ใช้ AI ผ่านแว่น AR เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบชิ้นส่วนและควบคุมคุณภาพ 

ใช้ AI ผ่านแว่น AR เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบชิ้นส่วนและควบคุมคุณภาพ 

ปัจจุบันมีการนำ AI และ Machine Learning มาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น รวมถึงการประกอบและการควบคุมคุณภาพ โดยเมื่อนำมาประกอบกับ Augmented Reality (การรวมเอาวัตถุเสมือนเข้ามาในโลกแห่งความเป็นจริง ผ่านอุปกรณ์อย่างแว่น AR) เพื่อแนะนำผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการประกอบให้ทำงานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดอัตราการผิดพลาดในกระบวนการทำงานอีกด้วย ระบบ AI จะแสดงภาพผ่านแว่น AR และจะทำการเตือนผู้ใช้ทันทีหากทำผิดกระบวนการ จึงเป็นการควบคุมคุณภาพไปในตัว ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานสามารถขอความช่วยเหลือให้ผู้เชี่ยวชาญที่ซึ่งจะมาปรากฏตัวแบบเสมือน (Avatar) ในแว่น AR ได้ สิ่งที่เราเคยเห็นในภาพยนตร์นั้นปัจจุบันได้เกิดขึ้นจริงแล้ว

ผู้เชี่ยวชาญจาก Fraunhofer IGD ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบชิ้นส่วนและยังตรวจสอบคุณภาพได้อีกด้วย

Ghost Helper! เวิร์คสเตชันการประกอบที่รองรับ AR ของ Fraunhofer IGD เป็นกระบวนการผลิตแบบเสมือนจริงและยังสามารถให้ผู้เชี่ยวชาญปรากฎตัวแบบอวตาร (Avatar) ได้ด้วย 

(ที่มา: Fraunhofer IGD)

ไลน์การประกอบอุตสาหกรรมมีหลายรูปแบบ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ มีกระบวนการที่ซับซ้อน และมีความต้องการในการประสานงานสูงระหว่างผู้ปฏิบัติงานและผู้เชี่ยวชาญ ในปัจจุบัน Fraunhofer Institute for Computer Graphics Research IGD สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานรวม AR และ AI เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อรับมือกับความท้าทายหรือปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการผลิต ด้วยเวิร์คสเตชันการประกอบที่รองรับ AR สามารถแนะนำผู้ประกอบชิ้นส่วนตามลำดับการประกอบ และให้การควบคุมคุณภาพชิ้นส่วน พร้อมกับคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญในรูปแบบอวตาร จึงสามารถลดอัตราความผิดพลาดและหลีกเลี่ยงการที่เครื่องหยุดทำงานได้ Ghost Helper ซอฟต์แวร์ AI รุ่นใหม่นี้จะเปิดตัวในงานแสดงสินค้า Control Trade Fair and The Hannover Messe

ได้รับฟีดแบคทันทีเพื่อลดข้อผิดพลาดในการประกอบ

ผู้ปฏิบัติงานที่สวมแว่น AR สามารถเห็นขั้นตอนและตำแหน่งของแต่ละส่วนประกอบได้ด้วยสายตาของผู้ปฏิบัติจริง ๆ ช่วยให้ปฏิบัติตามกระบวนการผลิตนั้นง่ายขึ้น เวิร์คสเตชันการประกอบที่รองรับ AR นั้นไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษ เพียงแค่มีกล้อง 4 ตัวที่บันทึกพื้นที่ทำงานและแนะนำผู้ประกอบชิ้นส่วนแต่ละขั้นตอนผ่านทางเอาท์พุต AR เคลื่อนที่ อย่างเช่น แท็บเลต หรือ แว่น AR 

อะไรจะเกิดขึ้นหากผู้ปฏิบัติงานหยิบส่วนประกอบผิด? ข้อความที่แสดงถึงความผิดพลาดจะปรากฎและแสดงภาพสิ่งที่ถูกต้องให้เห็นในทันที หรือบางครั้งส่วนประกอบถูกต้องแต่วางตำแหน่งผิดล่ะ? ในกรณีนี้ก็จะได้รับฟีดแบคเช่นกัน อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ส่วนประกอบมีข้อบกพร่อง เช่น รูเจาะหายไป ซึ่งฟีดแบคนี้จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้

ความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกแบบเสมือนจริง

การที่มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือนี้เป็นที่ต้องการในภาคส่วนของยานยนต์ การก่อสร้างโรงงานและเครื่องมือ รวมถึงการประกันคุณภาพด้วย ข้อดีของซอฟต์แวร์เวิร์คสเตชันการประกอบที่รองรับ AR นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการประกอบผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อน คือ หากมีคำถามหรือปัญหาเกิดขึ้นสามารถให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยเหลือได้ในทันที ผู้เชี่ยวชาญสามารถอธิบายหรือแก้ไขปัญหาได้ สื่อสาร และโต้ตอบได้เหมือนมาอยู่ตรงหน้าจริง ๆ  ซึ่งรูปแบบนี้เป็นแอปพลิเคชันหลักของ ‘Industrial Metaverse’   

คุณผู้อ่านสามารถรับชมวิดีโอที่ไมโครซอฟต์นำเสนอแนวคิดการประชุมทางไกลแบบปรากฏตัวเสมือนจริงได้จากลิงก์ด้านล่าง

การสอน AI ด้วยโมเดล CAD 

ทีมผู้เชี่ยวชาญจาก IGD ได้ผสมผสานรวม AR เข้ากับ Machine Learning โดยที่ AI ได้รับการฝึกฝนจากภาพที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ตามโมเดล CAD ไม่ต้องใช้รูปจริง ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการใส่แว่น AR แล้วนั้น AI จะแนะนำขั้นตอนทั้งหมด โดยมีการขึ้นคำอธิบายบนแว่นตาขณะที่ใส่อยู่นั้น ผู้ใช้เพียงทำตามวิธีการที่ AI แนะนำ หากประกอบผิด AI จะแจ้งเตือน และแสดงภาพที่ถูกต้องให้เห็น จึงไม่จำเป็นต้องออกแบบและพิมพ์คู่มือแนะนำการใช้งานอีกต่อไป

คุณผู้อ่านสามารถรับชมวิดีโอเพื่อให้เห็นภาพการใช้งานแว่น AR ได้จากลิงก์ด้านล่าง

โซลูชัน AI ที่สวมใส่ได้/พกพาได้ META-aivi จาก Solomon AI and 3D Vision

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/

บทความที่น่าสนใจ

About The Author