ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันถึงดีถึงความจำเป็นในการลดการปล่อยคาร์บอนสู่สภาพอากาศ ผู้ผลิตต้องหาหนทางในการลดคาร์บอนด้วยมาตรการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเครื่องจักรใหม่ที่มีประสิทธิภาพ มีคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ต่ำ การใช้พลังงานหมุนเวียนแทนฟอสซิล ตลอดจนการใช้วัสดุรีไซเคิลที่มีคาร์บอนฟุตพรินต์ต่ำกว่าวัสดุใหม่
ในส่วนของพลาสติกนั้น นอกจากความพยายามในการใช้พลาสติกรีไซเคิล อีกหนึ่งในตัวเลือกที่เป็นไปได้ คือ การใช้พลาสติกชีวภาพที่ผลิตขึ้นมาจากพืชซึ่งให้คาร์บอนฟุตพรินต์ที่ต่ำกว่าพลาสติกที่ผลิตจากฟอสซิล เป็นตัวเลือกที่ผู้ผลิตสินค้าสามารถเลือกใช้แทนพลาสติกฟอสซิลเพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินต์ในตัวสินค้า โดยมีตัวเลือกที่สามารถรองรับการใช้งานและผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนได้ เนื่องจากปัจจุบันเริ่มมีภาษีคาร์บอนข้ามแดนที่กำหนดโดยสหภาพยุโรป หากผู้ผลิตไม่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ตามกำหนดจะต้องเสียภาษี อาจทำให้ต้นทุนสินค้าที่จะนำไปวางขายในตลาดยุโรปสูงขึ้นจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดยุโรปได้
บทความ ไบโอพลาสติกคืออะไร? (ที่มา: SciMath)
https://www.scimath.org/article-physics/item/11334-bioplastics
European Bioplastics รายงานอัปเดตการพัฒนาตลาดปี 2023 ในระหว่างการประชุมไบโอพลาสติกยุโรป (EBC 2023) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี จากรายงานแสดงให้เห็นว่าการผลิตพลาสติกเริ่มกระเตื้องขึ้นหลังซบเซามาเป็นเวลานานในช่วงโควิด
ตัวเลือกของพลาสติกชีวภาพ มีอยู่แทบทุกวัสดุพลาสติก
(ที่มา: Ministerie van Beeld – Molenstraat 71-73 Gorinchem)
การผลิตพลาสติกชีวภาพทั่วโลกกำลังกลับขึ้นมาหลังซบเซามาหลายปี โดยได้รับผลกระทบหลักจากโควิด การพัฒนานี้ได้รับแรงผลักดันจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นรวมกับการเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์และการใช้งานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น รายงานระบุว่ากำลังการผลิตของพลาสติกชีวภาพทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากประมาณ 2.18 ล้านตันในปี 2023 เป็นประมาณ 7.43 ล้านตันในปี 2028
“การเติบโตของกำลังการผลิตพลาสติกชีวภาพควรมีความเข้าใจถึงสิ่งต่าง ๆ ทั่วโลกในด้านของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น และการหยุดชะงักของห่วงโซ่คุณค่า ถึงแม้ว่าจะมีความท้าทายเหล่านี้แต่กำลังการผลิตของพลาสติกชีวภาพก็ยังสูงขึ้นเป็นสิ่งที่ตอกย้ำความสามารถในการฟื้นตัวและความสำคัญของอุตสาหกรรมของเรา” Hasso von Pogrell กรรมการผู้จัดการของพลาสติกชีวภาพยุโรป (European Bioplastics หรือ EUBP) กล่าว
สัดส่วนประเภทพลาสติกชนิดต่าง ๆ ทั้งแบบย่อยสลายและไม่ย่อยสลายทางชีวภาพ
(ที่มา: พลาสติกชีวภาพยุโรป)
การคาดการณ์การเติบโตของกำลังการผลิตพลาสติกชีวภาพในอีก 5 ปีข้างหน้า
(ที่มา: พลาสติกชีวภาพยุโรป)
ด้วยพัฒนาการของพอลิเมอร์ที่มีความแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็น PLA (Polylactid Acid), PHA (Polyhydroxyalkanoates), PAs (Polyamides) รวมถึง PP (Polypropylene) ที่กำลังการผลิตจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีก 5 ปีข้างหน้า ทำให้ทางเลือกในการใช้พลาสติกชีวภาพมีอยู่แทบทุกวัสดุพลาสติกและการใช้งานที่เกี่ยวข้อง
พลาสติกชีวภาพถูกนำมาใช้เพื่อการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และสิ่งทอ ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์ยังคงเป็นกลุ่มตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับพลาสติกชีวภาพโดยคิดเป็น 43 เปอร์เซ็นต์ (934,000 ตัน) ของตลาดพลาสติกชีวภาพทั้งหมดในปี 2023
“ในขณะที่มีการนำกฎระเบียบที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์และของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์มาใช้ ก็ยังคงมีการหารือกันภายในสถาบันต่าง ๆ ของยุโรปอยู่ ซึ่งข้อมูลแสดงให้เห็นว่าพลาสติกชีวภาพมีอนาคตในภาคส่วนบรรจุภัณฑ์ โดยทดแทนการใช้งานที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ และช่วยลดการใช้พลาสติกที่ผลิตจากฟอสซิลได้” von Pogrell อธิบาย
ปีนี้เป็นครั้งแรกที่รายงานได้รวมข้อมูลเชิงลึกในข้อมูลการผลิต การเปรียบเทียบกำลังการผลิต และการผลิตจริงในปี 2023 แสดงให้เห็นว่ากำลังการผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพใกล้เต็มกำลังการผลิต ถึงแม้ว่ากำลังการผลิตจะผันแปรไปตามพอลิเมอร์ โดยกำลังการผลิตที่ใช้ตั้งแต่ 60 – 100 เปอร์เซ็นต์ อัตราเฉลี่ยในปี 2023 อยู่ที่ 82 เปอร์เซ็นต์ (1.79 ตันการผลิต ต่อ 2.18 ตันกำลังการผลิต)
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/
บทความที่น่าสนใจ
- Husky คว้ารางวัลนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพจากสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติก
- คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอกฎบังคับให้แคปซูลกาแฟต้องใช้พลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้
- อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพร่วมหารือลดการปล่อยคาร์บอน มุ่งสู่ความยั่งยืน
- Bioplastics – พลาสติกชีวภาพ What is it?
About The Author
You may also like
-
แนวคิดการย้ายฐานการผลิตกลับสู่ประเทศตนเองได้รับความสนใจอีกครั้งในสหราชอาณาจักร
-
ปัญหาความขัดแย้ง หวั่นกระทบนำเข้า-ส่งออกอุตสาหกรรมเหล็ก
-
จีนบุกตลาดอุตสาหกรรม ‘เครื่องมือตัด’ ทั้งส่งออกและผลิตใช้เอง
-
Arburg เปิดตัว Allrounder 470 H ทางเลือกประหยัดพลังงานและลดการปล่อยคาร์บอน
-
‘บทสรุปความยั่งยืน’ คู่มือปฏิบัติสำหรับผู้ผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ โดย VDWF