อีกไม่นานหลังจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกไปยังยุโรปจะต้องประกาศคาร์บอนฟุตพรินต์ ภาษีคาร์บอนจะเป็นต้นทุนเพิ่ม หากผู้ผลิตไม่สามารถทำได้ตามเกณฑ์ก็จะต้องเสียภาษีเพิ่ม ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนของสินค้าเกิดการแข่งขันยากขึ้นในประเทศปลายทาง ส่งผลให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องซื้อปัจจัยต่าง ๆ ทั้งเครื่องจักรและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจากแหล่งที่อ้างอิงได้ว่าปล่อยคาร์บอนต่ำกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุนภาษีคาร์บอน ความยั่งยืนจะกลายเป็นหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อเครื่องจักรและวัตถุดิบ ควบคู่กับประสิทธิภาพเดิม อันได้แก่ คุณภาพ ผลิตภาพ ต้นทุน เป็นต้น
บางบริษัทในยุโรปจึงเริ่มลงมือปฏิบัติการลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการของตนอย่างจริงจัง มีการประกาศคำมั่นสัญญา และรายงานผลประกอบการ หรือแจ้งความคืบหน้าในการลดคาร์บอนของบริษัทตนเองอย่างต่อเนื่อง เช่น บริษัท Arburg ผู้ผลิตเครื่องจักรสัญชาติเยอรมัน และ Swiss Steel Group ทั้งสองบริษัทนี้เป็นตัวอย่างในการวางตำแหน่งเป็นผู้บุกเบิกในการลดการปลดปล่อยคาร์บอน โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และแบ่งปันแนวทางให้กับบริษัทอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการทำตาม รวมถึงชักชวนให้ซัพพลายเออร์ของบริษัทลงมือทำในสิ่งเดียวกัน ซึ่งซัพพลายเออร์จำเป็นต้องขยับตามเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าหลัก ในอีกมุมหนึ่งตัวบริษัทเองก็สามารถเลือกซื้อตามเกณฑ์ความยั่งยืนได้ดียิ่งขึ้น เมื่อมีข้อมูลคาร์บอนฟุตพรินต์ของซัพพลายเออร์ในการประกอบการตัดสินใจ
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ ARBURG เผยแพร่รายงานความยั่งยืนปี 2022 เพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินต์ในกระบวนการผลิตอย่างยั่งยืน ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
บทความ Swiss Steel Group – หนทางสู่การผลิตเหล็กกล้าที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
แนวทางอีกอย่างหนึ่งในการประกาศตนเรื่องความยั่งยืน คือ การเข้ารับการตรวจและรับรองโดยองค์กรกลางระดับโลก เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในสายตานักลงทุน บทความนี้จะกล่าวถึงการเข้าร่วม Carbon Disclosure Project ของ Swiss Steel Group ซึ่งเป็นก้าวย่างที่สำคัญก้าวหนึ่งของบริษัท
______________________________________________________________________________
Carbon Disclosure Project (CDP) คือ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งในปี 2000 โดยเป็นผู้สร้างระบบตรวจวัดรายงาน และเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นมาตรฐาน สำหรับองค์กรหรือเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งใช้เป็นแรงจูงใจทางการตลาดเพื่อผลักดันให้บริษัทต่าง ๆ เปิดเผยข้อมูลของตนเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงมาตรการเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ปัจจุบันมีองค์กรที่เปิดเผยข้อมูลผ่าน CDP แล้วกว่า 1,000 องค์กร ซึ่งคิดเป็นปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงของโลกประมาณ 12% (ข้อมูลปี 2020)
สำหรับวิธีการให้คะแนนของ CDP แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
D = Disclosure ยินยอมเปิดเผยข้อมูล
C = Awareness มีความตระหนักและสามารถประเมินผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัทต่อสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงของบริษัทจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
B = Management มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี (Good Environmental Management)
A = Leadership มีความเข้าใจเกี่ยวกับโอกาสและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างดี และมีกลยุทธ์ในการรับมือที่เหมาะสม รวมถึงมีแผนการดำเนินงานและเป้าหมายเกี่ยวกับการรายงาน GHG และการลดการปล่อย GHG
ที่มา: CDP,2020
______________________________________________________________________________
ในประเทศไทยเองก็มีบริษัทไทยชั้นนำหลายแห่งที่ได้เข้าร่วม Carbon Disclosure Project โดยสามารถดูรายละเอียดของบริษัทที่ได้เข้าร่วม CDP ได้จากลิงก์ที่อยู่บนชื่อของแต่ละบริษัท ดังนี้
พีทีที โกลบอล เคมิคอล (GC) ได้ระดับ A ปี 2023
โกลบอลกรีนเคมิคอล (GGC) ได้รับ A- ปี 2022
