6 แนวปฏิบัติสู่ Automation ที่ประสบผลสำเร็จ

6 แนวปฏิบัติสู่ Automation ที่ประสบผลสำเร็จ

จากผลการศึกษาล่าสุดว่าด้วย “Successfully Automating Toolmaking”/“การสร้างเครื่องมือด้วยระบบอัตโนมัติอย่างบรรลุผล” จากสองสถาบันทางวิชาการคือ Fraunhofer Institute for Production Technology IPT และ WBA Tooling Academy Aachen ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องของขีดความสามารถและปัญหาเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติในการสร้างเครื่องมือ

การศึกษาได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโครงสร้างการผลิตของบริษัทผู้สร้างเครื่องมือจำนวนหนึ่ง และให้มุมมองจากทัศนคติของบริษัทเหล่านั้นต่อการใช้โซลูชัน Automation ในการใช้งาน ส่วนหนึ่งของการศึกษาได้วิเคราะห์ขีดความสามารถ การใช้งานและอุปสรรคของ Automation ในอุตสาหกรรม ผู้เขียนแสดงให้เห็นว่า แนวปฏิบัติดังกล่าวยังคงมีความจำเป็นสำหรับการสร้างเครื่องมือโดยใช้ระบบ Automation ในหลายกรณี พร้อมทั้งเสนอคำแนะนำที่ชัดเจนสำหรับแนวทางปฏิบัติที่จะต้องนำไปใช้ในโปรเจก Automation ในอนาคตด้วย

จากแนวโน้มแสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือของเยอรมนีเริ่มดำเนินการโดยระบบ Automation แล้ว ครึ่งหนึ่งของบริษัทที่สำรวจได้ใช้ระบบ Automation ในการผลิตมานานกว่าห้าปีแล้ว ขณะเดียวกัน เจ็ดในสิบของบริษัทที่ถูกสอบถามยังอยู่ในกระบวนการของความพยายามใช้โปรเจก Automation ต่างๆ แต่การศึกษาไม่ได้ระบุชัดเจน ว่ายังคงมีความต้องการใช้ระบบการดำเนินงานดังกล่าวในพื้นที่จำนวนมากเพียงใด เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถเข้าสู่สนามแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ toolmaking ต้องพัฒนาต่อไปจากแนวทางการค้าแบบดั้งเดิมเพื่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรม

การออกแบบระบบ Automation ที่ปรับให้เหมาะกับงานเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ toolmaking บริษัทต่างๆ เห็นด้วยกับข้อได้เปรียบของการใช้  Automation ทั้งการช่วยเพิ่มผลผลิตและลดระยะเวลาการทำงาน ในทางกลับกันต้นทุนการลงทุนที่สูงขึ้นจำเป็นต้องได้รับข้อพิสูจน์ว่าเป็นข้อเสียเปรียบจริงหรือไม่

Fraunhofer IPT ได้ทำการสำรวจบริษัท 10 บริษัทด้าน Toolmaking ทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจัดซื้อ/จัดหาชิ้นส่วน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ หรืออุตสาหกรรมพลาสติก จากแบบสอบถาม ร้อยละ 80 ของบริษัทที่ถูกสำรวจมีลูกจ้างเกิน 100 คน พบคำตอบดังต่อไปนี้:

6 แนวทางสู่การดำเนินการระบบอัตโนมัติให้ประสบความสำเร็จ

  • จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมกระบวนการผลิตของตนเองให้มีประสิทธิภาพสำหรับทุกแผนงาน Automation เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อดีที่จะได้รับในแง่ของประสิทธิภาพการทำงาน
  • เนื่องจากชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมีจำนวนมากมายมหาศาล มีรูปทรงแบบต่างๆ รวมไปถึงขนาดที่แตกต่างกัน ทำให้การผลิตสร้างเครื่องมือมีชิ้นส่วนที่เหมือนกันจำนวนน้อยมาก ‘มาตรฐานที่จำเป็น’ ขององค์ประกอบต่าง ๆ และกระบวนการที่จำเป็นสำหรับการใช้โซลูชันระบบอัตโนมัติจึงยังขาดแคลนในบริษัทสร้างเครื่องมือในระดับหนึ่ง
  • ในการทำให้กระบวนการ Automation เป็นไปได้ ชิ้นส่วน เครื่องมือและฐานข้อมูลการผลิตควรพร้อมใช้งานตามขั้นตอนทั้งหมด บริษัทที่ถูกสำรวจได้ดำเนินการตามขั้นตอนแรกในเรื่องนี้ด้วยการใช้แท็ก RFID เพื่อระบุส่วนประกอบต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ ขั้นตอนต่อไปเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูลที่ได้รับ การใช้งานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ระบบอัตโนมัติสามารถทำงานต่อไปได้
  • การมีส่วนร่วมอย่างจริงจังของพนักงานในโครงการระบบอัตโนมัติ (Automation Project) เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ และสามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นแรงจูงใจสำหรับแผนการอื่น ๆ ต่อไป
  • บริษัทต้องเชื่อมต่อเครื่องจักรอื่นๆ เข้าด้วยกันโดยใช้ฮาร์ดแวร์ automation เพื่อสร้างกระบวนการอัตโนมัติที่จะช่วยให้สามารถจัดเตรียมวัสดุและใช้งานได้ การใช้เครื่องจักรเชื่อมประสานกันได้แบบสม่ำเสมอได้เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเวลาสั้น ๆ ในการสร้างเครื่องมือของเยอรมนีจนถึงปัจจุบัน และเวลานี้ก็ยังมีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของระดับของระบบอัตโนมัติระหว่างกระบวนการผลิตของแต่ละส่วนงาน
  • จากการประเมินแสดงให้เห็นว่า ต้นทุนการลงทุนเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดในการใช้ระบบ automation ส่วนแบ่งของโครงการ automation ที่มีอยู่ในงบประมาณการลงทุนแตกต่างกันมากในหมู่ผู้ตอบแบบสอบถาม ดังนั้น Fraunhofer IPT ได้พัฒนาวิธีการในการประเมินปัญหาแบบอัตโนมัติ ซึ่งทำให้บริษัทต่าง ๆ พบเหตุผลที่เหมาะสมในการตัดสินใจในแผนการลงทุน ในขณะที่ต้องคำนึงถึงทั้งเรื่องคุณภาพและเรื่องการเงิน

About The Author