ทังสเตนใช้เป็นวัสดุการพิมพ์ 3 มิติได้แล้ว

นักวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยี Karlsruhe (KIT) ได้ประสบความสำเร็จในการพิมพ์ทังสเตน (wolfram) ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติเชิงพาณิชย์

นักวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยี Karlsruhe (KIT) ได้ประสบความสำเร็จในการพิมพ์ทังสเตน (wolfram) ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติเชิงพาณิชย์ (ที่มา: Pixabay)

ในการพิมพ์ทังสเตน นักวิจัยของ KIT ใช้โลหะในรูปของผงและผสมด้วยกันกับสารยึดเกาะ ส่วนผสมนี้ถูกใช้ในการก่อสร้างเส้นใย “เพื่อที่จะได้ส่วนประกอบทังสเตนที่บริสุทธิ์ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เราต้องขจัดระบบยึดเกาะออกหลังกระบวนการพิมพ์” Dorit Nötzel จากสถาบันวัสดุประยุกต์ (IAM) ที่ KIT เพื่อวัตถุประสงค์นี้วัตถุที่พิมพ์ถูกทำความร้อนมากกว่า 2,000 °C ระหว่างภายหลังกรรมวิธีทางความร้อนนี้ เม็ดผงทังสเตนแต่ละเม็ดจะรวมกันและก่อตัวเป็นส่วนประกอบเดียว และผ่านการเผาผนึกเป็นขั้นตอนสุดท้าย

เนื่องด้วยความต้านทานการกัดกร่อนที่สูง ทังสเตนเป็นวัสดุในอุดมคติสำหรับเครื่องมือในโรงงานเคมี ด้วยจุดหลอมเหลวที่ 3,400 °C ทำให้มันมีความเหมาะสมสำหรับใบพัดเครื่องยนต์ไอพ่น ด้วยความแข็งและจุดหลอมเหลวที่สูงเช่นนี้ ทำให้ยากต่อการตัดเฉือน “โดยการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ ตอนนี้เราสามารถผลิตส่วนประกอบทังสเตนที่ใช้ในเทคโนโลยีฟิวชั่นภายในโปรแกรม HGF ฟิวชั่น หรือในเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้น ” Antusch กล่าว

ช่วงของวัสดุเส้นใยที่พัฒนาโดยทีม IAM-WK รวมถึงโลหะ เซรามิกและวัสดุโพลิเมอร์ ความสามารถในการปรับขนาดได้ (Scalability) และการผลิตส่วนประกอบที่มีความซับซ้อนด้วยขนาดโครงสร้างที่แตกต่างกันสามารถถูกปรับอย่างเป็นเอกเทศและปรับให้เหมาะสมตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวฉีดและองค์ประกอบของแข็ง

อ้างอิง : https://www.etmm-online.com/

บทความอื่นๆ :

About The Author