ซีพีออลล์ ได้ระดับ A- ปี 2020
การได้รับการรับรองยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาผู้บริโภคและนักลงทุนอีกด้วย
แม้ว่าตลาดจะมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และสภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยากลำบาก Swiss Steel Group กำลังพัฒนากลยุทธ์ในการลดการปล่อยคาร์บอน โดยการเข้าร่วม Carbon Disclosure Project ทำให้เป็นกลุ่มผู้ผลิตเหล็กกล้าสัญชาติยุโรปรายแรกที่เข้าร่วมโครงการ
Swiss Steel Group ผู้ผลิตเหล็กกล้าสัญชาติยุโรปรายแรกและผลิตเส้นทางทุติยภูมิรายแรกของโลกที่เข้าร่วมโปรแกรมซัพพลายเชนโครงการ Carbon Disclosure Project (CDP)
(ที่มา: ลิขสิทธิ์ฟรี / Unsplash)
ก้าวย่างที่สำคัญอีกก้าวของ Swiss Steel Group ในกลยุทธ์การลดการปล่อยคาร์บอน คือ การตัดสินใจเป็นผู้ผลิตเหล็กกล้าสัญชาติยุโรปรายแรกและผลิตเส้นทางทุติยภูมิรายแรกของโลกที่เข้าร่วมโปรแกรมซัพพลายเชนโครงการ CDP ซึ่งเป็นโปรแกรมระดับโลกที่ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถวัดและลดการปล่อยคาร์บอนทั้งซัพพลายเชนของพวกเขาได้ ช่วยให้เข้าใจและปรับปรุงประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมของซัพพลายเออร์ให้ดีขึ้น และทำให้ติดตามการปล่อยคาร์บอนในซัพพลายเชนของพวกเขาได้อย่างถูกต้องแม่นยำขึ้น จากความคิดริเริ่มนี้ Swiss Steel Group ได้ติดต่อซัพพลายเออร์ด้านวัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลือง 150 ราย ด้วยจุดมุ่งหมาย คือ ความมีประสิทธิภาพและความเข้าใจในคาร์บอนฟุตพรินต์ได้ดียิ่งขึ้น
Swiss Steel Group สามารถรวมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของซัพพลายเออร์เข้ากับกระบวนการตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้การขอข้อมูลการปล่อยคาร์บอนหลักโดยตรงจากซัพพลายเออร์ทำให้สามารถคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากกว่าการใช้ปัจจัยการปล่อยคาร์บอนทุตยภูมิตามค่าเฉลี่ย ในอนาคต Swiss Steel Group จะสามารถให้ข้อมูลคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้าได้อย่างถูกแม่นยำยิ่งขึ้น
Swiss Steel Group ในฐานะผู้นำตลาดเหล็กกล้าสัญชาติยุโรปที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (European Green Steel) ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความยั่งยืนและการปกป้องสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งซัพพลายเชนและมุ่งมั่นในการใช้แนวทาง Cradle-to-Gate แบบองค์รวมในการปล่อยคาร์บอน
___________________________________________________________________________
Cradle-to-Gate คือ การประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การสกัดวัตถุดิบจนกระทั่งได้มาเป็นผลิตภัณฑ์ แต่จะไม่รวมขั้นตอนการใช้งานหรือกำจัดซาก ซึ่งรูปแบบนี้เป็นแบบนิยมใช้ในการทำเอกสาร Environmental Product Declaration (EPD)
____________________________________________________________________________
“เรามีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นผู้บุกเบิกในของความสำคัญนี้ และบทบาทที่เพิ่มขึ้นในฐานะผู้นำภาคส่วนเหล็กกล้าสีเขียว หรือ Green Steel เราหวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากซัพพลายเออร์และบริษัทต่าง ๆ ที่จะปฏิบัติแนวทางเดียวกับเรา” Frank Koch ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Swiss Steel Group กล่าว
Swiss Steel Group มุ่งมั่นที่จะทำงานด้านการปกป้องสภาพอากาศและปัญหาด้านความยั่งยืนต่อไปเพื่ออนาคตของสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/
บทความที่น่าสนใจ
- Swiss Steel Group กับการเปลี่ยนแปลงโลกด้วย green transformation
- หนทางสู่การผลิตเหล็กกล้าที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
- Chiron และ ETG มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในสิ้นปี 2022
- สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ทำได้อย่างไร?
About The Author
You may also like
-
DigiTech ASEAN Thailand & AI Connect 2024 พบกับโซลูชันเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์กว่า 350 แบรนด์
-
NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
-
SuperSource : VEGAPULS 6X เซนเซอร์วัดระดับแบบต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีเรดาห์แบบพรีเมียม
-
แถลงจัดงาน THECA 2024 ผลักดันประเทศไทยสู่ฐานผลิต PCB ระดับโลก
-
อินฟอร์มาฯ – ก.พลังงาน ร่วมภาคีเครือข่ายด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2024