5 นวัตกรรมการผลิตแบบเติมวัสดุ ชนะรางวัล Formnext Start-up Challenge 2022

5 นวัตกรรมการผลิตแบบเติมวัสดุ ชนะรางวัล Formnext Start-up Challenge 2022

5 นวัตกรรมการผลิตแบบเติมวัสดุ ชนะรางวัล Formnext Start-up Challenge 2022

ในยุโรป งานประกวดนวัตกรรมการผลิตแบบเติมวัสดุนานาชาติ Formnext Start-up Challenge จัดขึ้นทุกปี โดยปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 8 เพื่อเป็นการยอมรับแก่บริษัทรุ่นใหม่ ๆ แห่งการผลิตแบบเติมวัสดุ สำหรับไอเดียธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมและการพัฒนาเชิงเทคนิค นวัตกรรมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการพิมพ์สามมิติและตลาดการผลิตแบบเติมวัสดุ 

The Formnext Start-up Challenge 2022 recognizes inventive, viable business ideas from companies founded within the last five years.

Formnext Start-up Challenge 2022 เป็นการยอมรับในไอเดียทางธุรกิจที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นที่สามารถปฏิบัติได้ จากบริษัทที่ก่อตั้งมาภายในเวลาห้าปีที่ผ่านมา

(ที่มา: Mesago / Mathias Kutt)

ตั้งแต่การผลิตตามความต้องการ (On-Demand) ของผงวัสดุ การผลิตแบบเติมวัสดุผ่านการปลูกถ่ายที่ย่อยสลายได้ (Bioabsorable) และการทำหลังกระบวนการที่ใช้หุ่นยนต์อย่างมีประสิทธิภาพ (Robotic post processing) ผู้ชนะทั้งหมดของ Formnext Start-up Challenge จะนำเสนอนวัตกรรมทั้งหมดใน AM World ที่ Formnext 2022 บริษัทผู้ชนะ ได้แก่ Photosynthetic (เนเธอร์แลนด์), Lattice Medical (ฝรั่งเศส), Rivelin Robotics (สหราชอาณาจักร), Spherecube (อิตาลี) and Alpha Powders (โปแลนด์) ทั้งนี้ Lattice Medical ยังได้รับรางวัล AM Ventures Impact Award อีกด้วย

นวัตกรรมจาก Start Up เหล่านี้คัดเลือกจากระดับความคิดสร้างสรรค์ที่แสดงให้เห็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และความสามารถในการปฏิบัติได้ของโมเดลธุรกิจ โดย Start Up ต้องมีหลักฐานของสิทธิบัตรที่มีอยู่หรือกำลังรอจดทะเบียนและแสดงให้เห็นถึงแอปพลิเคชันที่มีแนวโน้มการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Alpha Powders สตาร์ทอัพที่ตั้งอยู่ในกรุง Warsaw (เมืองหลวงของโปแลนด์) ได้พัฒนาและจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนผงโพลิเมอร์ตามความต้องการ บริษัทสัญชาติดัตช์ Photosynthetic มีความเชี่ยวชาญในการพิมพ์สามมิติขนาดเล็กที่เร็วและมีประสิทธิผล ในอีกด้านหนึ่ง บริษัทสัญชาติอังกฤษ Rivelin Robotics มองไปที่การปรับปรุงประสิทธิภาพของห่วงโซ่กระบวนการเติมวัสดุ หุ่นยนต์ Netshape ของบริษัทให้มีศักยภาพในการลดต้นทุนการปฏิบัติงานและข้อผิดพลาดในการทำหลังกระบวนการลงไปเหลือ 1 ใน 10 สำหรับบริษัท Spherecube สัญชาติอิตาลี โฟกัสที่ความเสถียรที่มากขึ้น บริษัทได้พัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติที่สามารถแปรรูปไฟเบอร์คอมโพสิต ทำให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์จากไฟเบอร์คอมโพสิตสมรรถนะสูงให้เป็นรูปทรงที่ต้องการได้อย่างเป็นอัตโนมัติ สตาร์ทอัพด้านชีวการแพทย์ Lattice ได้พัฒนาการปลูกถ่ายส่วนที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ที่เป็นการพลิกโฉมสำหรับการสร้างเต้านมใหม่และการเสริมเต้านม โดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ ซึ่งเป็นการสร้างขึ้นใหม่อย่างเป็นธรรมชาติของเนื้อเยื่อไขมันโดยที่ไม่เป็นการเพิ่มสิ่งแปลกปลอมเข้าไป

