‘พลาสติกหมุนเวียน’ บนเส้นทางสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

 

Evonik บริษัทด้านเคมีภัณฑ์พิเศษกำลังรวมกิจกรรมสำหรับการผลิตพลาสติกหมุนเวียน (circular plastics) ในโครงการระดับโลก ส่วนหนึ่งของโครงการเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งบริษัทต้องการนำเสนอโซลูชันสำหรับลูกค้าทุกขั้นตอนในห่วงโซ่คุณค่าของโพลีเมอร์ – polymer value chain หรือพลาสติกในการใช้งาน

เทคโนโลยีและสารเติมแต่ง (Additives) ทำให้การรีไซเคิลทั้งในทางกลและทางเคมีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้พลาสติกแบบหมุนเวียนพร้อมใช้งานมากยิ่งขึ้น Evonik ให้เหตุผล นอกจากนั้น บริษัทยังต้องการเพิ่มการใช้วัตถุดิบที่ยั่งยืนจากแหล่งหมุนเวียน (circular sources) ในกระบวนการผลิตด้วย ซึ่งโดยรวมแล้ว Evonik คาดว่า โครงการพลาสติกหมุนเวียน หรือ circular plastic ทั่วโลกจะสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า 350 ล้านยูโรต่อปีภายในปี 2030

มีการผลิตพลาสติกมากกว่า 350 ล้านเมตริกตันทั่วโลกในทุก ๆ ปี แต่มีเพียงเศษเสี้ยวเล็ก ๆ ในจำนวนนั้นที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งบริษัทเคมีภัณฑ์อย่าง Evonik สามารถช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (แนวโน้มสำคัญของโลกในอนาคตอันใกล้) ได้จากแอปพลิเคชันการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืน (sustainable plastics applications) โดยการใช้โซลูชันและวัสดุ (สารเติมแต่ง) ต่างๆ ในต้นทุนและคุณภาพที่แข่งขันได้

 



circular plastics_พลาสติกหมุนเวียน
Evonik pools its circular plastics activities in push towards more sustainable solutions. (Source: Evonik)

 

ในการรีไซเคิลเชิงกล หรือ Mechanical Recycling นั้น พลาสติกจะถูกแยกประเภท เตรียมพร้อมและล้างทำความสะอาด ก่อนที่จะถูกนำไปหลอมและทำให้เป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล กระบวนการนี้คือขั้นตอนหลักๆ สำหรับเทอร์โมพลาสติกและในกระบวนการที่คล้ายคลึงกันสำหรับยางรถยนต์เก่า Evonik ประกาศว่า กำลังดำเนินการเพื่อช่วยให้ผู้ผลิตวัสดุรีไซเคิลสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของกระบวนการได้อย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น การใช้สารลดแรงตึงผิวในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้สามารถนำฉลากออก (จากบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์) ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ทิ้งสิ่งตกค้าง ในขณะที่สารลดฟอง หรือ สารป้องกันการเกิดฟอง (Defoamers)  ทำให้กระบวนการซักล้างง่ายขึ้น ในขณะที่ การบำบัดกากตะกอนในน้ำ (Dewatering agents) ช่วยประหยัดพลังงานและเวลาในการอบแห้ง สิ่งที่ต้องการมุ่งเน้นอีกประการหนึ่งก็คือ การลดกลิ่นของรีไซเคลท (recyclate) ให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งนี้ สารเติมแต่งพิเศษ หรือ Specialty additives ที่ว่านี้สามารถช่วยเพิ่มปริมาณของรีไซเคลทที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยคุณภาพสูง (high-quality re-usable recyclate) ได้ประมาณ 5% โดย Evonik อ้างว่า จะสามารถนำเสนอโซลูชันดังกล่าวสำหรับพลาสติกรีไซเคิลได้ประมาณ 400,000 เมตริกตันภายในปี 2025

 


*รีไซเคลท (Recyclate) คือคอมปาวด์ที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์แบบกึ่งสำเร็จ ผลิตภัณฑ์สำเร็จแล้ว หรือทางวิ่ง มีชื่อเรียกทั่วไปว่า รีไซเคลท (recyclates)

คำว่า รีไซเคลท (recyclate) เกิดจากการรวมกันของ รีไซคลิง (recycling) และตามด้วยตัวพลาสติก (เช่น อะคลิเลท) รีไซเคลท อาจหมายถึง regrind, regranulate หรือ คอมปาวด์ (เครดิต: https://www.plexpert.ca)

รีไซเคลท ไม่ใช้วัสดุหลัก แต่สามารถทดแทนวัสดุหลักได้ในงานหลายประเภท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ด้วย


 

นอกจากนี้ บริษัทยังทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการรีไซเคิลเชิงเคมีต่าง ๆ สำหรับขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ในทางกลไก ในข้อนี้ห่วงโซ่โพลีเมอร์จะถูกแยกออกเพื่อให้ได้ส่วนประกอบสำหรับการผลิตพลาสติกใหม่ ตัวอย่างเช่น ปัจจุบัน Evonik กำลังพัฒนากระบวนการเพื่ออำนวยความสะดวกในการรีไซเคิลขยะโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต หรือ PET (เช่น ขวดน้ำแบบใส บรรจุภัณฑ์ที่เราใช้กันมากที่สุดประเภทหนึ่ง) ที่มีการปนเปื้อนมาก ทั้งนี้ โมเลกุลใหม่สำหรับการใช้งานระดับไฮเอนด์จะได้มาผ่านทางเมทานอลิซิส (methanolysis)

การรีไซเคิลทางเคมีอีกวิธีหนึ่งคือ การควบคุมการเผาขยะพลาสติกเพื่อผลิตน้ำมันไพโรไลซิส หรือ ก๊าซสังเคราะห์ (synthesis gases) Evonik นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ที่มีส่วนในการทำให้กระบวนการเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่าง ได้แก่ สารเติมแต่ง, ตัวเร่งปฏิกิริยา และเยื่อบุ หรือ membranes สำหรับการบำบัดก๊าซ ซึ่งน้ำมันไพโรไลซิสและก๊าซสังเคราะห์เหล่านี้สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกได้


**Mechanical Recycling เป็นกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกที่ไม่มีความซับซ้อน พลาสติกที่ใช้แล้วจะถูกนำมาแยกประเภท แล้วล้างทำความสะอาด จากนั้นบดแล้วหลอมเป็นเม็ดพลาสติกอีกครั้ง ซึ่งเทคโนโลยีนี้ใช้เงินลงทุนต่ำจึงเหมาะที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการนำพลาสติกกลับเข้ามาหมุนเวียนในระบบ แต่ข้อเสียคือใช้ได้เฉพาะกับพลาสติกประเภท PET และ HDPE ซึ่งพลาสติกที่ได้หลังกระบวนการนี้จะมีคุณภาพด้อยกว่าเม็ดใหม่ ทำให้นำมาใช้งานได้บางประเภทเท่านั้น


อ้างอิง: https://www.etmm-online.com/evonik-wants-to-generate-millions-with-circular-plastics-a-1010171/

บทความที่เกี่ยวข้อง: 

Component design | การทดสอบอายุใช้งานพลาสติกอย่างรวดเร็ว

13 โซนไฮไลท์ในงาน NPE2021: พลาสติกโชว์ เน้นความยั่งยืนและรีไซเคิล

3D Printing: ‘ชีวิตที่สอง’ ของพลาสติก

 

About The Author