เครื่องพิมพ์ 3 มิตินั้นมีหลากหลายขนาดและหลายประเภท มีทั้งแบบเครื่องพิมพ์ตั้งโต๊ะ (Desktop) ไปจนถึงเครื่องขนาดใหญ่ระดับอุตสาหกรรม การวางตำแหน่งทางการตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ก็มีความแตกต่างกัน บางแบรนด์เน้นเรื่องความละเอียดของการผลิต (X-Jet) บางแบรนด์เน้นการผลิตชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่มาก (Massivit 3D) ในขณะที่บางแบรนด์เน้นการผลิตด้วยความเร็วสูง
(Impossible Objects) ในปัจจุบันการพิมพ์ 3 มิตินำมาใช้เพื่อการผลิตชิ้นงานสำหรับการใช้งานจริงมากขึ้นแทนการผลิตต้นแบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Prototyping) เพียงอย่างเดียว โดยการพิมพ์ 3 มิติจะสามารถแทนที่การผลิตแบบเดิมหรือไม่นั้นต้องมีการนำมาเปรียบเทียบกันในทุกแง่มุม ทั้งคุณภาพงานผลิต ความเร็ว ต้นทุนการผลิต การตกแต่งชิ้นงานหลังการพิมพ์ รวมถึงความยากง่ายในการหาซื้อวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์ด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ดีในการเลือกใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติให้เหมาะสมเพื่อให้การลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ไม่ได้มีแค่สเปคของตัวเครื่องอย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย คุณผู้อ่านสามารถศึกษาได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
การผลิตแบบเติมวัสดุเป็นมากกว่าเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
ระบบวัสดุแบบเปิด VS แบบปิด: การแบ่งขั้วที่มีอิทธิพลต่อตลาดวัสดุการพิมพ์ 3 มิติ
ในบทความนี้ขอนำเสนอแบรนด์ที่วางตำแหน่งตนเองไว้ว่าเป็นเครื่องพิมพ์สำหรับการใช้งานทางวิศวกรรม ด้วยวัสดุ ABS และ คาร์บอนไฟเบอร์ ABS
Ultimaker บริษัทผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ประกาศเปิดตัว Method XL โซลูชันการพิมพ์ 3 มิติสำหรับการใช้งานทางวิศวกรรม ให้การพิมพ์ที่ถูกต้องแม่นยำด้วยวัสดุเกรดอุตสาหกรรม โดยไม่กระทบกับขนาดชิ้นส่วน
อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิที่ให้ความร้อนและแผ่นให้ความร้อน Method XL ออกแบบมาเพื่อพิมพ์ชิ้นส่วนการผลิตขนาดใหญ่ด้วยวัสดุการผลิตเกรด ABS
(ที่มา: Ultimaker)
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ultimaker Method XL ออกแบบมาเพื่อความถูกต้องแม่นยำและประสิทธิภาพของการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับความยืดหยุ่นและราคาที่ซื้อหาได้ของเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบตั้งโต๊ะ
เครื่องพิมพ์รุ่นใหม่นี้เชื่อมช่องว่างระหว่างเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบตั้งโต๊ะและแบบอุตสาหกรรมด้วยการผสมผสานการเข้าถึงและประสิทธิภาพ มาพร้อมกับพื้นที่สำหรับการประกอบที่กว้างขวางถึง 305 มม. x 305 มม. x 320 มม. และความถูกต้องแม่นยำของขนาดที่ ± 0.2 มม. ทำให้ลูกค้าสามารถจัดการกับโครงการขนาดใหญ่ได้ ตั้งแต่การสร้างต้นแบบตามการใช้งานไปจนถึงการผลิตชิ้นงานจริง
Method XL ออกแบบมาเพื่อสร้างชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่ มีความซับซ้อน ใช้วัสดุเกรดอุตสาหกรรมอย่าง ABS-R และคาร์บอนไฟเบอร์ ABS เพื่อความทนทาน ห้องให้ความร้อนให้อุณหภูมิสูงถึง 100°C ออกแบบมาให้พิมพ์ด้วย ABS แล้วได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่ง ABS เป็นหนึ่งในวัสดุยอดนิยมและมีความท้าทายมากที่สุดในการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ เนื่องจากมีแนวโน้มที่ชิ้นงานจะบิดเบี้ยวและเสียรูปได้ Method XL จึงมีแผ่นสร้างความร้อนเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาการบิดเบี้ยวและการไม่ยึดเกาะของชั้นเลเยอร์ ทั้งอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิที่ให้ความร้อนและแผ่นให้ความร้อนร่วมกันสร้างภาวะแวดล้อมที่มั่นคงในการผลิตชิ้นส่วนที่ถูกต้องแม่นยำและแข็งแรงในขนาดใดก็ได้ นอกจากนี้เมื่อรวมกับ Rapid Rinse ที่ละลายน้ำได้อย่างรวดเร็วก็จะทำให้พิมพ์ด้วย ABS เรียบง่ายและราบรื่นยิ่งขึ้น Rapid Rinse ถือเป็นวิธีการขจัดวัสดุรองรับได้เร็วที่สุดวิธีหนึ่งสำหรับชิ้นส่วน FDM ที่มีความซับซ้อน ส่งผลให้พื้นผิวตกแต่งมีความละเอียดยิ่งขึ้น อีกทั้งเวิร์คโฟลว์การทำงานที่ราบรื่นตั้งแต่ไฟล์ CAD ไปจนถึงการพิมพ์ชิ้นส่วน Method XL จะซิงค์โดยตรงกับซอฟต์แวร์การพิมพ์บนคลาวด์ทำให้ลูกค้าสามารถอัปโหลด ตรวจสอบ และติดตามงานพิมพ์จากเว็บเบราว์เซอร์ได้อย่างง่ายดาย
สามารถรับชมคลิปวิดีโอการทำงานของ Ultimaker Method XL ได้ในลิงก์ด้านล่าง
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/
บทความที่น่าสนใจ
- Impossible Objects เปิดตัวเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่เคลมว่าเร็วที่สุดในโลก
- ‘Exam 255’ เครื่องพิมพ์ 3 มิติหลากหลายวัสดุ จาก AIM3D
- เครื่องพิมพ์ 3 มิติจะมาแทนที่ CNC แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์
- การผลิตแบบเติมวัสดุเป็นมากกว่าเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
About The Author
You may also like
-
NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
-
SuperSource : VEGAPULS 6X เซนเซอร์วัดระดับแบบต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีเรดาห์แบบพรีเมียม
-
แถลงจัดงาน THECA 2024 ผลักดันประเทศไทยสู่ฐานผลิต PCB ระดับโลก
-
อินฟอร์มาฯ – ก.พลังงาน ร่วมภาคีเครือข่ายด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2024
-
อินเตอร์แมค – ซับคอนไทยแลนด์ 2024 เปิดแล้ว ใหญ่จริง จัดเต็ม เทคโนโลยี นวัตกรรม สัมมนาเปิดทางรอดอุตสาหกรรมไทย