3D Printing_การพิมพ์สามมิติ

3D Insights | สิ่งที่การพิมพ์สามมิติต้องแก้หากจะเติบโต

ในบางพื้นที่ของการผลิตภาคอุตสาหกรรม AM เป็นเหมือนผู้เล่นที่กำลังปรากฏตัวขึ้นจากเงามืดของกระบวนการผลิตแบบเดิม ๆ แต่ความก้าวหน้าในระดับที่สามารถผลิตได้เป็นชุดใหญ่ หรือแบบ series production ยังคงไกลห่าง เราไปถามผู้เชี่ยวชาญด้าน 3D กันดีกว่าว่า เป็นเพราะอะไร

เราได้สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้าน 3D  ว่า อะไรคือสิ่งที่การผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ – Additive Manufacturing หรือ AM ต้องแก้ไขเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง?

Christoph Hauck สมาชิกในคณะกรรมการของ Toolcraft ชี้แจงว่า “AM ได้มอบมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงให้กับอุตสาหกรรมบางประเภทไปแล้ว” และเขาก็พูดไม่ผิด เพราะ AM ถูกนำไปใช้ในแอปพลิเคชันมากมายในงานสร้างต้นแบบ ทั้งในอุตสาหกรรม Medtech  (เทคโนโลยีการแพทย์)  หรือ Mould Making  การผลิตโดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิตินั้นนับเป็นแอปพลิเคชันมาตรฐานอย่างหนึ่งอยู่แล้ว แต่เมื่อพูดถึงความสำคัญของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมแล้ว AM ก็ยังมีโจทย์อันท้าทายที่ต้องแก้ไขอยู่ไม่น้อย เพราะอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพากระบวนการผลิตแบบเดิม (กระบวนการกัด ตัด เซาะ กลึง) นับตั้งแต่ยุคของการขึ้นรูปด้วยการตัดเฉือนชิ้นงาน หรือ การแมชชีนนิงเริ่มขึ้นในช่วงปี 1970 ซึ่งได้ตอบโจทย์การผลิตทั้งแบบจำนวนมากและแบบต่อเนื่อง  (Mass and Serail production) อย่างไรก็ตาม ภายใต้ร่มเงาของการแมชชีนนิงและการทำงานร่วมกัน AM ก็มีที่อยู่ที่ยืนจนสามารถตั้งหลักได้มากขึ้นในกระบวนการผลิต

จากการศึกษาของ Ernest and Young พบว่า 63% ของ บริษัทเยอรมันใช้การพิมพ์ 3 มิติในการทำงานแล้วในปี 2019 โดยในบริบทนี้ ผู้ใช้เห็นประโยชน์สูงสุดของเทคโนโลยีนี้ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น (43%) และทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (38%)

แล้วอะไรคือสิ่งที่หยุดยั้ง AM จากการเข้ามาแทนที่กระบวนการผลิตแบบเดิม ?



การคิดเชิงบวกเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงหรับการสร้างมูลค่าเพิ่ม

“เราสังเกตเห็นว่า ผู้ใช้จำนวนมากต้อง ‘เปลี่ยนชุดความคิด’ (Mindset Change) ไปสู่ ​​’การคิดเชิงบวก’ (Additive Thinking) เสียก่อน” Lisa Krämer จาก Forward AM กล่าว แนวทางที่ว่านี้ต้องการวิธีการเข้าถึงแบบองค์รวม (holistic approach) ที่มองว่า การพิมพ์ 3 มิติไม่เพียงเป็นวิธีแก้ปัญหาเฉพาะกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่คุณค่าอีกด้วย เพราะเป็นโซลูชันที่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะได้แบบจบ-ครบวงจร ง่ายกว่าและไวกว่า ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างพันธมิตร เช่น ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ ซัพพลายเออร์วัสดุ และผู้ให้บริการการพิมพ์


AM ต้องลดต้นทุนและช่วยเพิ่มยอดขาย

นอกเหนือจากการคิดแบบ Additive Thinking แล้ว ยังมีความท้าทายในทางปฏิบัติอีกมากที่ผู้เชี่ยวชาญของเรามองเห็นในการผลิตแบบ AM นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เทคโนโลยีการผลิตทุกประเภทต้องประสบและหาทางออก “Additive ที่ว่านี้ต้องแสดงให้เห็นว่า ไม่เพียงแค่ช่วย (ผู้ผลิต) ประหยัดเท่านั้น แต่ยังช่วยประหยัดต้นทุนให้กับผู้ใช้งาน หรือ ช่วยเพิ่มยอดขายได้ด้วย” Matthias Schmidt-Lehr จาก Ampower กล่าว

นอกจากนี้ในการสำรวจของ Ernest and Young ผู้ตอบแบบสอบถามหลายคนกล่าวว่า ค่าใช้จ่ายของ AM ยังคงเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการนำไปใช้ โดย 90% (ของบริษัทที่ยังไม่ใช้การพิมพ์ 3 มิติ) กล่าวว่า วัสดุมีราคาแพงเกินไป และ 87% กล่าวว่าต้นทุนเริ่มต้นของระบบการผลิตนั้นสูงเกินไป หากต้นทุนโดยรวมสามารถลดลงได้ เราก็จะได้เห็นแอปพลิเคชัน  AM ใหม่ ๆ  อีกมากมาย


อ้างอิง: https://www.etmm-online.com/these-are-the-problems-additive-manufacturing-must-solve-a-998987/

บทความที่เกี่ยวข้อง:

Metal additives – สารเติมแต่งโลหะสำหรับตลาดพลาสติกวิศวกรรมที่กำลังเติบโต

ปลดล็อคองค์ความรู้การผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ

Tech Focus | จับตานวัตกรรมพลิกโลก AM โลหะ 9 บริษัทสตาร์ทอัพ

About The Author