บริษัท Lattice Medical ยังได้รับรางวัล AM Ventures Impact Award อีกด้วย ซึ่งเป็นแนวทางที่ยั่งยืน นอกจากการออกแบบนวัตกรรมและกรรมวิธีการผลิตแล้ว AM Ventures มีความประทับใจมากในการลดความเสี่ยงจากการปลูกถ่ายแบบดั้งเดิมให้เหลือน้อยที่สุด ความเชี่ยวชาญทางเทคนิคของทีม และผลการวิจัยสนับสนุนแอปพลิเคชันที่ถูกต้อง

Sascha F. Wenzler รองประธานของ Formnext ที่ผู้จัดงาน Mesago Messe Frankfurt กล่าวว่า “ในทุกปีสตาร์ทอัพในอุตสาหกรรมการเติมวัสดุได้พาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแอปพลิเคชันมีการพัฒนามากขึ้นและยังคงสร้างความประทับใจอย่างต่อเนื่องด้วยคุณภาพที่เพิ่มขึ้นของการพัฒนาและการวางแผนธุรกิจของพวกเขา อีกครั้งที่บริษัทเหล่านี้จะแสดงศักยภาพที่ยอดเยี่ยมของอุตสาหกรรมนี้ สิ่งที่สำคัญ คือ ความจริงที่ว่าภาคส่วนนี้มีการพัฒนาสำคัญที่จะส่งผลให้เกิดอิทธิพลต่ออุตสาหกรรม การแพทย์และด้านอื่น ๆ ของชีวิตพวกเรา”

Formnext Start-up Challenge 2022 เป็นการยอมรับไอเดียธุรกิจที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นที่สามารถปฏิบัติได้จากบริษัทต่าง ๆ ที่ก่อตั้งขึ้นภายในห้าปีที่ผ่านมา คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยตัวแทนจากขอบเขตของอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ สื่อ และการลงทุน ผู้ชนะแต่ละรายจะได้บูธจัดแสดงสินค้าและจะได้นำเสนองานใน Formnext Pitchnext ในวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2022 นี้

ผู้ชนะของ Formnext Start-up Challenge :

การปรับแต่งผง SLS ตามความต้องการ

บริษัท Alpha Powders (บูธ 12.0-B81G) ตั้งอยู่ในกรุงวอซอร์ ได้พัฒนาและจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีสำหรับการบดผง การทำให้เป็นทรงกลมและการปรับแต่งผงโพลิเมอร์ตามความต้องการ สิ่งที่มุ่งเน้นในปัจจุบันของบริษัท คือ การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีขนาดกะทัดรัดสำหรับห้องปฏิบัติการที่ทำงานกับผง SLS ใหม่โดยเฉพาะ ต้นแบบได้ถูกทดสอบกับวัสดุหลากหลายชนิด รวมถึงผงโพลีอะไมด์ TPU หรือ โพลีโอเลฟิน และได้ผ่านการพิสูจน์ว่าสามารถผลิตผง SLS ทรงกลมได้ ด้วยกระบวนการแบบแห้ง บริษัทยังพัฒนาเทคโนโลยีนี้ต่อและตั้งเป้าที่จะทำเป็นโซลูชันนำร่องและระดับของการผลิตในอีกไม่กี่ปีถัดจากนี้

สิ่งปลูกถ่ายพิมพ์สามมิติที่ดูดซึมได้ทางชีวภาพเพื่อทำให้การรักษาดีขึ้น

บริษัท Lattice Medical (บูธ 12.0-B81B) เป็นสตาร์ทอัพชีวการแพทย์ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2017 บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสามมิติที่จดสิทธิบัตรด้วยความร่วมมือกับ CHU Lille-France ที่ทำให้สามารถสร้างเนื้อเยื่อไขมันใหม่โดยธรรมชาติ นำมาซึ่งการปรับปรุงกระบวนการปลูกถ่ายเต้านม ตัวอย่างเช่น ลิ้นหัวใจเทียมทำจากเนื้อเยื่อที่พิมพ์สามมิติสามารถดูดซึมทางชีวภาพได้อย่างเต็มที่ และถูกปรับให้เข้ากับรูปร่างลักษณะเฉพาะบุคคลของผู้ป่วย เต้านมจึงถูกสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมดด้วยเนื้อเยื่อของผู้ป่วยเอง ไม่ต้องเพิ่มสิ่งแปลกปลอมใดเข้าไปในร่างกาย

