลกค้านกับการประเมินที่ดีขึ้น แม้ว่าจะยึดมั่นในทุกไการตัดสินใจ ณ ที่แห่งนั้น เรากำลังไปสู่โลกซึ่งจะอุ่นขึ้น 2.4°C — พร้อมผลลัพธ์ที่คุกคามทั้งหมดบรรดาผู้แทนไม่ได้ทำทุกวิถีทาง ทุกสรรพกำลัง ที่มีเพื่อบรรลุในเป้าหมายที่ไม่น่าจะทำได้สำเร็จแต่คุ้มค่าที่จะลองนี้ พวกเขาใช้คำอย่าง “โลหะและอลูมิเนียมเขียว” แต่นั่นคือไกลเท่าที่ภาคอุตสาหกรรมได้ทำไป แม้ว่าจะใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลกในการปล่อยก๊าซ CO2 ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ตามหลังไฟฟ้า/การสร้างความร้อน (อันดับ 1) และการขนส่ง (อันดับ 2) บริษัทที่มีความก้าวหน้าบางแห่งได้ตระหนักถึงสัญญาณของเวลา และในบางกรณี ได้บรรลุเป้าหมายสภาพอากาศของรัฐบาลมาเป็นเวลาหลายปี แต่โดยรวม น่าเสียดายที่  ความเร็วของพัฒนาการเป็นแบบของวิวัฒนาการ อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราต้องการในวันนี้คือ การปฏิวัติแนวหน้าในวงกว้างและเป็นสากล สิ่งนี้จำเป็นต้องให้การผลิตเชิงอุตสาหกรรมไม่เพียงแต่มุ่งสู่ผลผลิตที่สูงและต้นทุนต่อหน่วยต่ำด้วยคุณภาพที่ต้องการ แต่ยังรวมพารามิเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและความยั่งยืนทางสังคมมาสู่ระบบเป้าหมาย เราต้องการความมุ่งมั่นที่จะเข้าใจวิสัยทัศน์และดำเนินการขั้นตอนที่จำเป็น ในการวิจัยเทคโนโลยีการผลิต การพัฒนา การถ่ายโอนความรู้และการนำไปดำเนินการ

..โดยรวม น่าเสียดายที่  ความเร็วของพัฒนาการเป็นแบบของวิวัฒนาการ อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราต้องการในวันนี้คือ การปฏิวัติแนวหน้าในวงกว้างและเป็นสากล

Prof. Jens P. Wulfsberg

สิ่งนี้ตรงเผงเลยกับสิ่งที่เรียกสั้น ๆ ว่า WGP ให้คำมั่น WGP คือ สมาคมของศาสตราจารย์เยอรมันชั้นนำด้านเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งได้เรียกร้องรัฐบาลเยอรมันมานานแล้ว ให้ลงทุนยิ่งมากขึ้นไปอีกในการพัฒนาของอุตสาหกรรมยั่งยืน WGP ไม่เพียงแต่ให้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมสำหรับเครื่องจักรการผลิตและกระบวนการ แต่ยังให้ความคิดสำหรับองค์กรโรงงานที่ล้ำสมัยและวิสัยทัศน์สำหรับอุตสาหกรรมที่ใหม่สิ้นเชิงนอกจากโลหะสีเขียว ศาสตราจารย์ทั้งหลายกำลังทำงานประเภทการผลิตที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การหลีกเลี่ยงของเสีย เศรษฐกิจหมุนเวียน ประสิทธิภาพพลังงานและวัสดุและการก่อสร้างน้ำหนักเบา สิ่งนี้ก่อให้เกิดแนวคิดของโรงงานอัปเดต: นอกจากสิ่งอื่น ๆ , สามารถที่จะยืดอายุวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ได้อย่างมาก หลีกเลี่ยงของเสียและปิดวงจรวัสดุโดยการอัปเกรดผลิตภัณฑ์ที่ล้าสมัยด้วยฟังก์ชันและการออกแบบล้ำสมัยในสเกลอุตสาหกรรม ผลลัพธ์คือ สัมภาระ CO2 ที่ติดอยู่กับผลิตภัณฑ์สามารถถูกใช้และ “เสื่อมค่า” ได้นานขึ้นมาก แนวคิดไปไกลเกินกว่าการซ่อมแซมสิ่งที่มีอยู่ การผลิตใหม่ หรือแนวทางการ upcycling (นำกลับมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ดีขึ้น

