ปัจจุบันมีการแข่งขันด้านอวกาศในกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ประเทศเหล่านี้พยายามที่จะเป็นเจ้าของเทคโนโลยีด้านอวกาศของตนเองเพื่อโอกาสทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการทำเหมืองแร่หายากจากดวงจันทร์ หรือการขยายอาณานิคมของประเทศไปบนดาวอังคาร อำนาจต่อรองในอนาคตเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับความสามารถทางเทคโนโลยีของแต่ละประเทศ ในบทความนี้จะมาเล่าถึงในส่วนของยุโรปที่พยายามเป็นเจ้าของเทคโนโลยีด้านอวกาศเช่นเดียวกันโดยใช้การพิมพ์ 3 มิติในการผลิต
Trumpf บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติเยอรมัน ร่วมมือกับสตาร์ทอัพด้านการเดินทางสู่อวกาศของยุโรป The Exploration Company เพื่อผลิตส่วนประกอบที่สำคัญของยานอวกาศด้วยการพิมพ์ 3 มิติด้วยโลหะ โดยมีเป้าหมายเพื่อการสร้างยานอวกาศที่คุ้มค่าและสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้สำหรับภารกิจสู่วงโคจรของโลกและดวงจันทร์
คลิปวิดีโอ เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติของ Trumpf ด้วย Laser Metal Fusion (LMF – การหลอมรวมโลหะด้วยเลเซอร์)
The Exploration Company ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติจาก Trumpf ผลิตส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับระบบขับเคลื่อนของยานอวกาศ
(ที่มา: The Exploration Company)
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 2024 บริษัทสตาร์ทอัพ The Exploration Company จะใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติจากผู้เชี่ยวชาญด้านเลเซอร์ในการพิมพ์ส่วนประกอบหลักของเครื่องยนต์ Huracán และ Mistral สำหรับยานอวกาศ Nyx Earth และ Nyx Moon โดยมีเป้าหมาย คือ ทำให้เครื่องยนต์ Huracán สามารถนำกลับมาใช้ใหม่และเติมเชื้อเพลงไบโอมีเธนและออกซิเจนได้ในวงโคจร
“เป้าหมายของเรา คือ การทำภารกิจด้านอวกาศให้มีความคุ้มค่ามากขึ้น ด้วยประโยชน์จากความเชี่ยวชาญในด้านการใช้งานและการผลิตของ Trumpf บริษัทที่ซึ่งมีประสบการณ์ยาวนานหลายทศวรรษในการผลิตส่วนประกอบที่มีความแม่นยำสูง” Hélène Huby, CEO ของ The Exploration Company กล่าว
ภารกิจเริ่มแรกในปี 2026 ของ The Exploration Company คือ การวางแผนที่จะส่งแคปซูลอวกาศไปยังวงโคจรของโลกเป็นเวลานานหลายเดือน และภารกิจต่อไปเริ่มในปี 2028 วางแผนที่จะไปดวงจันทร์ โดยให้ยานอวกาศบรรทุกสินค้าขึ้นไปในช่วงแรก และในระยะยาวจะมีคนขึ้นยานไปด้วย
The Exploration Company สามารถระดมทุนได้ 65 ล้านยูโรจากนักลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน จ้างพนักงานประมาณ 120 คน ทำงานที่ Planegg การเดินทางไปอวกาศเชิงพาณิชย์ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างมาก
การพิมพ์ 3 มิติช่วยผลักดันอุตสาหกรรมการบินอวกาศ
“เรากำลังผลักดันอุตสาหกรรมการเดินทางสู่อวกาศให้เป็นธุรกิจด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติของเรา หากคุณต้องการประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมการเดินทางสู่อวกาศ คุณต้องใช้การผลิตแบบเติมวัสดุ” Tobias Brune ผู้รับผิดชอบธุรกิจการผลิตแบบเติมวัสดุของบริษัท Trumpf กล่าว
นักออกแบบใช้การผลิตแบบเติมวัสดุรวมส่วนประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นงานชิ้นเดียว เพื่อช่วยลดน้ำหนักและความซับซ้อน น้ำหนักที่ลดลงเป็นการลดต้นทุนเชื้อเพลิงได้ด้วย ส่วนประกอบที่มีความซับซ้อนน้อยลงก็สามารถลดต้นทุนการทดสอบความปลอดภัยก่อนปล่อยจรวดและเป็นการเพิ่มความสำเร็จให้กับภารกิจในอวกาศอีกด้วย
เครื่องพิมพ์ 3 มิติช่วยให้ The Exploration Company ลดการใช้วัตถุดิบลงได้ ที่ผ่านมาบริษัทการบินอวกาศผลิตส่วนประกอบต่าง ๆ ด้วยการปั๊ม ตีขึ้นรูป การหล่อ ทำให้วัสดุจำนวนมากจบลงด้วยการเป็นของเสีย
ด้วยวิธีการผลิตแบบเดิม ๆ การผลิตรูปทรงที่ซับซ้อนบางส่วนอาจไม่สามารถทำได้หรืออาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ดังนั้น การผลิตแบบเติมวัสดุช่วยให้การพัฒนาต้นแบบให้ทำได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์การออกแบบยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับปรุงต้นแบบได้เพียงแค่คลิกเมาส์ เครื่องพิมพ์ 3 มิติก็จะผลิตต้นแบบใหม่ได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/
บทความที่น่าสนใจ
- Airbus Helicopters เลือกเครื่องพิมพ์ 3 มิติของ Trumpf เพื่อความแข็งแรงและน้ำหนักเบา
- Trumpf’ สนับสนุนอุตสาหกรรมการบินอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์และการพิมพ์ 3 มิติ
- Productive Machines เปิดตัวแอปคำนวณอัตราการป้อนโดยใช้ AI เพิ่มประสิทธิภาพการตัดเฉือน
About The Author
You may also like
-
‘Vapor Smoothing’ เทคนิคการทำหลังกระบวนการที่ทำให้ TPU กันน้ำและยืดหยุ่นเป็นพิเศษ
-
Quickparts แนะนำทางเลือกที่ยืดหยุ่นในการรอสินค้า สำหรับการพิมพ์ 3 มิติ
-
Stratasys เพิ่ม 6 วัสดุการพิมพ์ 3 มิติใหม่เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย
-
Stratasys และ Encee GmbH ร่วมกันขยายโซลูชันการพิมพ์ 3 มิติสู่ภาคส่วนการแพทย์
-
การผลิตแบบเติมวัสดุสามารถลดการปล่อยคาร์บอนและประหยัดทรัพยากรได้