การพิมพ์สามมิติขนาดเล็กที่รวดเร็ว

บริษัท Photosynthetic (บูธ 12.0-B81H) มีความเชี่ยวชาญในการพิมพ์สามมิติขนาดเล็กที่เร็วและมีประสิทธิภาพ โครงสร้างขนาดเล็กสามมิติโดยทั่วไปถูกสร้างขึ้นโดยใช้วิธีธรรมดาอย่างการพิมพ์ลิโธกราฟีแบบสองโฟตอน (Two-Photon Lithography – TPL) การใช้แสงเลเซอร์ฉายบนน้ำยาเรซิ่นไวแสง (Stereolithography – SLA) และ Optical Grayscale Lithography (OGL) ในอีกด้านหนึ่ง เทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรของบริษัทใช้ระบบฮาร์ดแวร์เชิงแสง (Optical Hardware System) เรซิ่นที่ใช้โพลิเมอร์ไรเซชันโมเลกุลเดียว และอัลกอริธึมของคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมกระบวนการพิมพ์ เครื่องพิมพ์ไมโครใหม่ของ Photosynthetic ทำให้สามารถทำการผลิตไมโครได้เร็ว 50 ลบ.ม./ชม.) ด้วยโหมดความละเอียดสูง (<1 ไมครอน)

การประหยัดต้นทุนในขั้นตอนหลังการประมวลผล

หุ่นยนต์ Netshape Robots ของ Rivelin Robotics สตาร์ทอัพสัญชาติอังกฤษ (บูธ 12.0-B41) ได้พัฒนาโซลูชันสำหรับขั้นตอนหลังการประมวลผลที่รวดเร็วของการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบโลหะที่ผลิตด้วยวิธีเติมวัสดุ ในหลายแอปพลิเคชันของการผลิตแบบเติมวัสดุของโลหะ ขั้นตอนหลังการประมวลผลคิดเป็นต้นทุนมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ต่อหน่วยชิ้นส่วน สำหรับการกำจัดตัวสนับสนุนออกและการตกแต่งแบบมีเป้าหมาย Rivelin ได้พัฒนาหุ่นยนต์ Netshape Robots ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ควบคุม Netshape อันทรงพลังซึ่งใช้ทั้ง Machine Learning และทฤษฎีการควบคุมเชิงกำหนดแบบดั้งเดิม ผลลัพธ์ คือโซลูชันการขจัดตัวสนับสนุนที่ลดของเสียได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ลดต้นทุนปฏิบัติการลง 10 เท่า และขจัดความเสี่ยงอีกด้วย  

การเชื่อมคอมโพสิตจากการผลิตแบบเติมวัสดุที่ทำให้ดีขึ้น

สตาร์ทอัพสัญชาติอิตาลี Spherecube (บูธ 12.0-B81A) ได้พัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติที่สามารถแปรรูปวัสดุคอมโพสิตที่ทำจากโพลิเมอร์หรือเมทริกซ์เทอร์โมเซ็ตด้วยการเสริมแรงไฟเบอร์ที่มีความต่อเนื่อง จึงทำให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์จากคอมโพสิตสมรรถนะสูงเป็นรูปทรงใดก็ได้โดยอัตโนมัติ เทคโนโลยีของบริษัทแตกต่างจากกระบวนการที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยทำการบ่มพลาสติกภายใต้ความร้อนซึ่งปรับปรุงการชุบและการเชื่อมของไฟเบอร์เสริมแรง เมทริกซ์และชั้น (Layers) พิมพ์สามมิติ

บทความอ้างอิง : https://www.etmm-online.com/

บทความอื่นๆ

About The Author