Jorge Cesar Mariscal Melgar และ Mohammed Omer ผู้ช่วยวิจัยที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการผลิต (Laft) ของมหาวิทยาลัย Helmut Schmidt กำลังทำงานที่ตัดเลเซอร์สำหรับ Fab City (ที่มา: Basti Müller)

ส่วนของโซลูชันสามารถเป็นการริเริ่มระดับโลก Fab City ซึ่ง Hamburg ได้เข้าร่วมเพื่อสำรวจวิธีการและตระหนักถึงหนทางต่าง ๆ สำหรับการผลิตส่วนท้องถิ่น (ไม่ใช่ระดับโลก) ด้วยการมีส่วนร่วมของพลเมืองใน พื้นที่นักสร้างเชิงนวัตกรรมด้านเทคนิค โดยการใช้การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นดิจิทัล มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างแบบแผนข้อมูลสำหรับความคิดผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดทั่วโลก ทำให้เป็นรายบุคคลที่ได้ปริมาณและคุณภาพที่ถูกต้องในเวลาที่ต้องการสำหรับตรงตามความปรารถนาและที่ตั้งของลูกค้า พื้นฐานคือ เครื่องจักรการผลิตที่แปลกใหม่และวิธีการวางแผน การควบคุม การประกันคุณภาพและการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของพลเมือง มุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์สำหรับการใช้รายวันที่ทำจากพลาสติกและโลหะ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ ตะเกียง อาหารและอื่น ๆ อีกมากมาย เราพลิกห่วงโซ่คุณค่าจากหน้ามือเป็นหลังมือและเสนอระบบให้กับผู้คนที่ทุกคนได้ประโยชน์ — รวมถึงอุตสาหกรรมดั้งเดิม ผู้ดำเนินการทางการเมืองและผู้ประกอบการต้องสื่อสารอย่างประสบผลสำเร็จในโลกอุดมคติของวันนี้ให้แก่พลเมืองทั้งหมดเพื่อที่แต่ละคนสามารถที่จะซึมซับศักยภาพอันมหาศาลและตระหนักถึงประโยชน์



แน่นอนว่า ในแง่โดยรวมทั้งหมด ประเทศเยอรมันีมีส่วนรับผิดชอบส่วนน้อยในการปล่อย CO2 ของโลก แต่ลองจินตนาการดูสิว่าหากประเทศเยอรมันีเป็นผู้นำทาง ในระดับนานาชาตินแง่ของการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เรามีรากฐานสำหรับสิ่งนี้ — นำหน้าผู้เล่นอื่น ๆ ทั้งหมด เราผลิตเครื่องจักรที่ทันสมัย และเป็นซัพพลายเออร์ที่สำคัญรายหนึ่งสำหรับทั้งโลก มันจะไม่ใช่โอกาสใหม่หรือที่จะกลายเป็นซัพพลายเออร์ของโลกในสินค้าที่มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม? สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ เช่นเดียวกันกับไซต์การผลิตที่มีขนาดเล็กกว่าในประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกำลังพัฒนา? เพราะความคิดสามารถทำงานได้อย่างยั่งยืนหากทุกคนในทุกประเทศใช้และได้ประโยชน์จากมัน มาคว้าโอกาสนี้กันเถอะในขณะที่เรายังมีทางเลือก

ที่่มา : https://www.etmm-online.com

About The Author